การสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณีชักพระบกโบราณ
คำสำคัญ:
1) การสื่อสาร 2) การสืบทอด 3) ประเพณีชักพระบกโบราณบทคัดย่อ
การวิจัย การสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณีชักพระบกโบราณ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความหมายของประเพณีชักพระบกโบราณ 2) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณีชักพระบกโบราณ และ3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่มีความสัมพันธ์การสืบทอดประเพณีชักพระบกโบราณ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการประชาคม ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มราชการ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น สมาชิกในครอบครัว โดยใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ (Purposive Sampling)
ผลการวิจัย พบว่า 1. ประเพณีชักพระบกโบราณเกิดจากความเชื่อความศรัทธาในพุทธศาสนา การสืบทอดประเพณีเก่าแก่และการเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน 2.รูปแบบและกระบวนการสื่อสาร มี 3 ช่วง ได้แก่ 1) ช่วงการเตรียมงานประเพณี หมายถึง การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนการสื่อสารทุกขั้นตอน เป็นการสื่อสารแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการมีการสื่อสารแบบทางเดียวและสองทาง โดยใช้ทั้งวัจนะภาษาและอวัจนะภาษา และมีการไหลของข่าวสาร ทั้งจากบนลงล่าง แนวระนาบและจากล่างขึ้นบน 2) ช่วงเตรียมการจัดงานประเพณี เป็นการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ มีการสื่อสารแบบทางเดียวและสองทาง โดยใช้ทั้งวัจนะภาษาและอวัจนะภาษา และมีการไหลของข่าวสาร ทั้งจากบนลงล่าง แนวระนาบ 3) ช่วงหลังการจัดงานประเพณี เป็นการสื่อสารแบบเป็นทางการ มีการสื่อสารแบบสองทาง โดยใช้ทั้งวัจนะภาษาและอวัจนะภาษา และมีการไหลของข่าวสารแบบจากล่างขึ้นบน 3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีไม่ได้ส่งผลในเชิงลบเท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยียังส่งผลเชิงบวก ทำให้การสื่อสารสะดวก รวดเร็วโดยเฉพาะการเชิญชวนให้มาร่วมงานประเพณี
คำสำคัญ : 1) การสื่อสาร 2) การสืบทอด 3) ประเพณีชักพระบกโบราณ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.