การจัดวางอำนาจทางการเมืองของระบอบทหารอียิปต์ช่วงก่อนการเริ่มต้นและสิ้นสุดลงของเหตุการณ์รัฐประหาร ค.ศ. 2013

Main Article Content

ณัฐกร คล้ายสุบิน
มาริษา กองเงิน

Abstract

บทความวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษา การก่อร่างของระบอบทหารอียิปต์ช่วงก่อนการเริ่มต้นเหตุการณ์รัฐประหาร ค.ศ. 2013 และอำนาจทางการเมืองของระบอบทหารอียิปต์หลังสิ้นสุดลงของเหตุการณ์รัฐประหาร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านเอกสารทุติยภูมิและกฎหมายในการวิเคราะห์ระบอบทหารในอียิปต์ที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การเข้าใจการจัดวางแห่งอำนาจของระบอบทหารของอียิปต์ในปัจจุบัน โดยการพินิจผ่านการสถาปนากฎหมาย การบริหารประเทศ และการรักษาระเบียบความมั่นคงภายในประเทศ
 
ผลการวิจัยพบว่า เมื่อสถาบันกองทัพเริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองในช่วงเหตุการณ์อาหรับสปริงที่สถานการณ์จบลงด้วยการจัดตั้งสภาสูงสุดแห่งกองทัพที่เริ่มวิวัฒน์บทบาทข้างต้นขึ้นเป็นตัวแสดงในฐานะผู้ปกครองผ่านการสถาปนากฎหมายและการรักษาระเบียบความมั่นคงภายในประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากกองทัพและกลุ่มภราดรภาพมุสลิมและเมื่อเกิดการทำรัฐประหารขึ้นได้เสริมแรงให้สถาบันกองทัพกลายเป็นผู้ปกครองที่เข้มแข็งขึ้นเนื่องจากการสถาปนากฎหมายใหม่เกิดขึ้นมาจากการร่างโดยอิทธิพลของกองทัพโดยสมบูรณ์ เหตุนี้ทำให้ประธานาธิบดีโดยกองทัพมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น กอปรกับกิจการกองทัพไม่สามารถถูกแทรกแซงได้อีกต่อไป และสำหรับการรักษาความมั่งคงภายในรัฐคือ การบัญญัติโทษให้การกระทำทางการเมืองที่เป็นภัยคุกคามกลายเป็นการกระทำความผิดทางอาญาโดยอ้างความชอบธรรมเพื่อสร้างสังคมที่สงบเรียบร้อยและผลประโยชน์ของชาติ

Article Details

How to Cite
คล้ายสุบิน ณ. ., & กองเงิน ม. . (2024). การจัดวางอำนาจทางการเมืองของระบอบทหารอียิปต์ช่วงก่อนการเริ่มต้นและสิ้นสุดลงของเหตุการณ์รัฐประหาร ค.ศ. 2013. Political Science and Public Administration Journal of Kasetsart University (PSPAJKU), 2(1), 90–129. Retrieved from https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/948
Section
Research Articles

References

ดาวราย ลิ่มส่ายหั้ว. (2559). การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในอาหรับ : ศึกษาเปรียบเทียบอียิปต์และอิหร่าน. วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 246(2), [E-book]. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์2567 จาก https://doi.org/10.61462/cujss.v46i2.1209.

พวงทอง ภวัครพันธ์ุ. (2565). การสร้างรัฐเสนานุภาพของไทยจากรัฐประหาร 2490 ถึงรัฐประหาร 2557. วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(1), [E-book]. 1-29. สืบค้นเมื่อ 3เมษายน 2567 จาก https://doi.org/10.61462/cujss.v52i1.665

Abul-Magd, Z., Ak.a, I., & Marshall, S. (2020). Two Paths to Dominance: Military Businesses in Turkey and Egypt. [website]. Retrieve 2024, April 15 from https://policycommons.net/artifacts/423145/two-paths-to-dominance/1394242/

Collier, R. B. & Collier, D. (1991). Critical Junctures and Historical Legacies. The Americas, 59(1). 27-39.

European Parliament. Policy Department. (2014a). Egypt: in-depth analysis of the main elements of the new constitution. [pdf]. Retrieve 2024, April 15 from https://www.europarl.europa.eu/RegData/etudes/note/join/2014/433846/EXPO-AFET_NT(2014)433846_EN.pdf

Hamzawy, A. (2017). Egypt after the 2013 military coup: Law-making in service of the new authoritarianism. Philosophy and Social Criticism, 43(4-5), 392-405. [pdf]. Retrieve 2024, April 15 from https://doi.org/10.1177/0191453717695367

Harb, I. (2003). The Egyptian Military in Politics: Disengagement or Accommodation? Middle East Journal, 57(2), 269–290.

Ketchley, N. & Wenig, G. (2023). Purging to Transform the Post-Colonial State: Evidence Fromthe1952 Egyptian Revolution. Comparative Political Studies. doi.org/10.1177/0010414023120996

Laub, Z. Council on Foreign Relations. (2019). Egypt’s Muslim Brotherhood [website]. Retrieve 2024, June 7 from https://www.cfr.org/backgrounder/egypts-muslim-brotherhood

Midani, J. (2016a). What Caused the Failure of the Egyptian Revolution? (Thesis of Master of Arts, University of Memphis).

OHCHR. (2014b). Constitution of The Arab Republic of Egypt 2014. [pdf]. Retrieve 2024, April 15 from https://www.ohchr.org/sites/default/files/lib-docs/HRBodies/UPR/Documents/Session20/EG/A.HRC.WG.6.20.EGY_1_Egypt_Annex_4_Constitution_E.pdf

Perlmutter, A. (1981). Political Roles and Military Rulers. London: Frank Cass. ISBN 9780714631226

Roll, S. (2016b). Managing change: how Egypt’s military leadership shaped the transformation. Mediterranean Politics, 21(1). 23-43. https://doi.org/10.1080/13629395.2015.1081452

Tadros, S. (2012). Egypt military’s economic empire. [website]. Retrieve 2024, June 9 fromhttps://www.aljazeera.com/features/2012/2/15/egypt-militarys-economic-empire

The Arab Republic of Egypt: Presidency. (n.d.). The Supreme Council of the Armed Forces. [website]. Retrieve 2024, April 15 from https://www.presidency.eg/en

Zahid, M. (2010). The Egyptian nexus: the rise of Gamal Mubarak, the politics of succession and the challenges of the Muslim Brotherhood. The Journal of North African Studies, 15(2), 217-230. https://doi.org/10.1080/13629380903105690