การจัดการความรู้มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อวางแผนกิจกรรมท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์กรณีศึกษาชุมชนโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การจัดการความรู้, มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น, ชุมชนโนนทันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นทางการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและจัดการความรู้มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชุมชนบ้านโนนทัน อำเภอเมือง
จังหวัดหนองบัวลำภู เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน วิธีเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ชุมชนแบบ
มีส่วนร่วม โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการเลือกแบบเจาะจงจากคนในชุมชน จำนวน 25 คน และ
การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงการท่องเที่ยวด้วยวิธีเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างประชาชน
ในชุมชนจากการสุ่มโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ความถี่
ร้อยละ และเทียบเคียงกับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงการท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่ชุมชนโนนมีภูมิปัญญาอยู่ 7 อย่างได้แก่ ปลาร้าบอง ลูกประคบ สวนเกษตรอินทรีย์พลังงานแสงอาทิตย์ วงดนตรีลูกทุ่งกลองยาว ทอผ้า ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และจักสานซึ่งภูมิปัญญาภายในชุมชนนำมาจัดกลุ่มได้
6 ประเภท อันได้แก่ ด้านโภชนาการ คือ ปลาร้าบอง ด้านหัตถกรรม คือ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้า และจักสาน ด้านศิลปกรรม คือ วงลูกทุ่งกลองยาว ด้านเกษตรกรรม คือ สวนเกษตรอินทรีย์พลังงานแสงอาทิตย์ ด้านการแพทย์แผนไทย คือ ลูกประคบและด้านองค์กรชุมชน คือ กลุ่มสัมมาชีพ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ คือ วางแผนกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายในชุมชนโนนทัน และจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวภายในชุมชนรวมถึงแหล่งท่องเที่ยวโดยรอบชุมชนและนำไปให้กับแหล่งท่องเที่ยวโดยรอบชุมชนเพราะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนโนนทันและภายในชุมชนยังไม่ได้มีการจัดการเรื่องนี้
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). เศรษฐกิจโลกชะลอส่อฉุดท่องเที่ยวปี 63 โตต่ำ.(ออนไลน์). สืบค้น 15 มกราคม 2563.
จาก https://www.bangkokbiznews.com/ news/detail/859269.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). ททท.จัดกิจกรรม “My Local Idol เที่ยวอย่างมีสไตล์เพิ่มรายได้ให้ชุมชน”ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเมืองหลักและเมืองรอง.(ออนไลน์). สืบค้น 15 มกราคม 2563. จาก https://travel.mthai.com/news/225719.html.
กรมการท่องเที่ยว. 2559. คู่มือการบริหารการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์.(ออนไลน์). หน้า1-18. สืบค้น 15 มกราคม 2563. จาก https://www.dot.go.th/news/internal-audit-plan/detail/3052/8
กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 – 2564. (พิมพ์ครั้งที่1). วีไอพี ก็อปปี้ปริ้น. จาก
https://www.dot.go.th/storage/9/5V7jtvCF7hvNiPXPU7MOdT7giHiF1ZbRokN8nBVx.pdf
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2558). การจัดการความรู้.(ออนไลน์) สืบค้น 15 มกราคม2563.จาก http://www.dmsc.moph.go.th/audit/userfiles/files/knowledgeManagement.pdf
นุชประวี ลิขิตสรัน. 2562. ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, หน้า 4.
องค์การบริหารส่วนตำบลสบเปิง. (2562). ฐานข้อมูล ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสบเปิง. สืบค้น 15 มกราคม 2563. จาก http://sobperng.go.th.
