การพัฒนาสื่อการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

วัชรพล แพงวงศ์
ปรารถนา นาวารี
พิทักษ์ พลคชา

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อหาคุณภาพสื่อการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) สื่อเทคโนโลยีเสมือนจริงจากโมเดลเฟอร์นิเจอร์หุ่นจำลองสามมิติ 2) สื่อการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งเทคโนโลยีเสมือนจริงจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1)สื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีเสมือนจริง 2) แบบประเมินคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
             ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสื่อการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย โมเดลเฟอร์นิเจอร์หุ่นจำลอง 3 มิติ 2) คุณภาพของสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริงได้ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.43, S.D. = 0.45)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกวลี ผาใต้, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม, และ อภิวัฒน์ วัฒนะสุระ. (2561). สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีมิติ เสมือน จริง เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษสัตว์โลกน่ารู้. สกลนคร. วารสารวิชาการ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ”, 4(1), 23-28

เกษม สาหรายทิพย. (2543). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครสวรรค์ : โรงพิมพนิวเสรีนคร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงทพฯ: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทักษิณา วิไลลักษณ์. (2551). ออกแบบบทเรียน. ปทุมธานี : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปภัมภ์.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). การเรียนการสอนในยุค 4.0 เป็นอย่างไร. ค้นหาเมื่อ 20 ธันวาคม 2565. จาก http://bit.ly/2v2cb8Q.

นฤมล แสงพรหม. (2560). การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครราชสีมา: โฟโต้บุ๊คดอทเน็ต.

น้ำเพชร เทศะบำรุง (2555). การพัฒนาเทคโนโลยี Augmented Reality เรื่อง บัตรภาพมีชีวิตเพื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ค้นหา เมื่อ 20 ธันวาคม 2565.

บุญชม ศรีสะอาค. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พจน์ สุทาธรรม และ ณัฐพงศ์ พลสยม. (2560). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่อง ฮาร์ดแวร์ ด้วย เทคโนโลยี Augmented Reality. วารสารวิชาการ “การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”, 3(2), 33-38

พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2560). เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมส่งเสริมความคงทนในการจำคำ ภาษาอังกฤษ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(2), 7-16

พนิดา ตันศิริ . (2553). โลกเสมือนผสานโลกจริง Augmented Reality. Executive Journal.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 30(2): 169-173.

พรทิพย์ ปริยวาทิต. (2557). คำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน เทศบาล 2 วัดตานีนรสโมสร สังกัดเทศบาล เมืองปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.