ผลกระทบจากความรับผิดชอบต่อสังคมในโครงการ Journey D ของบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ต่อชุมชนผาหมี จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility - CSR) ของบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด 2) ศึกษาผลกระทบจากความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ของชุมชนผาหมี จังหวัดเชียงราย และ 3) ศึกษาผลกระทบภายนอกด้านสังคมเชิงบวกจากความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ที่มีต่อชุมชนผาหมี จังหวัดเชียงราย โดยงานวิจัยในครั้งนี้ ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมายที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับโครงการ Journey D จำนวน 7 คน และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารและเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลจะถูกนำมาวิเคราะห์ตามประเด็นที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดในการวิจัย
ผลการศึกษาพบว่า 1) บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ได้มีการจัดทำโครงการในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อตอบแทน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคม ควบคู่ไปกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) ของสหประชาชาติ โดยมีการนำเป้าหมายมาเป็นหลักการสำคัญในการต่อยอดกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR-After Process) เช่น โครงการ Journey D 2) การเข้าร่วมโครงการ Journey D ของชุมชนผาหมี ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเปิดโฮมสเตย์ ขายกาแฟ และประดิษฐ์สินค้าทำมือ (Handmade) และ 3) การมีส่วนร่วมโครงการทำให้ชุมชนผาหมีได้รับผลกระทบภายนอกด้านสังคมเชิงบวก 5 ประการ ได้แก่ (1) การพัฒนาภาษาอังกฤษ (2) การรักษาอัตลักษณ์ของชนเผ่าอาข่า (3) การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างชุมชน (4) การสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรในชุมชน และ (5) การเสริมสร้างทักษะทางด้านกีฬา
Article Details
References
Bowen, H. R. (2013). Social Responsibilities of the Businessman. Iowa City: University of Iowa Press.
Carroll, A. B. (1979). A three-dimensional conceptual model of corporate performance. Academy of Management Review, 4(4), 497-505.
Frederick, W. C. (1960). The Growing Concern over Business Responsibility. California Management Review, 2(4), 54-61.
Friedman, M. (1970). A Friedman doctrine - The Social Responsibility of Business Is to Increase Its Profits. [Website]. Retrieved 2021, January 5 from https://www.nytimes.com/1970/09/13/archives/a-friedman-doctrine-the-social-responsibility-of-business-is-to.html
KOTLER, P. and LEE, N. (2005). Corporate Social Responsibility: doing the most good for your company and your cause. [Pdf]. Retrieved 2021, January 5 from http://www.rebelalliance.eu/uploads/9/2/9/2/9292963/kotler_corporate_social_responsibility.pdf
Perrini, F. (2006). Corporate Social Responsibility: doing the most good for your company and your cause. Academy of Management Perspectives. 20(2), 90-93.
โชติ ชูสุวรรณ. (2560). โรงไฟฟ้ากับการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ศึกษากรณี พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. สังคมจิตวิทยา. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
วรวุฒิ ไชยศร และบุญสม เกษะประดิษฐ์. (2560). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจกับการพัฒนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคม 6 บริษัท. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 140-152.
เอเชีย เอวิเอชั่น. (2561). รายงานความยั่งยืน ปี 2561. [Pdf]. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2563 จาก https://aav.listedcompany.com/misc/SDR/20190522-aav-sd-report-2018-th.pdf
เอเชีย เอวิเอชั่น. (2562). รายงานความยั่งยืน ปี 2562. [Pdf]. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2563 จาก https://hub.optiwise.io/th/documents/18113/20200324-aav-sd-report-2019-th.pdf
แอร์เอเชีย. (2017). แอร์เอเชียจับมือ UNDP เปิดตัว 4 โครงการเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม. [เว็บไซต์]. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564 จาก https://newsroom.airasia.com/news/2017/12/20/-undp-4-