https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/issue/feed Political Science and Public Administration Journal of Kasetsart University (PSPAJKU) 2024-07-04T19:42:56+07:00 นางสาวจุติรัตน์ กวินรวีกุล polscikuj@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งเกษตรศาสตร์</strong></p> <p><strong>Political Science and Public Administration Journal of Kasetsart University</strong></p> <p>ISSN 2985-0592 (Print)</p> <p>ISSN 2985-1289 (Online) </p> <p> </p> <p><img src="https://scontent.fbkk12-2.fna.fbcdn.net/v/t39.30808-6/454745217_1050254903767819_4198938722695353533_n.jpg?stp=dst-jpg_p526x296&amp;_nc_cat=104&amp;ccb=1-7&amp;_nc_sid=127cfc&amp;_nc_ohc=uvtYMsuZ5GUQ7kNvgFlOb07&amp;_nc_ht=scontent.fbkk12-2.fna&amp;oh=00_AYBXwi53EH1Avp7X09XTgCWt56qd4nvPhu_5_yD-wAUNMw&amp;oe=66BC0BBA" alt="May be a graphic of text" /></p> <p> </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป<br />เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ในแขนงวิชา การปกครองและการบริหารจัดการท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย รัฐประศาสนศาสตร์ และวิชาสายสังคมศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><br /><strong>ขอบเขตเนื้อหา</strong></p> <p>วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งเกษตรศาสตร์ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย และบทความปริทัศน์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับแขนงวิชาการปกครองและการบริหารจัดการท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย รัฐประศาสนศาสตร์ และวิชาสายสังคมศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/576 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง 2024-01-17T11:47:10+07:00 กุลิสรา จำปาหอม newzkuli@hotmail.com กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย newzkuli@hotmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง 3. ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยแรงจูงใจกับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง 4. ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง 5. ศึกษาว่าปัจจัยแรงจูงใจอย่างน้อย 1 ปัจจัย หรือปัจจัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างน้อย 1 ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง 6. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนองและเสนอแนะกลยุทธ์ในปรับปรุงการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนองจังหวัดระนอง</p> <p>การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณศึกษากลุ่มตัวอย่างจากพนักงานส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง จำนวน 313 คน ตามสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการสัมภาษณ์แบบเจาะจงจากผู้บริหาร จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบการวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนองอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ เงินเดือน มีผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุและอายุการทำงานที่แตกต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยแรงจูงใจและปัจจัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านความต้องการยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความก้าวหน้าในการทำงาน (5) ปัจจัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านหลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม และหลักความรับผิดชอบ (6) ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนองยังพบปัญหาและอุปสรรค คือ บุคลากรและงบประมาณมีจำกัด บุคลากรขาดแรงจูงใจ ขาดการบูรณาการการทำงานในพื้นที่ ระบบสารสนเทศขาดความทันสมัย ถ้าจะให้ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นจะต้องนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน พัฒนาความรู้และประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน และบูรณาการการทำงานจากทุกภาคส่วน</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 กุลิสรา จำปาหอม, กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/947 การส่งออกยางพาราไทยไปจีน (ค.