วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc
<p> วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร Innovation Technology Management Communication (ITMC) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมความเป็นนวัตกรรมในการบริหารการจัดการและการสื่อสารในสถานการณ์ทางธุรกิจและองค์กรต่าง ๆโดยเฉพาะ วารสารนี้เน้นด้านนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยี (Innovation Technology) การบริหารการจัดการ (Management) และการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมศาสตร์ วิธีการนำเสนอและนำไปใช้งานในองค์กรและธุรกิจในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ก้าวขึ้นอย่างรวดเร็ว วารสารฉบับนี้จะเผยแพร่บทความทางวิชาการทำงานวิจัยและพัฒนาการจัดการอย่างยั่งยืน (Sustainable Management Technology and Innovation) นำเสนอการสร้างผลิตภัณฑ์ การจัดการหรือบริการที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมและธุรกิจ วิถีชีวิต ภูมิปัญญาชาวบ้านโดยช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิต ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้บริโภคและสังคมในระยะยาว การบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เน้นการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ในเชิงสหวิทยาการ ประกอบด้วยบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศ วารสารฉบับนี้ทำให้นักวิจัยและผู้ที่สนใจทางด้านนี้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพเกี่ยวกับนวัตกรรม การจัดการ และการสื่อสารในทุกมิติของธุรกิจและองค์กรในยุคปัจจุบันและอนาคตได้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การบริหารการจัดการ และการสื่อสาร ซึ่งบทความวิชาการและบทความวิจัยทุกเรื่องที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารจะได้รับการอ่าน การตรวจพิจารณาจากรรมการผู้เชียวชาญ (Peer Reviewer) อย่างน้อย 3 ท่าน โดยวารสารนี้จะเปิดรับบทความปีละ3ฉบับของทุกปี คือ ฉบับที่1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม -สิงหาคม ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม ในรูปแบบของการประเมินบทความที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อและสังกัดของกันและกัน (Double-Blind Peer Review) โดยบทความจากบุคลากรภายในจะได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งหมด ส่วนบทความจากบุคลากรภายนอกจะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งหมด หรือจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายใน ทั้งนี้เพื่อให้บทความที่ตีพิมพ์มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากล เพื่อนำไปสู่การเกิดองค์ความรู้ใหม่และต่อยอดการพัฒนาในศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องต่อไป</p> <p><strong>เกี่ยวกับวารสาร</strong><br /> วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร Innovation Technology Management Communication (ITMC) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีกำหนดเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ ได้ผลิตวารสารจากตัวเล่มหนังสือและวารสารมีการเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์เพียงช่องทางเดียวผ่านระบบ ThaiJO</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <br />1. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการทำงานวิจัยและพัฒนาในด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การบริหารการจัดการ และการสื่อสาร เพื่อเสริมสร้างความรู้และนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ<br />2. เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมและสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการบริหารการจัดการและการสื่อสาร ตลอดจนเทคนิคการวิจัยใหม่ ๆ ทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ระหว่างนักวิจัยและผู้ที่สนใจในสาขาที่เกี่ยวข้องได้สร้างผลงานทางวิชาการที่เป็นวิทยาการใหม่ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม<br />3. สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การบริหารการจัดการและการสื่อสาร<br />4. เผยแพร่ความรู้ สนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการผ่านทางบทความที่มีคุณภาพและนวัตกรรมในด้านการบริหารการจัดการและการสื่อสาร<br /><br /><strong>ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์ (Scope)</strong><br /> เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Academic Article) ที่มีคุณภาพด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ บริหารธุรกิจ ศิลปศาสตร์ การศึกษา การบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์ ครุศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมวิทยา นิติศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ สุขศึกษา พาณิชยศาสตร์ พัฒนาชุมชน การเงินการธนาคาร ปรัชญา ภูมิศาสตร์ จิตวิทยา อักษรศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>ประเภทบทความที่รับ (Types of Article)</strong><br /> วารสารรับตีพิมพ์เผยแพร่บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใน 2 ประเภท ได้แก่<br /> 1. บทความวิจัย (Research Article) <br /> 2. บทความวิชาการ (Academic Article) </p> <p>กำหนดการเผยแพร่ (Publication Frequency)<br /> วารสารมีกำหนดการเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ (ราย 4 เดือน) ดังนี้<br /> ฉบับที่ 1: มกราคม-เมษายน (กำหนดออก เมษายน)<br /> ฉบับที่ 2: พฤษภาคม-สิงหาคม (กำหนดออก สิงหาคม)<br /> ฉบับที่ 3: กันยายน-ธันวาคม (กำหนดออก ธันวาคม)<br /><strong>นโยบายการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review Policy)</strong><br /> ตั้งแต่ ปีที่ 1ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2567) บทความทุกบทความจะได้รับการประเมิ นจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่าน (เดิมใช้ผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 ท่าน) ในรูปแบบของการประเมินบทความที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อและสังกัดของกันและกัน (Double-Blind Peer Review)<br /> โดยบทความจากบุคลากรภายใน จะได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งหมด ส่วนบทความจากบุคลากรภายนอก จะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกทั้งหมด หรือจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายใน</p>
กองบรรณาธิการ วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร Innovation Technology Management Communication (ITMC) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
th-TH
วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
-
เพลงรักเพื่อแรงงาน: มิวสิกวิดีโอลูกทุ่งอีสานกับการรณรงค์ปัญหาแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษาเพลง สเตตัสบ่เคยเปลี่ยน โดย ไมค์ ภิรมย์พร
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/article/view/908
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิธีการสื่อสารของมิวสิกวิดีโอเพลง "สเตตัสบ่เคยเปลี่ยน" โดย ไมค์ ภิรมย์พร ในการนำเสนอปัญหาแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายในประเทศเกาหลีใต้ และบทบาทของมิวสิกวิดีโอในการรณรงค์เรื่องดังกล่าว โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์สัญญะ การวิเคราะห์ภาพ และการวิเคราะห์วาทกรรม ผลการศึกษาพบว่ามิวสิกวิดีโอใช้การเล่าเรื่องเชิงภาพและการสื่อสารผ่านสัญลักษณ์ที่มีนัยสำคัญในการสร้างความเข้าใจและกระตุ้นความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้ชมต่อปัญหาแรงงานข้ามชาติ การใช้บทเพลงรักโดยนำเสนอเรื่องราวความรักของชายหญิงในการเชื่อมโยงประสบการณ์ของแรงงานเป็นกลวิธีสำคัญที่ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงและเชื่อมโยงกับประเด็นได้อย่างลึกซึ้ง งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของมิวสิกวิดีโอในการรณรงค์ประเด็นทางสังคมและช่วยสร้างความเข้าใจในปัญหาแรงงานข้ามชาติ</p>
Sainil Somboon
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-02
2024-09-02
1 2
1
15
-
การสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณีชักพระบกโบราณ
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/article/view/976
<p>การวิจัย การสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณีชักพระบกโบราณ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความหมายของประเพณีชักพระบกโบราณ 2) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณีชักพระบกโบราณ และ3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่มีความสัมพันธ์การสืบทอดประเพณีชักพระบกโบราณ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการประชาคม ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มราชการ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น สมาชิกในครอบครัว โดยใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ (Purposive Sampling)</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1. ประเพณีชักพระบกโบราณเกิดจากความเชื่อความศรัทธาในพุทธศาสนา การสืบทอดประเพณีเก่าแก่และการเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน 2.รูปแบบและกระบวนการสื่อสาร มี 3 ช่วง ได้แก่ 1) ช่วงการเตรียมงานประเพณี หมายถึง การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนการสื่อสารทุกขั้นตอน เป็นการสื่อสารแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการมีการสื่อสารแบบทางเดียวและสองทาง โดยใช้ทั้งวัจนะภาษาและอวัจนะภาษา และมีการไหลของข่าวสาร ทั้งจากบนลงล่าง แนวระนาบและจากล่างขึ้นบน 2) ช่วงเตรียมการจัดงานประเพณี เป็นการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ มีการสื่อสารแบบทางเดียวและสองทาง โดยใช้ทั้งวัจนะภาษาและอวัจนะภาษา และมีการไหลของข่าวสาร ทั้งจากบนลงล่าง แนวระนาบ 3) ช่วงหลังการจัดงานประเพณี เป็นการสื่อสารแบบเป็นทางการ มีการสื่อสารแบบสองทาง โดยใช้ทั้งวัจนะภาษาและอวัจนะภาษา และมีการไหลของข่าวสารแบบจากล่างขึ้นบน 3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีไม่ได้ส่งผลในเชิงลบเท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยียังส่งผลเชิงบวก ทำให้การสื่อสารสะดวก รวดเร็วโดยเฉพาะการเชิญชวนให้มาร่วมงานประเพณี</p> <p>คำสำคัญ : 1) การสื่อสาร 2) การสืบทอด 3) ประเพณีชักพระบกโบราณ</p> <p> </p>
piyata nuanlaong
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
1 2
16
46
-
แนวทางการสร้างช่องยูทูปคอนเทนต์ด้านความรู้สำหรับการสร้างอาชีพ ยูทูปเบอร์ในสภาวะปกติใหม่
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/article/view/1004
<p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างช่องยูทูปคอนเทนต์ด้านความรู้สำหรับการสร้างอาชีพยูทูปเบอร์ในสภาวะปกติใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาช่องยูทูปคอนเทนต์ด้านความรู้และเพื่อพัฒนาแนวทางการประกอบอาชีพยูทูปเบอร์คอนเทนต์ด้านความรู้ในสภาวะปกติใหม่</p> <p>ในงานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยพบว่ารูปแบบคอนเทนต์ด้านความรู้ เพื่อสร้างเป็นแนวทางการเรียนรู้ของผู้ที่สนใจจะสร้างงานสร้างรายได้จากสื่อออนไลน์ในการปรับตัวจากผู้เสพเป็นผู้สร้าง การปรับตัวในสภาวะการแข่งขันด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นส่วนหนึ่งโครงสร้างของระบบนิเวศสื่อ ผลการวิจัยสามารถสรุปออกเป็นแนวการสร้างช่องยูทูปคอนเทนต์ด้านความรู้ดังนี้ 1. ชื่อของรายการ ต้องมีความจดจำง่าย 2. ชื่อตอน มีความสอดคล้องกับเนื้อหา 3. วัตถุประสงค์ของรายการชัดเจน เมื่อผู้ชมดูจบแล้วได้อะไร 4. เนื้อหาที่น่าเชื่อของบุคคลอ้างอิง 5. สิ่งที่สัญญากับผู้ชม นำเสนอตรงกับรสนิยมและจริตของกลุ่มเป้าหมาย 6. แนวการนำเสนอที่มีความตลกขบขัน 7. เพลงประกอบ 8. เทคนิคที่น่าสนใจ 9. ความยาวของคลิปที่เหมาะสม</p>
chaiyasit chanarwut
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
1 2
47
64
-
ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการซื้อซ้ำของผู้บริโภคอาหารญี่ปุ่นประเภทซูชิและซาชิมิของร้านตุ้มซูชิ
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/article/view/1025
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่ส่งผลต่อการซื้อซ้ำของผู้บริโภคอาหารญี่ปุ่นประเภทซูชิและซาชิมิจากร้านตุ้มซูชิ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริโภคจำนวน 400 คน ตามสูตรคอแครน ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมผ่านแบบสอบถาม และวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิเคราะห์พบว่า ผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด และกระบวนการบริการ มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อการซื้อซ้ำของผู้บริโภค ซึ่งการนำผลการวิจัยไปใช้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อซ้ำและสร้างความภักดีของลูกค้าในระยะยาว</p>
jakkrapan kittinorarat
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
1 2
65
82
-
การออกแบบสารเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/article/view/1024
<p>การออกแบบสารสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลเป็นกระบวนการที่เน้นการสร้างสื่อการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์และมีประสิทธิภาพสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือแม้กระทั่งการเกมส์ เพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพขึ้น กระบวนการนี้มีขั้นตอนหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การวางแผนและออกแบบสื่อ การพัฒนา การทดสอบ และการปรับปรุง เพื่อให้มั่นใจว่าสื่อการเรียนรู้เหล่านั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้และการสื่อสารของผู้เรียนอย่างเหมาะสม การออกแบบสารสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลมีความสำคัญอย่างมากในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าสนใจและมีคุณภาพสำหรับผู้เรียนในยุคปัจจุบันและอนาคต</p>
Thanarak Santhuenkaew
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
1 2
83
91
-
ผลกระทบของข่าวปลอมต่อการรับรู้และการตัดสินใจของผู้สูงอายุ
https://so14.tci-thaijo.org/index.php/itmc/article/view/1026
<p>บทคัดย่อ<br>ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ข่าวปลอม (Fake News) ได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญและเป็นที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลาย ข่าวปลอมไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามต่อความถูกต้องของข้อมูลที่ผู้คนได้รับ แต่ยังส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการรับรู้และการตัดสินใจของผู้คน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาจมีความเปราะบางต่อการรับข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาด การศึกษาผลกระทบของข่าวปลอมต่อการรับรู้และการตัดสินใจของผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของข่าวปลอมต่อการรับรู้ข้อมูลของผู้สูงอายุ และ เพื่อประเมินผลกระทบของข่าวปลอมต่อการตัดสินใจของผู้สูงอายุ โดยผู้สัมภาษณ์จะต้องเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีการสุ่มเลือกเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่หลากหลายและเป็นตัวแทนของประชากร ใช้กลุ่มตัวอย่าง 150 คน 00ผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นวิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่เน้นการสนทนาและการเจาะลึกถึงประสบการณ์ ความคิดเห็น และความรู้สึกของผู้ตอบสัมภาษณ์ งานวิจัยนี้โปรแกรมวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Qualitative Data Analysis Software) Atlas.ti เพื่อช่วยในการจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์ Atlas.ti เพื่อประเมินผลกระทบของข่าวปลอมต่อการตัดสินใจของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาพ การใช้จ่ายทางการเงิน และการเลือกใช้บริการต่าง ๆ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อค้นหาแนวโน้มและธีมหลักที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การศึกษานี้พบว่าข่าวปลอมมีผลกระทบอย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ การเงิน และการเลือกใช้บริการต่าง ๆ ผู้สูงอายุที่มีความรู้ในการตรวจสอบข้อมูลมีความสามารถในการป้องกันผลกระทบของข่าวปลอมได้ดีขึ้น การศึกษาและฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการข่าวปลอมจึงมีความสำคัญในการลดความเสี่ยงที่เกิดจากข่าวปลอมในกลุ่มนี้</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> ข่าวปลอม, ผู้สูงอายุ, การตัดสินใจ</p>
ชยานิษฐ์ ไกรจิรารุลักษณ์
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารการจัดการและการสื่อสาร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-31
2024-08-31
1 2
92
105