แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตลาดน้ำทุ่งบัวแดง ณ บางเลน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, ตลาดน้ำทุ่งบัวแดงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของตลาดน้ำทุ่งบัวแดง เพื่อศึกษาความคิดเห็นของและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของตลาดน้ำทุ่งบัวแดง และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของตลาดน้ำทุ่งบัวแดง การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการแบบผสานวิธี โดยรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาตลาดน้ำทุ่งบัวแดง จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ ชุมชน วิชาการ และนักท่องเที่ยวผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จำนวน 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านแหล่งท่องเที่ยว และด้านการจัดการการท่องเที่ยว ส่วนด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากคนในชุมชนมีการศึกษาน้อยและขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรจัดอบรมและให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การสร้างภาคีเครือข่ายทางการท่องเที่ยวระหว่างภาครัฐ เจ้าของแหล่งท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และคนในท้องถิ่น รวมถึงการกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับพื้นที่ทางกายภาพสามารถรองรับได้จริง เพื่อรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการจำนวนนักท่องเที่ยว เพื่อได้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เหมาะสม และการท่องเที่ยวเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนิตา แหลมคม และกุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการเรียกรถแท็กซี่ ผ่านแอพลิเคชั่น Grab ของผู้โดยสารในเขตภาคกลาง. วารสารการบริหารและการจัดการ. 8(2). 151-174.
ชัยณรงค์ ศรีรักษ์. (2563). การวิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยกระบวนการ
มีส่วนร่วมชุมชนวัฒนธรรมไทย-ยวน ลาวครั่ง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสาร
ศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ. 7(1). 70-81.
ชัยฤทธิ์ ทางรอด. (2561). การจัดการการทองเที่ยวเชิงเกษตร ลองเรือชมสวน เลียบคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(2). 115-130.
ไชยฤทธิ์ อนุชิตวรวงศ์. (2561). การศึกษาแนวทางการปรับปรุงการดำเนินนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร: กรุงเทพฯ.
ณัฐกานต์ รองทอง และวงศ์วิภา โถสุวรรณจินดา. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพรูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนบ้านสาขลา อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14(1). 109-129.
ธัญญรัตน์ ไชยคราม (2561). การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อสร้างแผนที่ออนไลน์ ผ่านเทคโนโลยี Google Maps GIS Online ในกลุ่มการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 28(4). 575-586.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และเพ็ญศิริ ศรีคำภา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ปรเมษฐ์ บุญนำศิริกิจ และสุดสันต์ สุทธิพิศาล. (2562). วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
พันธ์เทวัช ยังดี ศิริวรรณ กวงเพ้ง และสมมาตร ผลเกิด. (2558). การศึกษาผลกระทบการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจชุมชนรอบปราสาทหินเขาพนมรุ้งและปราสาทหินเมืองตํ่า จังหวัดบุรีรัมย์. รมยสาร. 13(3). 123-125.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2563. จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
รัศมี อ่อนปรีดา. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดราชบุรีและสมุทรสงคราม. วารสาร วิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 6(1). 135-145.
ลดาวัลย์. (2560). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน: การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2563. จาก https://tma.or.th/2016/uploads/file/Prosperous-Ladawan-NESDB.pdf.pdf
วนิชญา ลางคุลเกษตริน และนาถนเรศ อาคาสุวรรณ. (2561). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการระดับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 1(1). 521-530.
ศิวธิดา ภูมิวรมุนี เสรี วงษ์มณฑา และชุษณะ เตชะคณา. (2562). แนวทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 13(1). มกราคม-เมษายน. 184-201.
ศิรินันท์ พงษ์นิรันดร โอชัญญา บัวธรรม และชัชญา ยอดสุวรรณ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9(1). 234-259.
สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์ รักธิดา ศิริ และพัฒนพงศ์ จันทร์สว่าง. (2558). การศึกษาและพัฒนาทักษะชุมชนในการสร้างเส้นทางและโปรแกรมท่องเที่ยว ตามแนวคิด Green Tourism อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมาตรี.
อมรรัตน์ ฟริญญาณี. (2558). การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบไม่เร่งรีบในชุมชนบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
อัครเดช ปิ่นสุข. (2558). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประสมการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ (E-satisfaction) ในการจองตั๋วภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านระบบแอพลิเคชั่นของผู้ใช้บริการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
Bonwell, C.C. and Eison, J.A. (1991). Active Learning Creating Excitement in the Classroom. ASHEERIC Education Report No.1. The George Washington University, Washington DC.
Creswell, J. W. (2015). A Concise Introduction to Mixed Methods Research. Thousand Oaks, CA: Sage.
Yamané, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis 3rdedition. New York. Harper and Row Publications
