การศึกษาทัศนคติของนักศึกษาในการออกกำลังกายและความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
คำสำคัญ:
ทัศนคติในการอกกำลังกาย, ความวิตกกังวลในรูปร่าง, ไวรัสโควิด-19บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติในการออกกำลังกายและความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของนักศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 393 คน (เพศชาย จำนวน 137 คน และเพศหญิง จำนวน 256 คน) มาจากสถาบันการศึกษาที่ทำการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือในการศึกษา คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติในการออกกำลังกาย (ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85) และแบบสอบถามความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง (ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) เมื่อพบความแตกต่างก็ทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการ Least-Significant Different (LSD) ผลการศึกษาพบว่า ด้านทัศนคติในการออกกำลังกายของเพศหญิงและเพศชายไม่แตกต่างกัน และทั้งหญิงและชายมีทัศนคติในการออกกำลังกายในเกณฑ์ระดับมาก เปรียบเทียบระหว่างสถาบันศึกษาพบว่า ทัศนคติในการออกกำลังกายไม่แตกต่างกันและอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก ผลการวิเคราะห์ด้านความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง พบว่าเพศชายมีค่าความวิตกกังวลมากกว่าเพศหญิง (p-value = 0.008) และทั้งหญิงและชายมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างในเกณฑ์ระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างระหว่างสถาบันศึกษา พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้นักศึกษามีกิจกรรมทางกายลดน้อยลง ควรส่งเสริมให้หันมาใส่ใจในการทำกิจกรรมทางกาย เพื่อลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างต่อไป
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. เข้าถึงได้จาก http://www.tica.or.th.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/.
บุศรินทร์ ชลานุภาพ. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติในการดูแลสุขภาพกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาเฉพาะบุคคล. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ประวีณา ธาดาพรหม. (2550). ภาพลักษณ์ทางร่างกาย และการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สกุลรัตน์ ศรีโรจน์ และยุพาพร มาพะเนาว์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิตแพทย์โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 30(3), 292-298.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). รายงานการสำรวจกิจกรรมทางกายของประชากร พ.ศ.2558. วันที่สืบค้น 7 ตุลาคม 2564, จาก file:///C:/Users/Administrator/Downloads/Documents/6.%20%C.pdf
อลงกรณ์ ศรีเลิศ และศราวุฒิ แสงคำ. (2559). ทัศนคติพฤติกรรมปัจจัยที่มีผลการออกกำลังกายในบุคลากรวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นและบุคคลกรโรงเรียนไฮเทคโนโลยีตาก.ตาก: วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น.
อารีย์ วงศ์แก้ว. (2557). ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Atalay A. & Gencoz, T. (2012). Critical factors of social physique anxiety: exercising and body image satisfaction. Middle East Technical University, Turkey. Behavior Change, 25(3), 178–188.
Blood S. K. (2005). Body work: The social construction of women’s body image. London, England: Routledge.
McCreary D. R. & Saucier, D. M. (2009). Drive for muscularity, body comparison, and social physique anxiety in men and women. Body Image, 6(1), 24–30.
Pasokchat D. & Vongjaturapat, N. (2017). A Thai version of the multidimensional body- Self relations questionnaire-appearance scales (MBSRQ-AS): Confirmatory factor analysis and validation. In The oral presented at the 4th international seminar on sport and exercise psychology conference. Seoul: Korea.
Rettke A. (2015). Effects of Exercise on Levels of Social Physique Anxiety. McKendree Journal, 10(3), 329-335.
Yamane Taro. (1967). Statistics: An introductory analysis, 2nd Edition, New York: Harper and Row.
