สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ลภัสรดา ตาติวงค์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • กรวีร์ ชัยอมรไพศาล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ชุติมันต์ สะสอง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบระหว่างสมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม และ 3) เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแทรกในความสัมพันธ์และผลกระทบระหว่างสมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 374 คน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณและการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ดำรงตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี หรือเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี หรือเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานมากกว่า 15 ปี ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ด้านการวางแผนและการควบคุมการเงิน ด้านการจัดทำและนำเสนอข้อมูลทางบัญชีเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ด้านความรู้และทักษะด้านบัญชี และด้านจริยธรรมในวิชาชีพมีความสัมพันธ์และผลกระทบกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านความสำเร็จในงานที่ทำ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และความรับผิดชอบมีความสัมพันธ์และผลกระทบกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความผูกพันต่อองค์การไม่เป็นตัวแทรกในความสัมพันธ์และผลกระทบระหว่างสมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม

References

กรกนก พรประดิษฐ์. (2562). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/533/1/gs601110114.pdf

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563ก). รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.-อปท.) ประจำปี พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567, จากhttps://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2021/1/2305_6181.pdf

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563ข). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567, จาก https://www.dla.go.th/work/abt/province.jsp

กฤตภาคิน มิ่งโสภา และ ณกมล จันทร์สม. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 209-222. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/254445

จิตรเลขา ทาสี, อัครเดช ตุลยพงษ์รักษ์, ปิยนาท ศุภรานนท์รัตน์, และ ไพรัช ภัทรศิริสิทธิ์. (2564). สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(42), 343-353. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/253275

ณัชชา ใจตรง. (2566). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานที่มีอายุต่างกัน กรณีศึกษา พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคใต้) (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/18133/1/6410521019.pdf

ณัชชา ธงชัย. (2563). ลักษณะและความผูกพันต่อองค์การที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ และคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/988/1/gs611130366.pdf

ณัฏฐ์รมณ ศรีสุข. (2560). สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในพื้นที่ จังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม. https://dspace.spu.ac.th/server/api/core/bitstreams/8614fe8c-2161-4015-8d9e-ec2d384d3d38/content

ณัฐฐาพรณ์ บาลี, ฉัตรพล มณีกูล, และ ปณิตา ราชแพทยาคม. (2564). สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 1-16. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/243941

ธวัชชัย เอ็บศรี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลนครนนทบุรี อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567, จาก http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/treatise_lopburi01_02082021/6124952496.pdf

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นฤมล แสนสมุทรใจ และ ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2565). ทักษะการปฏิบัติงานบัญชีสมัยใหม่ต่อความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีสังกัดอาชีวศึกษาเอกชน. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(8), 115-126. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/254884

บงกช ตั้งจิระศิลป์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ ความจงรักภักดีต่อองค์การและผลการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 3(2), 55-70. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba/article/view/257517

บัวรัตน์ ศรีนิล. (2660). การออกแบบวิจัยธุรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูล การออกแบบสอบถาม และการเลือกตัวอย่าง. เชียงใหม่: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปราณี คำมา, ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ, และ วราพร เปรมพาณิชย์กูล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการเงินและบัญชีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 53-62. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/210460

ปวีณา สมบูรณ์, นาถนภา นิลนิยม, และ นงลักษณ์ แสงมหาชัย. (2564). ผลกระทบของประสิทธิภาพระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อสัมฤทธิ์การดำเนินงานด้านบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 140-152. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/241125

ปัญญาภา อัคนิบุตร. (2565). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน บริษัทรัฐวิสาหกิจให้บริการด้านท่าอากาศยาน Generation Y (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4341/1/TP%20HOM.007%202565.pdf

พิธาน แสนภักดี และ นฤมล อ่อนวิมล. (2566). สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(3), 134-147. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/274244

พิมพ์ ฉัตรเงิน. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพและแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบัญชีการประปาภูมิภาคเขต 2 (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. https://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3847

มัทนชัย สุทธิพันธุ์, เสาวคนธ์ กลิ่นนาวี, ศิริกาญจน์ ชวลิตสิทธิกุล, สุภาทิพย์ บุญภิรมย์, และ สุดารัตน์ มะดีเย๊าะ. (2560). ผลกระทบของสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศไทยของอาจารย์บัญชีในมหาวิทยาลัยในภาคใต้ ต่อประสิทธิภาพการทำงาน. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 15(1), 73-89. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/87490

วารุณี ฤทธิขจร และ กุสุมา ดำพิทักษ์. (2566). สมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีกรมการเงินทหารอากาศ. วารสารวิทยาการจัดการ, 5(1), 45-58. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/1753

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. (2566). โครงสร้างส่วนราชการ. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567, จาก https://chiangmailocal.go.th/article-subcat/209/

สุภารัตน์ กุลโชติ. (2566). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/18115/1/6410521543.pdf

อโนทัย ตรีวานิช. (2557). สถิติธุรกิจ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2001). Marketing research (7th ed.). New Jersey: John Wiley and Sons.

Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision making (4th ed.). New York: John Wiley and Sons.

George, D., & Mallery, P. (2003). SPSS for Windows Step by Step: A Simple Guide and Reference. 11.0 Update (4th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Herzberg, F. (1959). The motivation to work (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York: McGraw-. Hill.

Sheldon, M. E. (1971). Investments and Involvement as Mechanisms Producing Commitment to the Organization. Administrative Science Quarterly, 16(2), 143-150. https://doi.org/10.2307/2391824

Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(3), 46-49. https://doi.org/10.2307/2391745

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

ตาติวงค์ ล., ชัยอมรไพศาล ก., & สะสอง ช. (2024). สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 11(2), 38–57. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/jlams/article/view/977