การส่งออกยางพาราไทยไปจีน (ค.ศ.1978 – 2008) นโยบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการตลาดและความผันผวน

Main Article Content

อรญา บางประสิทธิ์
อภิชา ชุติพงศ์พิสิฏฐ์

Abstract


ประเทศไทยริเริ่มเพาะปลูกยางพาราครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1900 ด้วยความคาดหวังของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้การส่งออกยางพาราให้เข้ามาแทนที่การส่งออกดีบุกที่ประสบปัญหาราคาสินค้าตกต่ำในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การส่งออกยางพาราของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งทศวรรษ 1980 ประเทศจีนก้าวขึ้นเป็นตลาดส่งออกยางของไทยเมื่อจีนปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ตามแนวทาง 4 ทันสมัยและการเปิดประเทศออกสู่ตลาดโลก ความเปลี่ยนแปลงในจีนส่งผลให้จีนนำเข้ายางพาราจากไทยมากขึ้นเพื่อสนองตอบการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีน ประกอบกับไทยสามารถพัฒนาการผลิตยางให้ได้มาตรฐานสากลและพร้อมแข่งขันในตลาดโลก ด้วยปัจจัยทั้งการเปิดประเทศของจีนและศักยภาพการผลิตของไทยส่งผลให้จีนกลายเป็นคู่ค้ายางอันดับหนึ่งของไทยนับตั้งแต่ ค.ศ. 2003 เป็นต้นมา



งานวิจัยนี้นำเสนอสภาวะทางการค้ายางพาราระหว่างไทยกับจีนภายหลังจากจีนเปิดประเทศจนถึง ค.ศ. 2008 จากการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งออกยางพาราไทยไปจีนขยายตัวขึ้นด้วยความต้องการสินค้าของจีน อย่างไรก็ดีการส่งออกยางพาราไทยต้องประสบปัญหาในบางช่วงเวลาเนื่องจากความผันผวนของความต้องการสินค้าของจีน ปัญหาด้านการผลิตยางในไทย และนโยบายของรัฐซึ่งมีผลต่อการส่งออกยางพาราไทยไปยังจีน

Article Details

How to Cite
บางประสิทธิ์ อ. ., & ชุติพงศ์พิสิฏฐ์ อ. . (2024). การส่งออกยางพาราไทยไปจีน (ค.ศ.1978 – 2008): นโยบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการตลาดและความผันผวน. Political Science and Public Administration Journal of Kasetsart University (PSPAJKU), 2(1), 60–89. Retrieved from https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/947
Section
Research Articles

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2001). WTO สรุปการเจรจาเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2567. จากhttps://shorturl.asia/ql5Ca.

คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก. (ม.ป.ป.). รู้จัก WTO. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567. จาก https://www.pmtw.moc.go.th/aboutwto.

นุชนารถ กังพิสดาร และคณะ. (2550). ข้อมูลวิชาการยางพารา 2550. ม.ป.ท.: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นันทวัลย์ ศกุนตนาค. (2544). จีน : ตลาดใหม่แห่งทศวรรษ. ม.ป.ท.: กรมส่งเสริมการส่งออก.

นิเวศน์ ศรีไชยวงศ์. (2549). ความคาดหวังของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราในอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ. (2562). ผลกระทบจากนโยบายยางพาราของรัฐบาลต่อการปลูกยางพาราไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2), 129-140.

พัณณินอร ศิริสุวัฒน์ และ ธีรศักดิ์ จินดาบถ. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออกยางพาราไทยเพื่อการแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศ. วารสารนักบริหาร, 33(2), 40-48.

พศวีร์ เทียบคุณ. (2548). บทบาททางการเมืองของเติ้ง เสี่ยวผิง ค.ศ.1949-1997. (สารนิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (ม.ป.ป.). ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2567. จากhttps://saranukromthai.or.th/sub/book//book.php?book=4&chap=9&page=t4-9-infodetail06.html.

วิชุดา อัชชะกุลวิสุทธิ์. (2546). อุตสาหกรรมยางพาราของไทย : ศึกษาด้านการส่งออก. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรเกียรติ ปริชาตินนท์, กมลทิพย์ ใหม่ชุม และ อนุพงศ์ วงศ์ไชย. (2563). ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของการส่งออกยางพาราระหว่างประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 12(2), 113-124.

สุรชัย ศิริไกร. (2537). นโยบายต่างประเทศของจีนต่อประเทศอาเซียน: ในยุคสังคมนิยมทันสมัยภายใต้อิทธิพลของเติ้ง เสี่ยวผิง (1978-ปัจจุบัน). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์.

สุธัญญา ทองรักษ์. (2003). วิวัฒนาการของการใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่าไม้บริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567. จากhttps://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:86214.

สำนักการสินค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2565). ยางพาราและผลิตภัณฑ์. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2565. จากhttps://www.dtn.go.th/th/content/category/detail/id/72/cid/984/iid/2616.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ห้า พ.ศ.๒๕๒๕-๒๕๒๙. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2567. จากhttps://repositorio.iscteiul.pt/bitstream/10071/22705/1/phd_li_gang.pdf.

สำนักงานเทศบาลเมืองกันตัง. (ม.ป.ป.). ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2567. ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย (kantangcity.go.th).

สำนักงานปลัดกระทรวงพานิชย์. (ม.ป.ป.). หนังสือสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567. https://tradereport.moc.go.th/.

อุปกรณ์ หลีค้า. (2562). นโยบายเศรษฐกิจสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พ.ศ.2523 ถึง พ.ศ.2531 : ศึกษาผ่านวารสารเศรษฐกิจและสังคมของสภาพัฒน์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประศาสตร์). กรุงเทพ:มหาวิยาลัยศิลปากร.

Damrong Sattayawaksakul and Seung Yeon Choi. (2017). A Comparative Analysis of Export Competition in Natural Rubber Among the Leading Exporters in Southeast Asia. Accessed August 6, 2023. fromhttps://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3010865.

National Bureau Statistics อ้างถึงใน Motor World. (1997). 中国历年汽车生产量统计. Accessed Mar 26, 2024. from http://www.motorworld.com.cn/information/figures/quitlity.htm.