จริยธรรมการลงบทความและแนวทางปฏิบัติ

1.หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ (Editors)

              บรรณาธิการควรจะต้องรับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่มีการดีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ในความรับผิดชอบของตน กล่าวคือ:
                     - ดำเนินการให้ตรงตามความประสงค์ของผู้อ่านและผู้นิพนธ์
                     - ปรับปรุงวารสารอย่างสม่ำเสมอ
                     - รับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
                     - สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
                     - คงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
                     - ปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
                     - เต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอด-ถอนบทความ และการขออภัย หากจำเป็น

         1.1.หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้นิพนธ์

                   -บรรณาธิการควรดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ เพื่อรับรอง คุณภาพของงานวิจัยที่ตีพิมพ์ และตระหนักว่าวารสาร และแต่ละส่วนของวารสาร มีวัตถุประสงค์และ มาตรฐานที่ต่างกัน
                   – การตัดสินใจของบรรณาธิการต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ ควร ขึ้นอยู่กับความสำคัญ ความใหม่ และความชัดเจนของบทความวิจัย ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับ ขอบเขตของวารสาร
                  – ควรมีการชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review) นอกจากนี้บรรณาธิการควรมีความพร้อมในการชี้แจงความเบี่ยงเบนต่างๆ จากกระบวนการ ตรวจสอบที่ได้ระบุไว้
                  - วารสารควรมีช่องทางให้ผู้นิพนธ์อุทธรณ์ได้หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
                  - บรรณาธิการควรจัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์ในทุกประเด็นที่บรรณาธิการคาดหวัง ในทุก เรื่องที่ผู้นิพนธ์ควรรับทราบ และควรมีการปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมทั้งควรมีการ อ้างอิงหรือการเชื่อมโยงกับระเบียบดังกล่าวนี้ด้วย
                   -บรรณาธิการไม่ควรเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการตอบรับบทความที่ถูกปฏิเสธการติพิมพ์ไป แล้ว ยกเว้นมีปัญหาร้ายแรงเกิดขึ้นในระหว่างการส่งบทความมารับการพิจารณา
                   –บรรณาธิการท่านใหม่ไม่ควรกลับคำตัดสินมาตีพิมพ์บทความที่บรรณาธิการท่านก่อนตอบ ปฏิเสธไปแล้ว ยกเว้นมีการพิสูจน์ถึงปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้น

         1.2 หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้ประเมินบทความ

                     –บรรณาธิการควรจัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้ประเมินบทความในทุกประเด็นที่บรรณาธิการ คาดหวัง และควรมีการปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมทั้งควรมีการอ้างอิงหรือการ เชื่อมโยงกับระเบียบดังกล่าวนี้ด้วย
                      -บรรณาธิการควรมีระบบที่ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ ยกเว้นวารสารนั้นมี การประเมินบทความแบบเปิดที่ได้แจ้งให้ผู้นิพนธ์และผู้ประเมินรับทราบล่วงหน้าแล้ว

2.บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ (Authors)

        1.ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าผลงานที่เผยแพร่เป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
        2.ผู้เขียนบทความต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามองค์ประกอบ รูปแบบ และหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด
        3.ผู้เขียนบทความต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นถ้ามีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตนเองผ่านการอ้างอิงและบรรณานุกรมทุกครั้งเพื่อแสดงหลักฐานการค้นคว้า
        4.ผู้เขียนบทความต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยหรือการค้นคว้าทางวิชาการ ด้วยความ ซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลเท็จ ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิมนุษยชน
       5.ผู้เขียนบทความต้องไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกัน ไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ รวมถึงไม่คัดลอกข้อความใดจากผลงานเดิมของตน โดยไม่อ้างอิงผลงานเดิมตามหลักวิชาการในลักษณะที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นผลงานใหม่
      6.ผู้เขียนบทความต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัยในบทความ
      7.ผู้เขียนบทความที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องมีส่วนในการวิจัย ค้นคว้า และเขียนบทความร่วมกันจริง
      8.ผู้เขียนบทความต้องแจ้งผลประโยชน์ทับซ้อนที่มีในบทความให้กองบรรณาธิการทราบ ตั้งแต่เริ่มส่งต้นฉบับบทความ
      9.ผู้เขียนบทความต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบัน ที่ดำเนินการหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หากบทความมีการใช้ข้อมูลจากการทำวิจัยในคนหรือสัตว์
      10.ผู้เขียนบทความต้องไม่แทรกแซงกระบวนการพิจารณาบทความ การประเมินบทความ และการดำเนินงานของวารสารไม่ว่าทางหนึ่งทางใด
      11.วารสารที่ไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ประเมินให้เป็นอันตกไป ไม่สามารถนำมาประเมินใหม่หรือนำเสนอใหม่ได้อีกครั้งไม่ว่ากรณีใด ถึงแม้ว่าจะมีการแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอของผู้ประเมินแล้วก็ตาม

3.หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้พิจารณาบทความ (Reviewers)
       1.ประเมินบทความที่ได้รับมอบหมายในสาขาวิชาที่ตนเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากคุณภาพของบทความว่าถูกต้องเหมาะสม และมีประโยชน์
       2.ต้องรักษาความลับของบทความที่ส่งมาขอรับการประเมิน ไม่เผยแพร่สู่สาธารณะและบุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
       3.ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ ไม่นำความคิดเห็นส่วนตัว ความแตกต่างทางเชื้อชาติและศาสนามาตัดสินบทความ หากมีเหตุให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนต้องแจ้งบรรณาธิการและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
        4.หากพบว่าบทความที่ส่งมาขอรับการประเมินมีส่วนใดส่วนหนึ่งที่เหมือน หรือซ้ำซ้อนกับบทความอื่นต้องแจ้งบรรณาธิการวารสารทันที
        5.ให้คำแนะนำในการแก้ไขบทความ รวมถึงการอ้างอิงบทความอื่นๆ หรือแนวทางการปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับจากนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ส่งมาขอรับการประเมิน แต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึง