ความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักต่อระบบประกันคุณภาพการศึกษา ของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ
คำสำคัญ:
ความรู้, ความเข้าใจ , ประกันคุณภาพ , การตระหนักบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจ และการตระหนักถึงความสำคัญของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ ประชากรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการ 23 คน และบุคลากรสายสนับสนุน 17 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามสายวิชาการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 46-55 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 5-10 ปีขึ้นไป ตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย บทบาทเป็นอาจารย์ผู้สอน สายสนับสนุนวิชาการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 46-55 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 5-10 ปี ด้านความรู้ความเข้าใจต่อระบบการประกันคุณภาพการศึกษาพบว่า บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจต่อระบบการประกันคุณภาพระดับมาก ด้านการตระหนักถึงความสำคัญของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับมากที่สุด เมื่อทำการเปรียบเทียบการตระหนักถึงความสำคัญต่อระบบการประกันคุณภาพ พบว่า เพศ ระดับการศึกษา และประเภทตำแหน่งของสายวิชาการ และเพศ ประเภทตำแหน่งงานของสายสนับสนุนตระหนักต่อระบบการประกันคุณภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น ควรเน้นการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับพนักงานในทุกประเภทตำแหน่งงานอย่างทั่วถึง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=38880&Key=news_research
กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2567). สถิตินักศึกษา. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2567, จาก https://acdserv.kmutnb.ac.th/student_statistics
คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2564, 19 กรกฎาคม). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 268, 64.
จารุวัฒน์ ทองชูใจ, หยกแก้ว กมลวรเดช, และ สุกัญญา รุจิเมธาภาส. (2565). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 206-220. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/262569
ดวงกมล สุวรรณล้วน. (2562). ความสนใจและความตระหนักรู้ในการวางแผนการออมเงินกับพฤติกรรมการออมเงินกับพฤติกรรมการออมเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ทนง ทองภูเบศร์, ประกอบ คุณารักษ์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์, กิจพิณิฐ อุสาโห, และ สุคนธ์ทิพย์ ทินาภรณ์. (2562). อนาคตของรูปแบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกระดับอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 14(2), 161-177. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/252793
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA ฉบับปีการศึกษา 2557. กรุงเทพมหานคร: ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย.
นวรัตน์ เงาะสนาม และ อรกัญญา เบ้าจรรยา. (2560). การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 40(4), 37-45. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/135890
บุรพร กำบุญ และ ชลกนก โฆษิตคณิน. (2560). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(1), 1746-1757. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/89606
ปาริชาติ บัวเจริญ และ ประภัสสร สมสถาน. (2565). แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร. วารสารปัญญา, 29(3), 141-155. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/259223
พรรณี คอนจอหอ, พีรศุษย์ บุญมาธรรม, น้ำฝน แสงอรุณ, ศิริวรรณ ปราชญ์ประยุร, และ ศักดิพัต ศรีอร่ามรุ่งเรือง. (2561). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 2(2), 85-90. https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jehds/article/view/1718
เพ็ญศรี จังธนาเจริญเลิศ และ ภัชญา ธงศิลา. (2554). ความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของบุคลากร ต่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(3), 92-105. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/636
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
รุ่งเรือง สิทธิจันทร์. (2560). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. PULINET Journal, 4(3), 105-112. https://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal/article/view/242
วิษณุ โชโต และ สุภาภรณ์ บุญเจริญ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในกับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(1), 146-161. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/256082
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
สุชาวดี ณรงค์ชัย. (2563). ความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคสำหรับดูแลผิวพรรณและเส้นผมของผู้บริโภค (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุทธิพันธุ์ ชวลิตเลขา. (2564). การเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับบุคลากรในบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยจำกัด (สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อาภากร ประจันตะเสน. (2567). ความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติของนักวิชาการศึกษาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 2(1), 161-177. https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/338
Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Handbook 1: Cognitive domain. New York: Longman.
Bloom, B.S., Hastings, J.T., & Madaus, G.F. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.
Good, C. V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill.
Ravinelli, R.J., & Hambleton, R.K., (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research, 2, 49-60.