การศึกษาทุนมนุษย์และทุนสังคมที่ส่งผลต่อความยั่งยืนจากการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของวิสาหกิจชุมชนประเภทการผลิตพืชในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ปวรวรรณ ดวงสนิท คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ดรุชา รัตนดำรงอักษร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • กมลทิพย์ คำใจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ทุนมนุษย์, ทุนสังคม, ความยั่งยืน , วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการให้ความสำคัญทั้งทุนมนุษย์ ทุนสังคม และความยั่งยืนจากการเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนประเภทการผลิตพืชในจังหวัดเชียงใหม่ และ 2) ทดสอบอิทธิพลของทุนมนุษย์และทุนสังคมที่ส่งผลต่อความยั่งยืนจากการเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนประเภทการผลิตพืชในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภทการผลิตพืชในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 231 คน แล้วจึงวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญทุนมนุษย์มากที่สุดคือ ทุนแรงงาน ขณะที่ทุนสังคมได้ให้ความสำคัญที่สุดคือ ทุนบรรทัดฐานทางสังคม และยังให้ความสำคัญของความยั่งยืนจากเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนประเภทการผลิตพืชมากที่สุดนั่นคือ เศรษฐกิจ ในส่วนการทดสอบอิทธิพลพบว่า ทุนมนุษย์ที่ส่งผลต่อความยั่งยืนจากการเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนประเภทการผลิตพืชในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ทุนทางปัญญา ทุนความคิดสร้างสรรค์ ทุนการเป็นผู้ประกอบการ และทุนแรงงาน ในส่วนทุนสังคมที่ส่งผลต่อความยั่งยืนจากการเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนประเภทการผลิตพืชในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ทุนการมีส่วนร่วมในชุมชน ทุนบรรทัดฐานทางสังคม และทุนเครือข่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2566). รายงานสรุปประเภทกิจการวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567, จาก https://smce.doae.go.th/smce1/report/select_report_smce.php

กิตติกร ฮวดศรี, กิตติกวินต์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์, รังสิมา สว่างทัพ, รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ และ ชนินาถ ทิพย์อักษร. (2561). ปัจจัยด้านทุนมนุษย์ที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ, 1(2), 11-19. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journalfms-thaijo/article/view/240861

จรีภรณ์ มีศรี. (2563). รายงานการวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาลี-วรรณ ชุมชนพัฒนา ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. https://hectortarr.arda.or.th/api/uploaded_file/Smf7SYtpUONPRtakVckIo

จินดา ธำรงอาจริยกุล. (2564). บทบาทเครือข่ายทางสังคมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอายุวัฒนะ ตำบล เกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 13(1), 100-118. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/248539

จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 12(1), 195-203. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/article/view/240386

ชนนิกานต์ อินทรเผือก, ประเพศ ไกรจันทร์, และ ทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2564). รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการครุศาสตร์

อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 12(2), 46-56. https://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/jote/article/view/5449

ชมพูนุท ศรีพงษ์, นัทที ขจรกิตติยา, ปิยะดา มณีนิล, และ สัสดี กำแพงดี. (2564). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปในสามจังหวัดชายแดงภาคใต้. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. https://wb.yru.ac.th/xmlui/handle/yru/6799

ชมภูนุช หุ่นนาค, ปภาวดี มนตรีวัต, และ วิพร เกตุแก้ว. (2563). แนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชน: ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 13(2), 21-53. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ombudsman/article/view/244504

ณัชชา ณัฐโชติภคิน, อนุวัติ กระสังข์, และ เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง. (2562). กระบวนการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(1), 31-40. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/229196

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 18). สถาบันวิจัยและพัฒนาธุรกิจ.

