การพัฒนาบทเรียนออนไลน์รูปแบบอินโฟกราฟิกส์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล

Main Article Content

กฤษกร ไชยคราม
สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์รูปแบบ Interactive Infographic เรื่อง การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนต่อบทเรียนออนไลน์ รูปแบบ interactive Infographic เรื่อง การจัดเรียงและค้นหาข้อมูลวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์รูปแบบ interactive Infographic เรื่อง การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล วิชาวิทยาการคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเรณูนคร จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ บทเรียนออนไลน์รูปแบบ Interactive Infographic แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า T-test
            ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ รูปแบบ Interactive Infographic ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 82.00/82.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ รูปแบบ Interactive Infographic หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียน ออนไลน์รูปแบบ Interactive Infographic โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงรัก เทศนา.2557 อินโฟกราฟิกส์ (Infographics). 2-.6. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564 จากเว็บไซต์ https://chachoengsao.cdd.go.th/wpcontent/uploads/sites/9/2019/01/infogra phics_information.pdf.

ชุติมา วรรณพงศ์. 2559. ความหมายของบทเรียนออนไลน์ e-Learning (อีเลิร์นนิ่ง). สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564 จากเว็บไซต์ https://sites.google.com/a/npu.ac.th/computer-elearning/home/phu-cad-tha.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2556. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน Developmental Testing of Media and

Instructional Package, 5(1). ค้นจากเว็บไซต์ http://www4.educ.su.ac.th/2013/images/stories/081957-

pdf

เบญจมาศ รัตน์พิทักษ์. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่องพื้นฐานคอมพิวเตอร์กราฟิก ในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกดีไซน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางสะพานวิทยา : โรงเรียนบางสะพานวิทยาประจวบคีรีขันธ์.

บังอร ผงผ่าน. (2538). จิตวิทยาทั่วไป.4-6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

พัฒนา พรหมณี, ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และ จีระศักดิ์ ทัพผา. (2540). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. 4-8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรนภา เตียสุทธิกุล, พัฒนา พรหมณี, จานนท์ ศรีเกตุ, นาวิน มีนะกรรณ และสุวุฒิ พงษ์วารินศาสตร์. (2561). การวัด

ระดับเจตคติในการด าเนินงานด้านการ ส าธารณสุข. วารส ารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(4), 214-225.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คพับลิเคชันส์.

วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์, นภาวรรณ อาชาเพ็ชร. (2557). การเรียนร้ผ่านสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแตกต่างกัน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่Learning Achievement through InteractiveMultimedia with different narration techniques of Maejo University Students, Chiang Mai. สืบค้นเมื่อ12 กันยายน 2564.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2561) . วิจั ยเทคโนโลยีทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 19 สิงห าคม 2564 จากเ ว็บไซต์ https://sites.google.com/a/npu.ac.th/computer-elearning/home/phu-cad-tha

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และ จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด ของ ไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. (ฉบับที่ 34), (14). พฤษภาคม.-สิงหาคม 2563.