Time and Temporality: มิติเวลาของการศึกษาปรากฏการณ์การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ
Main Article Content
Abstract
งานศึกษาเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นในบริบทของไทย มักจะเกี่ยวข้องกับผลกระทบในด้านต่างๆ ที่การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามพรมแดนรัฐชาติ มีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเจ้าบ้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือลบ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นปัญหาการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการด้านต่างๆ ของผู้อพยพ รวมทั้งการปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรม ประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญเหล่านี้ยังคงให้น้ำหนักสำคัญที่การจัดการความสัมพันธ์บนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นหน่วยของรัฐชาติ หรือลักษณะข้ามชาติ อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์การอพยพย้ายถิ่นยังประกอบไปด้วยมิติเวลาด้วยเช่นกัน หากแต่ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างมากนักในวงวิชาการไทย ผู้เขียนจึงเห็นว่าการสำรวจวรรณกรรมเบื้องต้นในประเด็นดังกล่าว พร้อมกับนำเสนอบทวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการไทยและภูมิภาค เพราะนับตั้งแต่หลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยก็เป็นหน่วยพื้นที่ที่สำคัญหน่วยหนึ่งในเครือข่ายของการอพยพโยกย้ายในภูมิภาคเอเชีย ทั้งในแง่ของการเคลื่อนย้ายแรงงาน และการพลัดถิ่นจากภัยสงครามและความรุนแรงภายในประเทศเพื่อนบ้าน การทำความเข้าใจมิติด้านเวลาของการอพยพย้ายถิ่นอาจจะนำไปสู่ความเข้าใจใหม่ ๆ เกี่ยวกับสังคมไทยในยุคที่การย้ายถิ่นฐานเริ่มกลายเป็นความปกติใหม่
Article Details
References
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2565). Future: ว่าด้วยเวลา ประวัติศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระบบทุนนิยมดิจิทัล. ศยาม: กรุงเทพฯ.
ฐานิดา บุญวรรโณ. (2563). หมุนนาฬิกาสู่เวลาทางสังคม. Illumination Editions.
ดารุณี ไพศาลพานิชย์กุล. (2559). หลังข้ามเส้นพรมแดนสถานะตามกฎหมายของคนย้ายถิ่น (กรณีชนกลุ่มน้อย). วารสารนิติสังคมศาสตร์, 9(2), 170-205.
ณัฐสุภรณ์ เตียวเพชรภัสกร. (2562). ความมีอยู่ของเวลา: การศึกษาเชิงวิพากษ์ในพุทธปรัชญาเถรวาท. มจร ปรัชญาปริทรรศน์, 2(2), 1–15.
ประชาไท. (2548). ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะสิทธิและบุคคล. https://prachatai.com/journal/2005/02/2831. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2566.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2561). อัตลักษณ์เอกสาร: วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทย. ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิจิตร ประพงษ์. (2561). การย้ายถิ่นแบบชั่วคราวแต่ยาวนานของแรงงานไทยแบบผิดกฎหมายในฝรั่งเศส. วารสารพัฒนศาสตร์, 1(2), 206-240.
Allen, J., & Axelsson, L. (2019). Border topologies: The time-spaces of labour migrant regulation. Political Geography, 72, 116–123. https://doi.org/10.1016/j.polgeo.2019.04.008
Anderson, B. (2013). Us and Them?: The Dangerous Politics of Immigration Control. Oxford University Press. Retrieve 2022, October 29 from https://doi.org/10.1093/acprof:oso/9780199691593.001.0001
Bastia, T., & Skeldon, R. (Eds.). (2020). Routledge Handbook of Migration and Development (1st ed.). Routledge. https://doi.org/10.4324/9781315276908
Brennan, J. (2015). Fathers and Sons: Generations, Families, and Migration. Palgrave Macmillan.
Cwerner, S. B. (2001). The Times of Migration. Journal of Ethnic and Migration Studies, 27(1), 7–36. https://doi.org/10.1080/13691830125283
Cohen, E. F. (2018). The Political Value of Time: Citizenship, Duration, and Democratic Justice. Cambridge University Press. https://doi.org/10.1017/9781108304283
Gabaccia, D. R. (2014). Time and Temporality in Migration Studies. In Migration Theory: Talking across Disciplines (3rd ed., pp. 37–66). Routledge.
Griffiths, M. B. E. (2014). Out of Time: The Temporal Uncertainties of Refused Asylum Seekers and Immigration Detainees. Journal of Ethnic & Migration Studies, 40(12), 1991–2009. Academic Search Complete.
Griffiths, M., Rogers, A., & Anderson, B. (2013). Migration, Time and Temporalities: Review and Prospect. COMPAS Research Resources Paper.
International Organization for Migration. (n.d). IOM Definition of “Migrant”. Retrieve 2022, October 29 from https://www.iom.int/about-migration.
Janepicha Cheva-Isarakul. (2019). 'Diagnosing' Statelessness and Everyday State Illegibility in Northern Thailand. The Statelessness and Citizenship Review, 1(2):214-238. Peter McMullin Centre on Statelessness and The Institute on Statelessness and Inclusion
Kok, P. (1999). The Definition of Migration and its Application: Making Sense of Recent South African Census and Survey Data. SA Journal of Demography, 7(1), 19-30.
Robertson, S. (2014). Time and temporary migration: The case of temporary graduate workers and working holiday makers in Australia. Journal of Ethnic and Migration Studies, 40(12), 1915–1933. https://doi.org/10.1080/1369183X.2013.876896
Sager, A. (2018). Toward a Cosmopolitan Ethics of Mobility: The Migrant’s-Eye View of the World (1st ed.). Palgrave Macmillan.
United Nations High Commissioner for Refugees. (n.d.). Migrant Definition. [online] Retrieve 2022, October 29 from https://emergency.unhcr.org/protection/legal-framework/migrant-definition.
Widder, N. (2010). Temporality. In Encyclopedia of Political Theory (pp. 1351–1353). Sage Publication