Journal of Political Science and Public Administration, Kasetsart University (PSPAJKU) https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU <p><strong>วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งเกษตรศาสตร์</strong></p> <p><strong>Political Science and Public Administration Journal of Kasetsart University</strong></p> <p>ISSN 2985-0592 (Print)</p> <p>ISSN 2985-1289 (Online) </p> <p> </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป<br />เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ในแขนงวิชา การปกครองและการบริหารจัดการท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย รัฐประศาสนศาสตร์ และวิชาสายสังคมศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><br /><strong>ขอบเขตเนื้อหา</strong></p> <p>วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งเกษตรศาสตร์ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความปริทัศน์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับแขนงวิชาการปกครองและการบริหารจัดการท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย รัฐประศาสนศาสตร์ และวิชาสายสังคมศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> en-US polscikuj@gmail.com (นางสาวจุติรัตน์ กวินรวีกุล ) polscikuj@gmail.com (นายเบียนนาร์ด ศึกแสนพ่าย) Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1260 <p>ในปี พ.ศ. 2567 ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีแห่งการก่อตั้งภาควิชาฯ ภายใต้เจตนารมณ์ในการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากรเพื่อสังคมไทยและนานาชาติ โอกาสสำคัญนี้ ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงความสำเร็จในอดีต แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของความมุ่งมั่นในการเดินหน้าสู่อนาคต วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งเกษตรศาสตร์จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองนี้ โดยมุ่งนำเสนอประเด็นที่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ</p> <p>บทความในวารสารฉบับนี้สะท้อนถึงประเด็นการศึกษาที่หลากหลายของ ตั้งแต่การเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มเยาวชนในประเทศไทย เช่น "กลุ่มนักเรียนเลว" ที่นำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยและรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองใทย ไปจนถึงขบวนการเรียกร้อง สิทธิเลือกตั้งของสตรีในสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งชี้ให้เห็นถึงพลังของประชาชนในการผลักดันความเท่าเทียม รวมถึงบทความที่สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนในมิติทางเศรษฐกิจทั้งก่อนและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และการศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่าน "รถแห่อีสาน" ที่สะท้อนการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น</p> <p>ในส่วนของบทความวิชาการ วารสารฉบับนี้มีบทความเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมไทยในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ การออกแบบสภาพแวดล้อมในเขตเมืองเพื่อป้องกันอาชญากรรม และความสำคัญของการปฏิรูปภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชัน</p> <p>บทความเหล่านี้ไม่เพียงเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ แต่ยังช่วยเปิดมุมมองใหม่ ๆ ให้กับผู้อ่านทุกท่าน กองบรรณาธิการจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าวารสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ทุกท่านที่สนใจในประเด็นด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์</p> <p>ในโอกาสครบรอบ 50 ปีนี้ กองบรรณาธิการขอขอบคุณคณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่า และนิสิตทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาของภาควิชาให้เป็นหนึ่งในผู้นำทางวิชาการและสังคม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะร่วมสร้างอนาคตที่สดใสและความก้าวหน้าที่ยั่งยืนต่อไป</p> <p> </p> <p>ด้วยความเคารพ</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ลดาวัลย์ ไข่คำ</p> <p>บรรณาธิการวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งเกษตรศาสตร์</p> ลดาวัลย์ ไข่คำ Copyright (c) 2024 ลดาวัลย์ ไข่คำ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1260 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งเกษตรศาสตร์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1261 ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Copyright (c) 2024 ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1261 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาฐานคิดและการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ในประเด็นด้านการศึกษาของไทยผ่าน “กลุ่มนักเรียนเลว” https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/820 <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฐานคิดในการรวมกลุ่มและวิธีการเคลื่อนไหวในประเด็นทางการศึกษาของ “กลุ่มนักเรียนเลว” โดยวิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดสิทธิมนุษยชนและแนวคิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ (New Social Movement) ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ใช้วิธี<br>การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า <br>ฐานคิดของกลุ่มนักเรียนเลว คือ การผลักดันสิทธิในชีวิตและร่างกายของผู้เรียน <br>การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา และการสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยเพื่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักเรียน ซึ่งมีที่มาจากปัญหาการศึกษาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยาวนานและนำมาสู่การลิดรอนสิทธิมนุษยชนของผู้เรียน ได้แก่ ระบอบอำนาจนิยมในสถานศึกษา ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา <br>และการกีดกันการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักเรียน กลุ่มนักเรียนเลวยังมีรูปแบบและวิธีการเคลื่อนไหวที่สอดรับกับแนวคิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้<br>สื่อสังคมออนไลน์ในการกระจายข้อมูลข่าวสารและเป็นพื้นที่ระดมพล การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์<br>เพื่อเสียดสีท้าทายผู้มีอำนาจ การสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันกับผู้ที่มีประสบการณ์ร่วมกันในการสะท้อนปัญหาและสร้างความตระหนักให้สังคมได้รับรู้ อีกทั้งจุดประสงค์สำคัญของกลุ่มนักเรียนเลวไม่ใช่การเข้าสู่อำนาจรัฐ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและบรรทัดฐานทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียน</p> ณัชพล นาเครือ, ธนดล ชื่อเพราะ, พิชวัฒน์ นันทะแพทย์, ศิริพร รัศมีพนมกร Copyright (c) 2024 ณัชพล นาเครือ, ธนดล ชื่อเพราะ, พิชวัฒน์ นันทะแพทย์, ศิริพร รัศมีพนมกร https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/820 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ขบวนการเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งของสตรีอเมริกันตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1259 <p>บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาขบวนการเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งของสตรีอเมริกันตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภายหลังการทำสงครามประกาศอิสรภาพและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1789 ได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแต่สตรีอเมริกันยังไม่สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส่งผลให้เกิดขบวนการเพื่อเรียกร้องสิทธิการเลือกตั้งของสตรี อย่างไรก็ดีการเรียกร้องโดยแกนนำสตรีเพียงอย่างเดียวนั้นไม่อาจทำให้สตรีได้รับสิทธิการเลือกตั้งได้จนกระทั่งสตรีอเมริกันได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 และอาศัยโอกาสนี้ในการชักจูงนักการเมืองให้เห็นความสำคัญของสิทธิสตรีกับการใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่อสิ้นสุดสงครามจึงได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้สตรีลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1920 แต่สตรีอเมริกันยังได้รับสิทธิในบางมลรัฐเท่านั้นเนื่องจากการเลือกปฏิบัติ เช่น การปฏิเสธสิทธิ์ของสตรีที่ไม่รู้หนังสือในรัฐทางใต้ การเก็บภาษีเลือกตั้งเพื่อปฏิเสธการเลือกตั้งของพลเมืองที่ยากไร้ จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สตรีจึงได้รับสิทธิในการเลือกตั้งอย่างเท่าเทียมกันกับบุรุษ</p> ชญานี แป้นแก้ว, อภิชา ชุติพงศ์พิสิฏฐ์ Copyright (c) 2024 ชญานี แป้นแก้ว, อภิชา ชุติพงศ์พิสิฏฐ์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1259 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศไทยและจีน ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1124 <p>บทความนี้ได้จัดทำการศึกษาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศไทยและจีนภายหลัง<br>สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศไทยและ<br>จีน มีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยทั้ง<br>สองประเทศมุ่งเน้นการฟื้นฟูการค้า โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของไทย การส่งออกของไทยไปยังจีน<br>ได้เน้นผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้าเกษตรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ นอกจากนี้ การสร้างความ<br>ร่วมมือด้านโลจิสติกส์เป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการค้า รวมทั้งการเติบโตของการค้า<br>ออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาด ทำให้เกิดโอกาสใหม่ในการทำธุรกิจ ทั้งนี้ความสัมพันธ์ทางการ<br>ค้าระหว่างไทยและจีนในช่วงหลังการแพร่ระบาดสะท้อนถึงการปรับตัวและความร่วมมือที่เข้มแข็งใน<br>บริบทเศรษฐกิจใหม่ โดยผลศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศไทยกับจีน ภายหลัง<br>สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จีนมีแนวโน้มที่จะสามารถเข้ามาเพิ่มระดับ<br>ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทยได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสถานการณ์ภายในจีนที่เริ่มคลี่คลาย ซึ่ง<br>การค้าระหว่างไทยกับจีน มีสถานการณ์การส่งออกจากตลาดของไทยไปยังตลาดสำคัญในปี 2566 ส่วน<br>ใหญ่ชะลอลงจากปีก่อน ตามอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่ลดลง โดยการส่งออกไปสู่ตลาดจีน ส่งออกเป็น<br>มูลค่า 34,164.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 0.8 จากการฟื้นตัวของการผลิตและการบริโภคที่ช้า<br>กว่าคาด ก่อนที่จะขยายตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง โดยการค้าระหว่างไทยกับจีนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง<br>โดยล่าสุดในปี 2566 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีนสูงถึง 116,912 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ<br>41.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่มูลค่า<br>การค้าไทย-จีน อยู่ที่ 82,904 ล้านเหรียญสหรัฐฯ</p> วรัณยู เหง่าโพธิ์, มนัสนันท์ ชูตินันท์ Copyright (c) 2024 นายวรัณยู เหง่าโพธิ์, มนัสนันท์ ชูตินันท์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1124 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 รถแห่อีสาน https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1122 <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของอัตลักษณ์อีสานผ่านรถแห่อีสานและศึกษาการให้ความหมายของรถแห่อีสานในมิติทางสังคมวัฒนธรรม และมิติทางเศรษฐกิจโดยวิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ แนวคิดท้องถิ่นนิยม แนวคิดการผสมผสานข้ามสายพันธุ์ทางวัฒนธรรม และแนวคิดทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งคณะผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และการสังเกตแบ[ไม่มีส่วนร่วม</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า รถแห่อีสานเกิดจากการปรับตัวของวัฒนธรรมอีสาน ผ่าน 2 เงื่อนไขคือ 1) การแพร่กระจายของกระแสโลกาภิวัตน์และระบบทุนนิยมในพื้นที่ และ 2) การปรับตัวของวัฒนธรรมอีสานผ่านรถแห่อีสาน คือ ภาษา ดนตรี และวัฒนธรรมอีสานดั้งเดิม สำหรับการให้ความหมายในมิติทางสังคมวัฒนธรรม เป็นการปะทะกันระหว่างคน 2 กลุ่มที่พยายามช่วงชิงการให้ความหมายรถแห่อีสาน โดยกลุ่มคนในวัฒนธรรมให้ความหมายว่าเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนอีสาน ขณะที่กลุ่มคนนอกวัฒนธรรมให้ความหมายว่าเป็นปัญหาสังคมและบ่อนทำลายวัฒนธรรม ในส่วนของมิติทางเศรษฐกิจ รถแห่อีสานถูกให้ความหมายว่าเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สร้างรายได้ให้กับผู้คนในท้องถิ่น และก่อให้ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการรถแห่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้รถแห่อีสานเกิดการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา</p> พรทิพย์ สาตรา, นริศรา ต่อทุน, พรทิพย์ สาตรา, พีระพงษ์ สอนทวี Copyright (c) 2024 พรทิพย์ สาตรา https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1122 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 การครองอำนาจนำในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1258 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์การครองอำนาจนำของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในช่วงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยใช้กรอบแนวคิดการครองอำนาจนำของอันโตนิโอ กรัมชีในการวิเคราะห์การรวบรวมอำนาจและการสร้างอุดมการณ์ที่พระองค์ใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองและอำนาจเหนือประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างอำนาจของชนชั้นปกครอง แต่การเปลี่ยนแปลงนี้กลับไม่ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มผู้ถูกปกครอง</p> <p>การศึกษานี้เริ่มต้นด้วยการอธิบายทฤษฎีการครองอำนาจนำของกรัมชีและการพิจารณาบริบททางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะสภาพการเมืองและสังคมในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากกรุงธนบุรีสู่กรุงรัตนโกสินทร์ จากนั้นจึงใช้พงศาวดารและเอกสารประวัติศาสตร์เป็นแหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์ กลยุทธ์การครองอำนาจนำของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยเฉพาะพระบรมราโชบาย โครงการทางวัฒนธรรม และการสร้างอุดมการณ์ในคติพุทธศาสนาที่ทรงเน้นย้ำความชอบธรรมของการครองราชย์ผ่านคติความเชื่อในฐานะพระอินทรราชา ซึ่งแตกต่างจากกรอบความเชื่อในสมัยอยุธยาที่กษัตริย์ถือเป็นอวตารของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงใช้วรรณกรรม สถาปัตยกรรม และอุดมการณ์ทางศาสนาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่เรื่องเล่าที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ทำให้เกิดการยอมรับจากประชาชนอย่างกว้างขวางโดยปราศจากการต่อต้าน และฝังลึกในโครงสร้างทางวัฒนธรรมและสังคมของยุคนั้น ซึ่งสะท้อนแนวคิดการครองอำนาจนำตามทฤษฎีของกรัมชีในบริบทประวัติศาสตร์ การศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างอุดมการณ์ วัฒนธรรม และอำนาจ ในกระบวนการสร้างรัฐในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รวมถึงผลกระทบในมิติที่กว้างขึ้นต่อการทำความเข้าใจการสร้างรัฐและอำนาจนำในประวัติศาสตร์ไทย</p> ปริณดา ใจทรัพย์ Copyright (c) 2024 ปริณดา ใจทรัพย์ https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1258 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความเป็นเมือง https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1114 <p>บทคัดย่อ</p> <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นเมือง, ผลกระทบของการเกิดอาชญากรรมจากความเป็นเมือง, และข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่เมือง เมื่อการขยายตัวของเมืองทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง ทำให้โครงสร้างทางสังคมมีความสลับซับซ้อนและยากที่จะควบคุมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งการออกแบบสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองที่ลักษณะเป็นมหานคร จะช่วยสนับสนุนให้การสอดส่อง ดูแล และจัดระเบียบทางสังคมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านกลไกการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสาธารณะที่ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างให้พื้นที่ชุมชนเมืองลดความเสี่ยงในการเผชิญหน้ากับอาชญากรรม และทำให้การดำรงชีวิตของประชาชนมีความยั่งยืน อันเป็นผลลัพธ์เชิงบวกที่สืบเนื่องมาจากการสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับสังคมที่อาศัยอยู่ ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรจากการก่ออาชญากรรม โดยที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ แก่สังคมโดยรวม</p> กุลธิดา มาลาม Copyright (c) 2024 กุลธิดา มาลาม https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1114 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 คอร์รัปชันต้นน้ำการปฏิรูปภาครัฐสู่การพัฒนา https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1246 <p>บทความนี้วิเคราะห์ปัญหาการคอร์รัปชันในภาครัฐไทย โดยเน้นบทบาทของอำนาจดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการทุจริต ระบบราชการที่ขาดความโปร่งใสและกลไกความรับผิดชอบ ทำให้เกิดการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความน่าเชื่อถือของสถาบันรัฐอย่างร้ายแรง</p> <p>ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปมุ่งเน้นการเสริมสร้างกลไกตรวจสอบและความร่วมมือกับภาคประชาสังคม รวมถึงการกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนและการปลูกฝังค่านิยมต่อต้านการทุจริต การปรับปรุงกฎหมายเพื่ออุดช่องโหว่ ตลอดจนการเพิ่มบทบาทของสื่อและองค์กรอิสระ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบและความโปร่งใสอย่างต่อเนื่อง สู่การพัฒนาภาครัฐที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ</p> สถาพร สวาพิม Copyright (c) 2024 sathaporn sawapim https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/1246 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700