ศ.1978 – 2008) 2024-07-04T18:08:59+07:00 อรญา บางประสิทธิ์ Oraya.ba@hotmail.com อภิชา ชุติพงศ์พิสิฏฐ์ picha.c@live.ku.th <p><br>ประเทศไทยริเริ่มเพาะปลูกยางพาราครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1900 ด้วยความคาดหวังของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้การส่งออกยางพาราให้เข้ามาแทนที่การส่งออกดีบุกที่ประสบปัญหาราคาสินค้าตกต่ำในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การส่งออกยางพาราของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งทศวรรษ 1980 ประเทศจีนก้าวขึ้นเป็นตลาดส่งออกยางของไทยเมื่อจีนปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ตามแนวทาง 4 ทันสมัยและการเปิดประเทศออกสู่ตลาดโลก ความเปลี่ยนแปลงในจีนส่งผลให้จีนนำเข้ายางพาราจากไทยมากขึ้นเพื่อสนองตอบการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีน ประกอบกับไทยสามารถพัฒนาการผลิตยางให้ได้มาตรฐานสากลและพร้อมแข่งขันในตลาดโลก ด้วยปัจจัยทั้งการเปิดประเทศของจีนและศักยภาพการผลิตของไทยส่งผลให้จีนกลายเป็นคู่ค้ายางอันดับหนึ่งของไทยนับตั้งแต่ ค.ศ. 2003 เป็นต้นมา</p> <p><br>งานวิจัยนี้นำเสนอสภาวะทางการค้ายางพาราระหว่างไทยกับจีนภายหลังจากจีนเปิดประเทศจนถึง ค.ศ. 2008 จากการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งออกยางพาราไทยไปจีนขยายตัวขึ้นด้วยความต้องการสินค้าของจีน อย่างไรก็ดีการส่งออกยางพาราไทยต้องประสบปัญหาในบางช่วงเวลาเนื่องจากความผันผวนของความต้องการสินค้าของจีน ปัญหาด้านการผลิตยางในไทย และนโยบายของรัฐซึ่งมีผลต่อการส่งออกยางพาราไทยไปยังจีน</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/948 การจัดวางอำนาจทางการเมืองของระบอบทหารอียิปต์ช่วงก่อนการเริ่มต้นและสิ้นสุดลงของเหตุการณ์รัฐประหาร ค.ศ. 2013 2024-07-04T18:13:09+07:00 ณัฐกร คล้ายสุบิน nattahkorn.k@ku.th มาริษา กองเงิน marisa.kong@ku.th <div>บทความวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษา การก่อร่างของระบอบทหารอียิปต์ช่วงก่อนการเริ่มต้นเหตุการณ์รัฐประหาร ค.ศ. 2013 และอำนาจทางการเมืองของระบอบทหารอียิปต์หลังสิ้นสุดลงของเหตุการณ์รัฐประหาร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านเอกสารทุติยภูมิและกฎหมายในการวิเคราะห์ระบอบทหารในอียิปต์ที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การเข้าใจการจัดวางแห่งอำนาจของระบอบทหารของอียิปต์ในปัจจุบัน โดยการพินิจผ่านการสถาปนากฎหมาย การบริหารประเทศ และการรักษาระเบียบความมั่นคงภายในประเทศ</div> <div>&nbsp;</div> <div>ผลการวิจัยพบว่า เมื่อสถาบันกองทัพเริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองในช่วงเหตุการณ์อาหรับสปริงที่สถานการณ์จบลงด้วยการจัดตั้งสภาสูงสุดแห่งกองทัพที่เริ่มวิวัฒน์บทบาทข้างต้นขึ้นเป็นตัวแสดงในฐานะผู้ปกครองผ่านการสถาปนากฎหมายและการรักษาระเบียบความมั่นคงภายในประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากกองทัพและกลุ่มภราดรภาพมุสลิมและเมื่อเกิดการทำรัฐประหารขึ้นได้เสริมแรงให้สถาบันกองทัพกลายเป็นผู้ปกครองที่เข้มแข็งขึ้นเนื่องจากการสถาปนากฎหมายใหม่เกิดขึ้นมาจากการร่างโดยอิทธิพลของกองทัพโดยสมบูรณ์ เหตุนี้ทำให้ประธานาธิบดีโดยกองทัพมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น กอปรกับกิจการกองทัพไม่สามารถถูกแทรกแซงได้อีกต่อไป และสำหรับการรักษาความมั่งคงภายในรัฐคือ การบัญญัติโทษให้การกระทำทางการเมืองที่เป็นภัยคุกคามกลายเป็นการกระทำความผิดทางอาญาโดยอ้างความชอบธรรมเพื่อสร้างสังคมที่สงบเรียบร้อยและผลประโยชน์ของชาติ</div> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ณัฐกร คล้ายสุบิน, มาริษา กองเงิน https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/958 วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งเกษตรศาสตร์ 2024-07-04T19:42:56+07:00 วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ แห่งเกษตรศาสตร์ polscikuj@gmail.com 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/956 รายนามกองบรรณาธิการ 2024-07-04T19:39:46+07:00 วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ แห่งเกษตรศาสตร์ polscikuj@gmail.com 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/957 คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ 2024-07-04T19:41:08+07:00 วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ แห่งเกษตรศาสตร์ polscikuj@gmail.com 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/954 บทบรรณาธิการ 2024-07-04T19:33:29+07:00 ลดาวัลย์ ไข่คำ ladawan.kh@ku.th <div>ยินดีต้อนรับสู่ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 ของวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นฉบับที่มีความสำคัญและพิเศษอย่างยิ่งเนื่องในโอกาสครบรอบกึ่งศตวรรษของภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกศตรศาสตร์ ในฉบับนี้ เราได้รวบรวมบทความที่มีความหลากหลายและครอบคลุมหัวข้อสำคัญ ๆ ในวงการรัฐศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์และเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิชาการ นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป</div> <div>&nbsp;</div> <div>วารสารฯ ฉบับนี้เริ่มต้นด้วยปาฐกถาพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ หัวข้อ “วิสัยทัศน์ผู้นำกับการรับมือความเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืน (Embracing Changes for Sustainability)” โดย H.E. Hun Saroeun เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย ซึ่งท่านได้นำเสนอแนวคิดและวิสัยทัศน์ของผู้นำในการปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความยั่งยืนในสังคม</div> <div>&nbsp;</div> <div>วารสารฯ ฉบับนี้ประกอบด้วยบทความวิจัยสามบทความ ได้แก่ งานวิจัย “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง” โดย กุลิสรา จำปาหอม และกิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย ที่นำเสนอข้อมูลและผลการวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบริหารงานในระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ ต่อมาบทความวิจัย “การส่งออกยางพาราไทยไปจีน (ค.ศ.1978 – 2008): นโยบาย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตลาดและความผันผวน” โดย อรญา บางประสิทธิ์ และอภิชา ชุติพงศ์พิสิฏฐ์ ที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตลาดและความผันผวนในการส่งออกยางพารา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และบทความวิจัยสุดท้าย “การจัดวางอำนาจทางการเมืองของระบอบทหารอียิปต์ช่วงก่อนการเริ่มต้นและสิ้นสุดลงของเหตุการณ์รัฐประหาร ค.ศ. 2013” โดย ณัฐกร คล้ายสุบิน และมาริษา กองเงิน ที่ให้การวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับการเมืองในประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุคปัจจุบัน</div> <div>&nbsp;</div> <div>นอกจากนี้ วารสารฯ ฉบับนี้ ยังประกอบไปด้วยบทความวิชาการ “การเมืองจีนช่วงสี จิ้นผิง : นโยบายรอบรัฐ นโยบายต่างประเทศของจีน เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองภายในและระหว่างประเทศ” เกี่ยวกับการเมืองจีนปัจจุบัน ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง โดย ธนชัย กานพรหมมา และคณะ ที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประธานาธิบดีสี เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง รวมถึงนโยบายภายในและต่างประเทศของจีน ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญในการทำความเข้าใจทิศทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ และบทความ “เส้นทางการเมืองและนโยบายสำคัญของประธานาธิบดี หู จิ่นเทา” โดย ยศวุฒิ ว่องเขตต์กรณ์ และคณะ ซึ่งสำรวจเส้นทางการเมืองและนโยบายสำคัญในสมัยของประธานาธิบดี หู จิ่นเทา ที่ช่วยให้ผู้อ่านได้ภาพรวมและการวิเคราะห์การเมืองในยุคของผู้นำท่านนี้</div> <div>&nbsp;</div> <div>กองบรรณาธิการวารสารฯ หวังว่าบทความต่าง ๆ ในฉบับนี้จะเป็นแหล่งความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านทุกท่านในการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในวงการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสน-ศาสตร์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น</div> <div>&nbsp;</div> <div>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลดาวัลย์ ไข่คำ</div> <div>บรรณาธิการ</div> <div>วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งเกษตรศาสตร์</div> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/955 วารสารฉบับสมบูรณ์ 2024-07-04T19:36:20+07:00 วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ แห่งเกษตรศาสตร์ polscikuj@gmail.com 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/951 ปาฐกถาพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 