https://so14.tci-thaijo.org/index.php/RDGMSJournal/issue/feed วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 2024-08-27T18:54:50+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญลยา มิขะมา Journalrdi@npu.ac.th Open Journal Systems <p><strong><em>ISSN</em></strong><em>: - </em><strong><em>E-ISSN</em></strong><em>: </em><em>2774-0943</em></p> <p><strong><em>กำหนดออก</em></strong><em> : </em><em>3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม </em></p> <p><strong><em>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </em></strong><em>วารสารฯ มีนโยบายเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ จากงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ทางด้านมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ในมิติความรู้ สหวิทยาการสมัยใหม่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</em></p> https://so14.tci-thaijo.org/index.php/RDGMSJournal/article/view/771 การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 2024-04-25T10:57:20+07:00 สุนันท์ มากยอด Sunan.MakyodSM@gmail.com ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ dr.thiwat@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในจังหวัดปราจีนบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 และ 2) ศึกษาการวิเคราะห์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในจังหวัดปราจีนบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสในจังหวัดปราจีนบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 280 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br /> ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยในด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และ (2) พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก</p> 2024-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง https://so14.tci-thaijo.org/index.php/RDGMSJournal/article/view/813 การขยายผลต้นแบบการจัดการขยะและการสร้างนโยบายสาธารณะด้านการจัดการขยะ ในพื้นที่ตำบลโพนสวรรค์ ตำบลขามเฒ่า และตำบลนาราชควาย จังหวัดนครพนม 2024-05-30T13:35:49+07:00 พัชญทัฬห์ กิณเรศ make_alist@hotmail.com ชนิดา ยุบลไสย์ chanida.yub@npu.ac.th ธารารัตน์ โมทยกุล tararatn_rdi@npu.ac.th <p> โครงการขยายผลต้นแบบการจัดการขยะและการสร้างนโยบายสาธารณะด้านการจัดการขยะในพื้นที่ตำบลนาราชควาย ตำบลขามเฒ่า และตำบลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลความสำเร็จของหมู่บ้านต้นแบบ (หมู่ที่ 11 บ้านนาราชควาย) สู่ชุมชนอีก 10 แห่งในพื้นที่ตำบลนาราชควาย เพื่อให้เห็นภาพความสำเร็จในระดับตำบล (นาราชควายโมเดล) นอกจากนี้ยังได้มีการขยายผลความสำเร็จไปยังตำบลอื่น ๆ อีก จำนวน 2 แห่ง คือ ตำบลขามเฒ่าและตำบลโพนสวรรค์ โดยจะนำรูปแบบการจัดการขยะของหมู่ที่ 11 บ้านนาราช ควาย มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ เพื่อให้เกิดความสำเร็จด้านการบริหารจัดการขยะ และเกิดนโยบายสาธารณะจากประชาชนที่แท้จริง</p> <p> ผลลัพธ์ที่เกิดจากโครงการฯ สามารถสรุปรายละเอียดแยกเป็น 3 ประเด็น คือ (1) ด้านเศรษฐกิจ เกิดรายได้ขึ้นในชุมชนทั้งในรูปของสวัดิการเงินปันผล เงินกู้ฉุกเฉิน และเงินจากการนำขายไปขาย-ฝาก กับธนาคารขยะชุมชน ค่าเฉลี่ยรายได้จากการเปิดธนาคารขยะชุมชนเท่ากับ 10,000 บาทต่อเดือนต่อหมู่บ้าน (2) ด้านสังคม เกิดความสามัคคีขึ้นในชุมชน เพราะการจัดการขยะของชุมชนจะสำเร็จได้ยากหากคนในชุมชนไม่ร่วมมือกันดำเนินงาน กล่าวคือปริมาณขยะลดลงจากการจัดการขยะของทุกคนในพื้นที่ ส่งผลให้มีโอกาสพบปะ พูดคุย หารือ ในเรื่องเดียวกันมากขึ้น และเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ เกิดนักวิจัยในชุมชน เกิดทีมพี่เลี้ยงเพื่อดูแลด้านปัญหาขยะในพื้นที่ และ (3) ด้านสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์จากปริมาณขยะในชุมชนลดลง ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น แก้ไขปัญหาด้านกลิ่นเหม็นเน่าในขยะตกค้าง แก้ปัญหาด้านทัศนอุจจาดจากความสกปรกของขยะล้นถัง หมายขุ้ยเขี่ย แก้ปัญหาด้านน้ำเน่าเสีย แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เป็นต้น</p> <p> จากแบบสอบถามทัศนคติและความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามในพื้นที่ต้นแบบ ทั้ง 3 แห่ง พบว่า ก่อนการดำเนินโครงการ ตำบลนาราชควาย และตำบลขามเฒ่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการขยะในระดับปานกลาง คือมีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 3.20 และ 2.97 ตามลำดับ ส่วนตำบลโพนสวรรค์ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจระดับน้อย คือมีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 2.43 สรุปภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามพื้นที่นาราชควายส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อโครงการฯ ระดับมากคือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 และระดับความความพึงพอใจต่อภาพรวมของโครงการมีมากที่สุดคือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถาม</p> <p>พื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านกล้วย ตำบลขามเฒ่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อโครงการฯ ระดับมากคือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 และระดับความความพึงพอใจต่อภาพรวมของโครงการมีมากที่สุดคือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 และภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลโพนสวรรค์ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อโครงการฯ ระดับมากคือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และระดับความความพึงพอใจต่อภาพรวมของโครงการมีมากที่สุดคือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 นอกจากนี้ยังเกิดนโยบายสาธารณะด้านการจัดการขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่ต้นแบบทั้ง 3 แห่ง คือตำบลนาราชควาย ตำบลขามเฒ่า และตำบลโพนสวรรค์ ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต</p> 2024-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง https://so14.tci-thaijo.org/index.php/RDGMSJournal/article/view/814 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลไชยบุรี อําเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม 2024-05-30T14:22:29+07:00 พรพิมล ควรรณสุ pornpimon.kavan@gmail.com กัญลยา มิขะมา kanlaya.mikhama@gmail.com ชนิดา ยุบลไสย์ chanida.yub@npu.ac.th พัชญทัฬห์ กิณเรศ make_alist@hotmail.com ภัทราวดี วงษ์วาศ p_sripanyamsu@hotmail.com <p> การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลไชยบุรี อําเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มอย่างมีส่วนร่วม และ 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน ซึ่งประกอบไปด้วย ประธานกลุ่มหรือผู้แทน ประธานชุมชน/ผู้นําชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ขาดองค์ความรู้ด้านวิจัยและนวัตกรรมมาช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ต้นทุนการผลิตสูง ราคาวัตถุดิบไม่คงที่ ต้องการพัฒนาตราสินค้าที่มีความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและขาดการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มแบบมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่าสามาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้องการพัฒนา มี 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผงโรยข้าวปลาส้มและไส้กรอกปลาส้มและได้ร่วมกันพัฒนาและออกแบบตราสินค้าในชื่อ“ไชยบุรีนคร” โครงการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงแนวทางที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและความเชี่ยวชาญท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าและความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในภูมิภาคได้</p> 2024-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง https://so14.tci-thaijo.org/index.php/RDGMSJournal/article/view/823 การสังเคราะห์กรอบแนวคิดของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับบอร์ดไมโครบิต เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2024-05-30T14:09:48+07:00 ศุภรดา บุบผา suparada13@hotmail.com ปรมะ แขวงเมือง Parama@kku.ac.th รมย์วรินทร์ กำลังเลิศ thigam@kku.ac.th <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับบอร์ดไมโครบิต เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเอกสาร และกรอบแนวคิดในการออกแบบ จำนวน 5 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจ ที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายและสรุปตีความ<br /> ผลการวิจัยพบว่า การสังเคราะห์กรอบแนวคิดของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับบอร์ด ไมโครบิต เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ ประกอบด้วย 5 พื้นฐาน ได้แก่ 1) พื้นฐานด้านบริบท 2) พื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ 3) พื้นฐานด้านศาสตร์การสอน 4) พื้นฐานด้านเทคโนโลยี และ 5) พื้นฐานการคิดเชิงคำนวณ และกรอบแนวคิดในการออกแบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แหล่งเรียนรู้ 3) ศูนย์เครื่องมือทางปัญญา 4) ศูนย์แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ 5) ศูนย์ฐานการช่วยเหลือ 6) ศูนย์ให้คำปรึกษา และ 7) ศูนย์ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ และจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่า การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบ มีความสอดคล้องระหว่างหลักการทฤษฎี และกรอบแนวคิดการออกแบบ</p> 2024-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง https://so14.tci-thaijo.org/index.php/RDGMSJournal/article/view/810 มะม่วงดินเอียดป่าปอ: การผลิตและการตลาดมะม่วงเขียวเสวยดินเค็ม ตำบลป่าปอ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น: การศึกษาขั้นต้น 2024-04-24T11:01:25+07:00 หทัยภัทร ขุริรัง Khurirang.Kh@gmail.com ไกรเลิศ ทวีกุล tkrail@kku.ac.th ยศ บริสุทธิ์ yosboris@kku.ac.th <p> มะม่วงดินเอียดป่าปอ เป็นมะม่วงที่ปลูกในพื้นที่ดินเค็ม ในพื้นที่ตำบลป่าปอ อำเภอบ่านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดยเกษตรกรนิยมปลูกมะม่วงพันธุ์เขียวเสวยเป็นส่วนใหญ่ ด้วยความเป็นลักษณะเฉพาะดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดมะม่วงดินเอียดป่าปอ โดยดำเนินการศึกษาในเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน 2565 ผลการศึกษา พบว่า (1) การผลิต: เนื่องด้วยดินเค็ม pH 5.5-6.5 เป็นอุปสรรคในการปลูกพืช ในปี 2530 จึงมีเกษตรกรเริ่มแรกจำนวน 4 ราย ทำการปลูกมะม่วงเขียวเสวยในพื้นที่ดินเค็ม ซึ่งพบว่า มะม่วงที่ปลูกสรมารถให้ผลผลิตได้และผลผลิตมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยปัจจุบัน มีเกษตรกรที่ทำการปลุกมะม่วงดินเดียดเพิ่มขึ้นกว่า 400 ราย มีพื้นที่ปลูกกว่า 3,200 ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 4,700 ตันต่อปี มูลค่าการตลาดมากกว่ากว่า 100 ล้านบาทต่อปี โดยการผลิตของเกษตรกรมีทั้ง การผลิตมะม่วงนอกและในฤดู ในช่วงเดือนมิถุนายน-มกราคม และเดือนธันวาคม-เมษายน ตามลำดับ โดยการผลิตในฤดูกาล มีขั้นตอนการผลิตและพิถีพิถันมากกว่าการผลิตในฤดู เนื่องจากการผลิตแบบนอกฤดูให้ผลตอบแทนจากการผลิตที่ดีกว่า <strong> </strong>หากทำการผลิตนอกฤดูไม่สัมฤทธิ์ผล เกษตรกรจะบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มะม่วงให้ผลผลิตตามฤดูกาลปกติ โดยผลผลิต(ผลแก่ประมาณ 80%) มีการคัดเกรดก่อนการซื้อขายซึ่งจำแนกได้ 6 เกรด ได้แก่ เบอร์ใหญ่ เบอร์รอง เบอร์เล็ก เบอร์หาง เบอร์ลายใหญ่ เบอร์ลายเล็ก และคละเบอร์ สำหรับ (2) ด้านการตลาด: พบว่า มี 3 รูปแบบ ได้แก่ (1.1) การจำหน่ายผ่านล้งหรือจุดรวบรวมผลผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก คิดเป็นร้อยละ 78 ของผลผลิตทั้งหมด (1.2) การจำหน่ายหน้าสวนให้พ่อค้าคนกลางและผู้ค้าปลีก และ (1.3) การจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงผ่านร้านค้าริมถนน โดยมีมูลค่าการตลาดประมาณ 80, 15 และ 5 ล้านบาทต่อปี ตามลำดับ ดังนั้น ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของมะม่วงดินเดียดป่าปอและมูลค่าทางเศฐกิจกว่า 100 ล้านบาทต่อปี หากได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการยกระดับมะม่วงดินเอียดป่าปอเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตลอดจนการส่งเสริมและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้อง</p> 2024-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง