https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/issue/feed
วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร (ITMC)
2024-12-29T14:50:45+07:00
Open Journal Systems
<p> วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร Innovation Technology Management Communication (ITMC) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมความเป็นนวัตกรรมในการบริหารการจัดการและการสื่อสารในสถานการณ์ทางธุรกิจและองค์กรต่าง ๆโดยเฉพาะ วารสารนี้เน้นด้านนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยี (Innovation Technology) การบริหารการจัดการ (Management) และการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมศาสตร์ วิธีการนำเสนอและนำไปใช้งานในองค์กรและธุรกิจในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ก้าวขึ้นอย่างรวดเร็ว วารสารฉบับนี้จะเผยแพร่บทความทางวิชาการทำงานวิจัยและพัฒนาการจัดการอย่างยั่งยืน (Sustainable Management Technology and Innovation) นำเสนอการสร้างผลิตภัณฑ์ การจัดการหรือบริการที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมและธุรกิจ วิถีชีวิต ภูมิปัญญาชาวบ้านโดยช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิต ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้บริโภคและสังคมในระยะยาว การบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เน้นการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ในเชิงสหวิทยาการ ประกอบด้วยบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศ วารสารฉบับนี้ทำให้นักวิจัยและผู้ที่สนใจทางด้านนี้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพเกี่ยวกับนวัตกรรม การจัดการ และการสื่อสารในทุกมิติของธุรกิจและองค์กรในยุคปัจจุบันและอนาคตได้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การบริหารการจัดการ และการสื่อสาร ซึ่งบทความวิชาการและบทความวิจัยทุกเรื่องที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารจะได้รับการอ่าน การตรวจพิจารณาจากรรมการผู้เชียวชาญ (Peer Reviewer) อย่างน้อย 3 ท่าน โดยวารสารนี้จะเปิดรับบทความปีละ3ฉบับของทุกปี คือ ฉบับที่1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม -สิงหาคม ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม ในรูปแบบของการประเมินบทความที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อและสังกัดของกันและกัน (Double-Blind Peer Review) โดยบทความจากบุคลากรภายในจะได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งหมด ส่วนบทความจากบุคลากรภายนอกจะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งหมด หรือจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายใน ทั้งนี้เพื่อให้บทความที่ตีพิมพ์มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากล เพื่อนำไปสู่การเกิดองค์ความรู้ใหม่และต่อยอดการพัฒนาในศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องต่อไป</p> <p><strong>เกี่ยวกับวารสาร</strong><br /> วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร Innovation Technology Management Communication (ITMC) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีกำหนดเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ ได้ผลิตวารสารจากตัวเล่มหนังสือและวารสารมีการเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์เพียงช่องทางเดียวผ่านระบบ ThaiJO</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <br />1. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการทำงานวิจัยและพัฒนาในด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การบริหารการจัดการ และการสื่อสาร เพื่อเสริมสร้างความรู้และนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ<br />2. เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมและสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการบริหารการจัดการและการสื่อสาร ตลอดจนเทคนิคการวิจัยใหม่ ๆ ทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ระหว่างนักวิจัยและผู้ที่สนใจในสาขาที่เกี่ยวข้องได้สร้างผลงานทางวิชาการที่เป็นวิทยาการใหม่ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม<br />3. สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การบริหารการจัดการและการสื่อสาร<br />4. เผยแพร่ความรู้ สนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการผ่านทางบทความที่มีคุณภาพและนวัตกรรมในด้านการบริหารการจัดการและการสื่อสาร<br /><br /><strong>ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์ (Scope)</strong><br /> เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Article) ที่มีคุณภาพด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ บริหารธุรกิจ ศิลปศาสตร์ การศึกษา การบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์ ครุศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมวิทยา นิติศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ สุขศึกษา พาณิชยศาสตร์ พัฒนาชุมชน การเงินการธนาคาร ปรัชญา ภูมิศาสตร์ จิตวิทยา อักษรศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>ประเภทบทความที่รับ (Types of Article)</strong><br /> วารสารรับตีพิมพ์เผยแพร่บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใน 2 ประเภท ได้แก่<br /> 1. บทความวิจัย (Research Article) <br /> 2. บทความวิชาการ (Academic Article) </p> <p>กำหนดการเผยแพร่ (Publication Frequency)<br /> วารสารมีกำหนดการเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ (ราย 4 เดือน) ดังนี้<br /> ฉบับที่ 1: มกราคม-เมษายน (กำหนดออก เมษายน)<br /> ฉบับที่ 2: พฤษภาคม-สิงหาคม (กำหนดออก สิงหาคม)<br /> ฉบับที่ 3: กันยายน-ธันวาคม (กำหนดออก ธันวาคม)<br /><strong>นโยบายการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review Policy)</strong><br /> ตั้งแต่ ปีที่ 1ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2567) บทความทุกบทความจะได้รับการประเมิ นจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่าน (เดิมใช้ผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 ท่าน) ในรูปแบบของการประเมินบทความที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อและสังกัดของกันและกัน (Double-Blind Peer Review)<br /> โดยบทความจากบุคลากรภายใน จะได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งหมด ส่วนบทความจากบุคลากรภายนอก จะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งหมด หรือจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายใน</p>
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/article/view/1030
กลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า BYDของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
2024-12-17T10:13:19+07:00
jakkrapan kittinorarat
dr.jackky@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อกลยุทธ์นวัตกรรมการตลาดและกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า BYD ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาอิทธิพลของกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า BYD ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษานี้ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งเป็นผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพในบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 30,001 - 45,000 บาท และมีสถานภาพโสด ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร รองลงมาคือนวัตกรรมด้านบริการและนวัตกรรมองค์กร ซึ่งทั้งหมดนี้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/article/view/1110
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช บางขุนเทียน
2024-10-30T08:34:24+07:00
daungkamol Sukpan
daungkamol2008@hotmail.com
ฉันทนา ปาปัดถา
chantana.p@rmutp.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติต่อการบริโภคอาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน (2) ศึกษาปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดของการจำหน่ายอาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน (3) ศึกษาการตัดสินใจซื้ออาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน (4) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจซื้ออาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน (5) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนรัตน์โกสินทร์บางขุนเทียน จำนวน 306 คน และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ทัศนคติต่อการบริโภคอาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.04 (2) ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดของการจำหน่ายอาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.10 (3) การตัดสินใจซื้ออาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.04 (4) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อวันต่างกันมีการตัดสินใจซื้ออาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนไม่ความแตกต่างกัน (5) ปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจซื้ออาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณมีค่า .659</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/article/view/1129
การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชันเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ผ่าน AI บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
2024-11-21T10:14:27+07:00
tosaporn mahamud
tosaporn.mah@kbu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชันเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ใช้เทคโนโลยี AI บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน ซึ่งเป็นผู้ใช้งานแอปพลิเคชันที่มีประสบการณ์ในการเรียนภาษาอังกฤษผ่าน AI อย่างน้อย 3 เดือน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ได้แก่ คุณภาพของเนื้อหา การตอบสนองของ AI ความสะดวกในการใช้งาน การพัฒนาทักษะทางภาษา และความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ผลการศึกษาได้แสดงถึงความสำคัญของเทคโนโลยี AI ในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/article/view/1131
การพัฒนาศักยภาพครูด้านสื่อดิจิทัลเพื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21
2024-12-21T09:54:25+07:00
Pornwipha Singporn
pornwipha.s@fte.kmutnb.ac.th
<p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาศักยภาพของครูด้านสื่อดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นให้ครูสามารถปรับตัวและบูรณาการเทคโนโลยีในการสอน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนในยุคดิจิทัล แนวคิด TPACK (Technological Pedagogical Content Knowledge) ถูกนำมาใช้เป็นกรอบการทำงานหลักเพื่อช่วยให้ครูพัฒนาความรู้ด้านเนื้อหา ด้านการสอน และด้านเทคโนโลยีได้อย่างบูรณาการ การศึกษาเน้นการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การสนับสนุนจากผู้บริหารสถานศึกษา เช่น การจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยี การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน (PLC) ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความพร้อมของครูในการปรับใช้เทคโนโลยีในการสอน ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาศักยภาพของครูในด้านสื่อดิจิทัลไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพในการสอน แต่ยังส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนให้พร้อมรับมือกับความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกดิจิทัล</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/article/view/1053
Why Emotional Intelligence is the Secret to Leadership Success Chito Moldogo Mataac
2024-10-30T08:13:59+07:00
Chito Mataac
chitocmm@gmail.com
<p>The article examines the significance of emotional intelligence (EI) in leadership success, drawing on theoretical frameworks, empirical evidence, case studies, and practical implications. It explores various models of EI, such as Goleman's, Mayer and Salovey's, and Bar-On's, highlighting their implications for leadership effectiveness. The empirical evidence, including research studies and meta-analyses, consistently supports the positive relationship between EI and leadership outcomes. Case studies of Steve Jobs and Mary Barra exemplify how EI can drive innovation, promote employee engagement, and lead to organizational success. The article discusses the benefits of EI, such as stronger relationships and improved decision-making, as well as the challenges, including subjective assessment and cultural influences. Practical implications for leadership development and organizational practices are outlined, emphasizing the importance of investing in EI training, cultivating a supportive work culture, and incorporating EI into performance evaluations. Overall, the article underscores that EI is not just a soft skill but a critical competency that empowers leaders to manage challenges and achieve lasting success in today's complex world.</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/article/view/1028
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
2024-12-02T12:00:13+07:00
jakkrapan kittinorarat
dr.jackky@hotmail.com
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณและการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ที่กำลังศึกษา หรือสนใจศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย ซึ่งได้รับการคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบที ค่าเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศและรายได้ ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจ ขณะที่ปัจจัยอาชีพมีผลอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจคือ ผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมการตลาด โดยเฉพาะการส่งเสริมการตลาดที่มีอิทธิพลมากที่สุด ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและกลยุทธ์การตลาดให้ตรงกับความต้องการของนักศึกษาและตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร