ผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการทรงตัวและการกระโดดในนักกีฬาเซปักตะกร้อระดับเยาวชน
คำสำคัญ:
การทรงตัว, การกระโดด, เซปักตะกร้อระดับเยาวชนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกการทรงตัวและการกระโดดในนักกีฬาเซปักตะกร้อ ก่อนการฝึกและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ของนักกีฬาเซปักตะกร้อระดับเยาวชนรวม 26 คน ระดับประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 15 คน และระดับประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 11 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการฝึก 6 ท่า จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ Pair t-test ผลการวิจัยพบว่า ด้านความสามารถในการทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบในท่ายืนขาขวาและขาซ้ายของนักกีฬาเพศชายและเพศหญิงทั้งในระดับประถมศึกษาตอนต้นและประถมศึกษาตอนปลายดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการกระโดด ในท่ากระโดดแขนขวาและแขนซ้ายของนักกีฬาเพศชายและเพศหญิงทั้งในระดับประถมศึกษาตอนต้นและประถมศึกษาตอนปลายหลังการทดลองพบว่า นักกีฬามีความสามารถในการกระโดดดีกว่าก่อนการทดลอง แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่าจากโปรแกรมดังกล่าวที่ให้นักกีฬาเซปักตะกร้อระดับเยาวชนฝึกเพื่อดูความสามารถในการทรงตัวและการกระโดดมีแนวโน้มดีขึ้น ดังนั้นจึงควรเพิ่มความเข้มข้นหรือความหนักของโปรแกรมการฝึก โดยการเพิ่มจำนวนเซตและจำนวนครั้งในการฝึกซ้อมให้แก่นักกีฬาเพื่อพัฒนาศักยภาพต่อไป
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2550). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (2550-2554). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.
ชยกร พาลสิงห์. (2555). ผลของการฝึกการทรงตัวด้วยเทคนิคสตาร์เอ็คเคอชั่นกับการฝึกความมั่นคงของลำตัวร่วมกับการฝึกโปรแกรมที่มีต่อความแม่นยำในการเสิร์ฟความเร็วในการเสิร์ฟและการทรงตัวในนักกีฬาเซปักตะกร้อหญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
วรรณภรณ์ อังกาบ. (2554). ผลของการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวพื้นฐานแบบกลุ่ม ที่มีผลต่อทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ณิชารีย์ มะลิรัตน์. (2559). ผลของการฝึกการออกกำลังกายเพื่อการทรงตัวที่มีต่อความสามารถในการกระโดดและการทรงตัวในนักกีฬาวอลเลย์บอลเยาวชนหญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
อรัญญา บุทธิจักร์. (2552). ผลของการออกกำลังกายด้วยฟิตบอลที่มีต่อความอ่อนตัวการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของเด็กออทิศติก. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
อุทัย สงวนพงศ์. (2544). สนุกกับฟุตบอล1. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
Dvorak M., Junge A., & Bizzini J. (2008). Implementation of the FIFA 11+ football warm up program: How to approach and convince the Football associations to invest in prevention. British Journal of Sports Medicine, 47(12), 803-806