2024-07-04T18:35:24+07:00 Hun Saroeun polscikuj@gmail.com <p>ปาฐกถาพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ในหัวข้อ “วิสัยทัศน์ผู้นำกับการรับมือความเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืน (Embracing Changes for Sustainability)” เป็นการผสมผสานหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน ทั้งสาขาการปกครอง รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยหัวข้อนี้จะเน้นใน 2 เรื่องหลัก คือ 1. การรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืน 2. วิสัยทัศน์ของผู้นำ</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Hun Saroeun https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/952 การเมืองจีนช่วงสี จิ้นผิง 2024-07-04T19:11:45+07:00 ธนชัย กานพรหมมา thanachai.ka@ku.th ฟ้าสว่าง อภิมหาเกรียงไกร fahsawang.a@ku.th วิธวินท์ เผ่าภูรี vitawin.p@ku.th วิศรุต แทนทด wissarut.ta@ku.th ภิญญาพัชญ์ เนื่องพลงาม pinyapach.n@ku.th วิชิต ศรีละพรม wichit.sri@ku.th ปราณปรียา ศักดิ์อุบล pranpreeya.sa@ku.th <div>สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 3 วาระ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 ที่สี จิ้นผิงขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเขานั้นสร้างความแข็งแกร่ง และนำพาจีนสู่การพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ตามหลักการที่เขาได้ประกาศต่อประชาชนนั่นก็คือหลักการ China’s Dream โดยเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวาระของสี จิ้นผิงส่วนใหญ่นั้นจะเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความขัดแย้งกับต่างประเทศทั้งกรณีข้อพิพาททะเลจีนใต้ เหตุการณ์การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงในการปราบปรามผู้ประท้วงในฮ่องกง ซึ่งก็นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งผ่านนโยบายต่างประเทศ</div> <div>&nbsp;</div> <div>นโยบายภายในและนโยบายต่างประเทศในวิสัยทัศน์ของสี จิ้นผิงนั้นเน้นการสร้างความมั่งคั่ง ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาประเทศให้กลับไปเป็นผู้นำในเวทีโลกอีกครั้งจนนำไปสู่การกำหนดนโยบายโดยเน้นการพัฒนา 3 ด้าน คือ ด้านการเมือง เช่น การปฏิรูประบบทหาร นโยบายลูกสามคน เพื่อเพิ่มจำนวนประชากร และได้ทำการวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาของประเทศ ด้านเศรษฐกิจ เช่น นโยบายลดความยากจน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น “ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative : BRI” หรือ “ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนานาประเทศ</div> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ธนชัย กานพรหมมา, ฟ้าสว่าง อภิมหาเกรียงไกร, วิธวินท์ เผ่าภูรี, วิศรุต แทนทด, ภิญญาพัชญ์ เนื่องพลงาม, วิชิต ศรีละพรม, ปราณปรียา ศักดิ์อุบล https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/953 เส้นทางการเมืองและนโยบายสำคัญของประธานาธิบดี หู จิ่นเทา 2024-07-04T19:20:04+07:00 ยศวุฒิ ว่องเขตต์กรณ์ yossawut.w@ku.th กองพล จิตนิยม kongphol.c@ku.th สิรวิชญ์ จิตรวัฒนะนนท์ srirawit.j@ku.th ณัฐธีร์ ลุนหวิทยานนท์ nathee.l@ku.th ศุภกร แก้วสุพรรณ supakorn.kaew@ku.th <p>บทความนี้นำเสนอเนื้อหาของ หู จิ่นเทา ผู้นำรุ่นที่ 4 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อศึกษาประวัติส่วนตัว ครอบครัว และการศึกษา รวมไปถึงการก้าวสู่เส้นทางการเมืองของ หู จิ่นเทา เหตุการณ์และนโยบายสำคัญ บทบาทของสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้การปกครองของ หู จิ่นเทา ซึ่งได้นำการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มาสู่ประเทศ ผ่านแนวคิดการปกครองที่เน้นสันติวิธีและการสร้างความร่วมมือโดยอาศัยนโยบายผงาดอย่างสันติ และ นโยบายโลกแห่งความสามัคคี ประกอบกับนโยบายด้านเศรษฐกิจที่รับเอาแนวคิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจของผู้นำรุ่น 2 เติ้ง เสี่ยวผิง และรุ่นที่ 3 เจียง เจ๋อหมิน มาพัฒนาและปรับใช้ ภายใต้ความต้องการให้จีนมีบทบาทในเวทีโลก หู จิ่นเทา จึงได้สนับสนุนการพัฒนานโยบายด้านอวกาศจนนำไปสู่การพัฒนาและการเติบโตทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ ดังนั้น หู จิ่นเทา ถือเป็นบุคคลที่ควรค่าต่อการศึกษาอย่างยิ่ง</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024