ธัญนันท์ บุญอยู่. (2562). อิทธิพลของความไว้วางใจและการแบ่งปันความรู้ในฐานะปัจจัยคั่นกลางแบบอนุกรมที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาสู่ผลการปฏิบัติงานของพนักงานวิสาหกิจขนาดย่อมของอุตสาหกรรมผลิตเซรามิก ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมมณฑล. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1), 175-186. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jar/article/view/240896

นงนุช ศรีสุข. (2563). ทุนทางสังคมที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวบ้านจิก อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสารสหวิทยาการ, 17(2), 79-101. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/246370

นภาภรณ์ หะวานนท์, เพ็ญสิริ จีระเดชากุล, สุรวุฒิ ปัดไธสง, อุษณีย์ ธโนศวรรย์, โสมพรรณ ถิ่นว่อง, ศศิธร ศิริประเสริฐกุล, พิสมัย รัตนโรจน์สกุล, พนารัช ปรีดากรณ์, พรใจ ลี่ทองอิน, อภิชัย ศรีโสภิต, อัจฉรา วงศ์มงคล, ทศวร มณีศรีขำ, วันชัย ธรรมสัจการ, จิรศักดิ์ สุขวัฒนา, และ ฉัตรวรัญ องคสิงห์. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567, จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:77450

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2551). มิติใหม่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: กราฟิโก ซิสเต็มส์.

บัวรัตน์ ศรีนิล. (2660). การออกแบบวิจัยธุรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูล การออกแบบสอบถาม และการเลือกตัวอย่าง. เชียงใหม่: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฟาตอนะห์ หะยีลาเตะ และ ยุทธชัย ฮารีบีน. (2566). ความสามารถเชิงนวัตกรรมที่มีผลต่อการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดภูเก็ต. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 140 (น. 1074-1091), สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วรรณวิไล ยกย่อง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์กรกับการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/534

วทัญญู ใจบริสุทธิ์ และ จิตสุภา กิติผดุง. (2564). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาสินค้าเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนเกลือสมุนไพรลาดใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 9(7), 2940-2962. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/247250

วนัสรา จันทร์กมล. (2563). เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานวิสาหกิจเพื่อสังคมของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3120/1/61260303.pdf

สุมาลี ปิตยานนท์. (2539). เศรษฐศาสตร์แรงงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2566). ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน (SMCE). สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567, จาก https://smce.doae.go.th/smce1/assess55/assess_report_c1.php?assess_id=364555&smce_id=595011610001

อภิลักษณ์ ธรรมวิมุตติ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). ทุนมนุษย์เชิงนวัตกรรมและสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 1572-1589. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/89314

อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2549). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Apibunyopas, P., & Songmuang, D. (2017). ABC furniture company limited: A Thai SME case study. Retrieved 12 January 2024. From https://www.coursehero.com/file/24992713/ABC-Furniture-Co-Case-Studydoc/

Baron & May. (1960). Psychology the essential science. Boston: RenslaerPolyte.

Bhutta, M. K. S., Rana, A. I., & Asad, U. (2008). Owner characteristics and health of SMEs in Pakistan. Journal of Small Business and Enterprise Development, 15(1), pp. 60-77. https://doi.org/10.1108/14626000810850883

Bourdieu, P., & Wacquant, L. (1992). An Invitation to Reflexive sociology. University of Chicago Press.

Cobb, S. (1976). Social Support as Moderator of life stress. Psychosomatic Medicine, 38(5), pp. 300-314. https://doi.org/10.1097/00006842-197609000-00003

George, D., & Mallery, P. (2003). SPSS for Windows Step by Step: A Simple Guide and Reference. 11.0 Update. (4th ed). Allyn & Bacon.

McClelland, D., C. (1961). The Achieving Society. D. Van Nostrand Company Ine.

Putnam, R., D. (1993). The prosperous community: Social capital and economic growth. Current, 356, 4-9. https://www.semanticscholar.org/paper/The-Prosperous-Community%3A-Social-Capital-and-Public-Putnam/7ca2ff64d7db151775ed4ff002754157189ddca0

Schilling, M.A. (2008). Strategic Management of Technological Innovation. (2nd ed). McGraw-Hill Education.

Stewart, T. (1991). Brainpower. Intellectual capital. Fortune Magazine, 03.06., 123(11).

Zikmund, W. G., Carr, J. C., & Griffin, M. (2013). Business research methods (Book only). (9th ed). Cengage earning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

ดวงสนิท ป., รัตนดำรงอักษร ด., & คำใจ ก. (2024). การศึกษาทุนมนุษย์และทุนสังคมที่ส่งผลต่อความยั่งยืนจากการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของวิสาหกิจชุมชนประเภทการผลิตพืชในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 11(2), 19–37. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/jlams/article/view/906