การวิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชนวัฒนธรรมไท-ยวน ลาวครั่ง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม, การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, อัตลักษณ์ชุมชนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชน และ พัฒนารูปแบบและกิจกรรมท่องเที่ยวของชุมชนภายใต้อัตลักษณ์วัฒนธรรมไท-ยวน ลาวครั่ง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ศึกษาโดยวิธีเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ข้อมูลเชิงปริมาณเก็บรวบรวมด้วยแบบประเมินศักยภาพทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 60 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน และชาวบ้านชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนห้วยม่วงเป็นชุมชนที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูงมีกิจกรรมหลัก คือ การเลี้ยงกุ้ง มีประวัติศาสตร์ก่อตั้งชุมชน เมื่อ 300 ปี ปัจจุบันมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมส่งผลให้ปรากฏเป็นอัตลักษณ์ชุมชน ได้แก่ ที่อยู่อาศัย ภาษา อาหาร และ การแต่งกายจนกลายเป็นสิ่งบ่งชี้ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสำคัญของชุมชนอยู่ในระดับมาก เหมาะที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ด้วยรูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวภายใต้อัตลักษณ์ชุมชน ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้การเพาะเลี้ยงกุ้ง ชมผ้าโบราณ การทอผ้าไท-ยวน ชมบ้านไม้ร้อยปีตามแบบอัตลักษณ์ลาวครั่งและกิจกรรมพาแลง ชมการแสดงชุด “สมมาขันหมากเบ็ง” ตามวิถีชุมชนลาวครั่ง ณ ลานวัฒนธรรม ทั้งนี้กระบวนการวิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ส่งผลให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่เข้มแข็งผ่านการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย และส่งเสริมให้ระบบความสัมพันธ์ของสมาชิกชุมชนมีจิตสำนึกร่วมมากขึ้น
References
เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์, และจิราพร ขุนศรี. (2549). อัตลักษณ์และภาพลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: เชียงราย.
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์. (2543) แนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ -การเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
ชวิตรา ตันติมาลา. (2560) การสร้างอัตลักษณ์ของตลาดนัดภายในมหาวิทยาลัยของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เทิดชาย บำรุงสุข. (2552) บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559). สืบค้นจาก http://www.rmutto.ac.th/index.php?menu=shownews&idnews=TP719
ศดานันท์ แคนยุกต์. (2552) การสื่อสารกับการสืบทอดและปรับตัวของสื่อพื้นบ้านตีโพน: ศึกษากรณีชุมชนบ้านไสหมาก ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. (วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561) บทวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com/TH/analysis/k-econ/business/Pages/index.
สัจจา ไกรศรรัตน์. (2555) แนวทางการใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดราชบุรี เป็นฐานในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง: ราชบุรี.
เสกสรร สรรสรพิสุทธิ์. (2546) อัตลักษณ์ของไทลื้อและการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดภายใต้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม: กรณีศึกษาบ้านแม่สาบ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่.
สำนักงานเกษตร จังหวัดนครปฐม. (2561) ภาพข่าวกิจกรรม/ประชาสัมพันธ์. สืบค้นจาก http://www.nakhonpathom.doae.go.th/home.html
อินทิรา พงษ์นาค. (2558) อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทองเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
Koster. (1996) Science Culture and Cultural Tourism. In Mike Robinson, Nigel Evans and Paul Callaghan, eds. Tourism and Cultural Change: Tourism and Culture towards the 21st Century, pp. 227–238. Sunderland: The Center for Travel and Tourism and Business Education.
Tourism Authority of Thailand. (2561) Development and tryout of a tourist's manual on the cultural heritage. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports, Thailand.
