แนวทางการส่งเสริมการปลูกข้าวหอมไชยาพันธุ์พื้นเมืองในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • วริศรา สมเกียรติกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • กมล เรืองเดช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ข้าวหอมไชยาพันธุ์พื้นเมือง, การส่งเสริมการปลูก, อำเภอไชยา, จังหวัดสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพโดยทั่วไปและบริบทการปลูกข้าวหอมไชยาพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกข้าวหอมไชยาพันธุ์พื้นเมือง และ (3) เสนอแนวทางการส่งเสริมการปลูกข้าวหอมไชยาพันธุ์พื้นเมือง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ผู้ปกครองท้องที่ และนักวิชาการที่มีประสบการณ์ด้านข้าวใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 15 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมไชยา จำนวน 13 ราย และเกษตรกรที่ผู้ปลูกข้าวทั่วไป จำนวน 222 ราย โดยใช้แบบสอบถามและการสังเกต ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกข้าวหอมไชยา ในพื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 13 รายๆ ละ 1 งาน ถึง 2 ไร่ สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปลูกข้าวหอมไชยาฯ ได้แก่ องค์ความรู้ ต้นทุนการผลิต ปัจจัยการผลิต ความต้องการของตลาด การส่งเสริมจากภาครัฐ สภาพพื้นที่ ค่านิยมของเกษตรกร กระบวนการผลิต และราคาผลผลิต สำหรับแนวทางการส่งเสริมการปลูกข้าวหอมไชยาฯ ได้แก่ การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวหอมไชยาฯ การสนับสนุนองค์ความรู้และปัจจัยการผลิตที่จำเป็น การส่งเสริมการจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน การส่งเสริมการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายการสร้างทายาทเกษตรกร การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมให้เป็นสินค้าจีไอ

References

กรมการข้าว. (2557). การรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของกรมการข้าว. วารสารวัฒนธรรม, 53(4)

กรรณิการ์ นาคอยู่ และกานต์ธิดา บุญมา. (2553). ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม อำเภอไชย

จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

กฤษฎา แก้วแก่นคูณ และคณะ. (2560). การอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นบ้านโดยชุมชน: บทเรียนการ

อนุรักษ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. แก่นเกษตร 45 ฉบับพิเศษ 1.

ใจทิพย์ ด่านปรีดานันท์. (2557). ตามหาข้าวหอมไชยา. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 8

จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

ชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ. (2555). เตรียมดันข่าวหอมไชยาให้เป็นข้าวจีไอ ที่มีคุณสมบัติทางโภชนาการที่โดดเด่น.

ข่าวภาคใต้. ข่าวภาคใต้. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561, จาก http://mgronline.com

เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2562). ข้าวหอมไชยาพันธุ์ข้าวพื้นเมือง. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2562, จาก

https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_118286

พบชาย สวัสดี, อัมพร พวงผวา และวีระยุทธ์ สุทธิรักษ์. (2556). การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ผลิตภัณฑ์

กรมพัฒนาที่ดินเพื่อปลูกข้าวหอมไชยา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2562, จาก

https://bpbiz.xyz › tarr › Researcher › info

วาสนา ภานุรักษ์. (2555). ความร่วมมือส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัย เพื่อความมั่นคงทางอาหารและเพิ่ม

รายได้ของครอบครัวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนครราชสีมา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ

สิงหาคม 2561, จาก https://elibrary.trf.or.th.

วีระศักดิ์ คงฤทธิ์ และสุวัจนี เพชรรัตน์. (2559). ต้นทุนการผลิตและวิถีการตลาดข้าวของภาคใต้. วารสาร

หาดใหญ่วิชาการ, 14(2): 185-200.

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุราษฎร์ธานี. (2562). ข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมไชยา. [ออนไลน์].

สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.stn-rsc.ricethailand.go.th

สาวิตร มีจุ้ย. (2556). การเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเพื่อการ

อนุรักษ์และใช้ประโยชน์. [ออนไลน์]. สืบค้น 27 สิงหาคม 2561, จาก https://elibrary.trf.or.th

สุรศักดิ์ พันธ์นพ. (2553). บูรณาการร่วมฟื้นฟูข้าวหอมไชยาพัฒนาสายพันธุ์แท้. สำนักงานเศรษฐกิจ

การเกษตร.ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561, จาก https://www.ryt9.com

สำนักงานเกษตรอำเภอไชยา (2561). ข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์ทั่วไป. [ออนไลน์].

สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2561, จาก https://chaiya.suratthani.doae.go.th

อรวรรณ ศรีโสมพันธ์. (2556). โครงสร้างการผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ

สิงหาคม 2561, จาก https://elibrary.trf.or.th

Yamane, Taro. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29

How to Cite

สมเกียรติกุล ว., & เรืองเดช ก. (2020). แนวทางการส่งเสริมการปลูกข้าวหอมไชยาพันธุ์พื้นเมืองในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(2), 37–53. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/jlams/article/view/89