วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง https://so14.tci-thaijo.org/index.php/RDGMSJournal <p><strong><em>ISSN</em></strong><em>: - </em><strong><em>E-ISSN</em></strong><em>: </em><em>2774-0943</em></p> <p><strong><em>กำหนดออก</em></strong><em> : </em><em>3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม </em></p> <p><strong><em>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </em></strong><em>วารสารฯ มีนโยบายเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ จากงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ทางด้านมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ในมิติความรู้ สหวิทยาการสมัยใหม่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</em></p> สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม th-TH วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 2774-0943 <p>ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน</p> สยามกับการปกครองหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง พุทธศักราช 2318 – 2441 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/RDGMSJournal/article/view/464 <p> งานวิจัยเรื่องสยามกับการปกครองหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง พุทธศักราช 2318 – 2441มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ของหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง พุทธศักราช 2318 – 2441 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้สยามมีอำนาจเหนือหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง พุทธศักราช 2318 – 2441 3) เพื่อศึกษาผลจากการปกครองหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขงพุทธศักราช 2318 – 2441 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) และใช้แบบบันทึกเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) หัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง เกิดจากความขัดแย้งของราชสำนักล้านช้างเวียงจัน จึงเกิดการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนอีสาน จากนั้นจึงได้รับการจัดตั้งและรับรองจากราชสำนักสยามให้กลายเป็นเมือง 2) ปัจจัยที่ส่งผลให้สยามมีอำนาจเหนือหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง คือการที่ผู้นำพื้นเมืองต่างต้องการอำนาจของสยามเพื่อรับรองสิทธิในการปกครองของตน 3) ผลจากการปกครองหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขงพุทธศักราช 2318 – 2441 คือ ชนชั้นนำพื้นเมืองมีความอ่อนแอ ผู้คนลำบากเดือดร้อนจากการเร่งผลิตและการถูกเก็บส่วย ในขณะที่การปิดบังจำนวนผู้คนของผู้ปกครองพื้นเมืองส่งผลให้สยามได้ส่วยไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยจนในสมัยรัชกาลที่ 3 สยามต้องเริ่มส่งคนจากส่วนกลางเข้ามาสำรวจจำนวนผู้คนที่แท้จริง</p> ปริญ รสจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-09 2024-04-09 3 1 1 8 การศึกษาศักยภาพของพื้นในการยกระดับผลิตภัณฑ์พรีเมียมจากสับปะรด GI จังหวัดนครพนม https://so14.tci-thaijo.org/index.php/RDGMSJournal/article/view/804 <p> การปลูกสับปะรดในจังหวัดนครพนม พบว่า เกษตรกรประสบปัญหากระบวนการผลิตสับปะรด ราคาผันผวน และการได้รับตราสินค้า GI ของเกษตรกรถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านการตลาดน้อย ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์พรีเมียมจากสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สับปะรดท่าอุเทน โดยใช้วิธีการจัดทำประชุมกลุ่มเกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษา ได้แก่ ตำบลนาขมิ้น อำเภอโพนสวรรค์ และตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน ผลของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สมาชิกกลุ่มทั้ง 2 ตำบล มีสมาชิกรวม 57 คน ตอบแบบสอบถาม 45 คน (ร้อยละ 78.95) ปริมาณของผลผลิตในปีการเพาะปลูก 2566 ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ในขณะที่พื้นที่ปลูกมีจำนวนมาก แต่ข้อมูลผลผลิตสับปะรดที่เก็บเกี่ยวได้มีปริมาณไม่สอดคล้องกับพื้นที่เพาะปลูก โดยพบปัญหาเกิดโรคผลแกนในพื้นที่ทุกราย นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เพียง ร้อยละ 22 จากเกษตรกรทั้งหมด ส่งผลต่อจำนวนผู้ที่สามารถยื่นของใช้ตราสัญลักษณ์ GI ลดลง ดังนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์พรีเมียม ควรจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) ผลสับปะรดสดพรีเมียม เกษตรกรที่มีความชำนาญ และประสบการณ์การปลูกสับปะรด แต่ไม่มีเวลาในการแปรรูป และ 2) ผลิตภัณฑ์แปรรูปพรีเมียม ต้องอาศัยกลุ่มที่มีทักษะ ความชำนาญ มีเวลา อุปกรณ์และเครื่องมือที่เพียงพอ สามารถแปรรูปเป็นวัตถุดิบตั้งต้นให้กับบริษัทหรือโรงงานบางประเภทสำหรับทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้สับปะรด ซึ่งสำหรับสับปะรดจังหวัดนครพนมหากต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าพรีเมียมจึงจำเป็นต้องมีการศึกษา และวางแผนอย่างดี รวมทั้งหาเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนา โดยเฉพาะผู้ผลิตที่มีศักยภาพ ดังนั้นจึงควรเป็นคนละกลุ่มกับผู้ผลิต เพื่อให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ และเพียงพอต่อความต้องการ</p> <p><strong> </strong></p> เสาวคนธ์ เหมวงษ์ พรทิพย์ พุทธโส วนิดา ถาปันแก้ว นายิกา สมร ชนิดา ยุบลไสย์ ศุภวิทย์ อุทัยวัฒน์ สาลินี สร้อยสังวาล กัญลยา มิขะมา Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 3 1 9 17 การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากลูกอ๊อดและกบ สำหรับวิสาหกิจชุมชนกบนานครพนม จังหวัดนครพนม https://so14.tci-thaijo.org/index.php/RDGMSJournal/article/view/798 <p>การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากลูกอ๊อดและกบ สำหรับวิสาหกิจชุมชนกบนานครพนม จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ทดสอบตลาดต้นแบบ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่ม มีผลจากการดำเนินงาน ดังนี้ ได้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ห่อหมกฮวกกึ่งสำเร็จรูป และไส้กรอกอีสานกบ ทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พบว่า ห่อหมกฮวกกึ่งสำเร็จรูป ความชอบโดยรวมผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ย 8.1 คะแนน (ชอบมาก) การยอมรับในผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ เท่ากับร้อยละ 100 และคิดว่าจะซื้อร้อยละ 100 ในส่วนไส้กรอกอีสานกบ ความชอบโดยรวมผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ย 8.3 คะแนน (ชอบมาก) การยอมรับในผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ เท่ากับร้อยละ 100 และคิดว่าจะซื้อร้อยละ 100 ผลในการจัดกิจกรรมในภาพรวมพบว่าร้อยละความพึงพอใจในกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 94.3 การติดตามการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่า 1) การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในทางปฏิบัติใช้เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ จำนวน 45 ราย และ 2) การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในทางปฏิบัติใช้เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์เชิงเผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อเป้าหมาย จำนวน 5 ราย</p> ภัทราวดี วงษ์วาศ กัญลยา มิขะมา สันติ สุนีย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 3 1 18 24