การเมืองถังหมูและวัฏจักรเศรษฐกิจการเมือง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งในการเมืองประเทศกรีซและประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทความทางวิชาการชิ้นนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ นำเสนอ 1.) มุมมองในการวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีการเมืองถังหมู (Pork Barrell Politics) และทฤษฎีวัฏจักรเศรษฐกิจการเมือง (Political Business Cycle) และ 2.) วิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างประเทศกรีซและประเทศไทย โดยประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือพื้นฐานทางการเมืองที่สำคัญในการแสดงเจตนารมณ์ของประชาชน เพื่อ “เลือก” และ “ตั้ง” บุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง ประเทศกรีซเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกับไทย หากแต่ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง เมื่อการเลือกตั้งได้ส่งสัญญานเริ่มต้นขึ้น กลยุทธ์สำคัญที่เป็นรูปแบบพฤติกรรมของนักการเมืองและพรรคการเมือง ได้แก่ การเมืองถังหมู (Pork Barrell Politics) และวัฏจักรเศรษฐกิจการเมือง (Political Business Cycle) ได้ปรากฏขึ้นเช่นกันอันเป็นผลให้การจัดสรรเงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลกลางแก่ท้องถิ่นได้กลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้การเลือกตั้งมีความได้เปรียบแก่นักการเมืองและพรรคการเมืองที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว ทว่าในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาถึงสภาพการณ์ในห้วงภาวะที่ประเทศไม่ได้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่มีนักการเมืองเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่จึงขาดภาพในการอธิบายเหตุการณ์ดังกล่าวไป
Article Details
References
Dahl, R.A. (1971). POLYARCHY: Participation and Opposition. New Haven and London: Yale University Press.
Egreteau, R. (2017). WHAT IS PORK-BARREL POLITICS?. In The Emergence of Pork-Barrel Politics in Parliamentary Myanmar (pp. 3-5). Singapore: ISEAS Publishing. https://doi.org/10.1355/9789814786287-004
Freedom House. (2022). Greece. From https://freedomhouse.org/country/greece/freedom-world/2022
Levitsky, S., & Way, L.A. (2002). Elections Without Democracy: The Rise of Competitive Authoritarianism. Journal of Democracy 13(2): 51-65.
Psycharis, Y., Lliopoulou, S., Zoi, M., and Pantazis, P. (2019). “Beyond the socio-economic use of fiscal transfer: the role of political factors in Greek intergovernmental grant allocation”. Reg Sci Pract. 2021(13), p.982-1008.
Schedler, A. (2009). Electoral Authoritarianism. In The SAGE Handbook of Comparative Politics. London: SAGE Publications.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และดารุณี พุ่มแก้ว. (2560). “เงินอุดหนุนเฉพาะกิจและความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่นในประเทศไทย”. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, น.118-138.
นรา แป้นประหยัด. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาปีงบประมาณ 2552. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราพงษ์ วงศ์วัชรา และกฤษฏิ์ ศรีปราชญ์, (2562). วัฎจักรเศรษฐกิจการเมืองของไทยและนัยต่อความเสี่ยงเชิงมหภาค. Focused and quick. ฉ.161. ธนาคารแห่งประเทศไทย.
สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2564). รายงานการวิเคราะห์งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. ราชกิจานุเบกษา.
สิริพรรณ นกสวน. (2530) อ้างใน ไทยพับลิก้า. (2556). เจาะขบวนการทุจริตงบประมาณแบบบูรณาการ (3): “Pork Barrel” นักการเมือง “ผันงบประมาณ” ให้พวกพ้อง. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2013/01/corrupt-budgeting-pork-barrel-politics-3/