ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์การทำงานร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง ความสามารถในการทำกิจกรรม และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังในคนทำอาชีพทอผ้าย้อมคราม

ผู้แต่ง

  • เบญญาภา ศรีปัญญา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บรรณสิทธิ สิทธิบรรณกุล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความรู้ด้านการยศาสตร์, การออกกำลังกายด้วยยางยืด, อาการปวดหลังส่วนล่าง, คนทำอาชีพทอผ้าย้อมคราม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์ร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง ความสามารถในการทำกิจกรรม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและความอ่อนตัวในอาสาสมัครกลุ่มอาชีพทอผ้าย้อมครามด้วยมือ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร จำนวน 60 คน ระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน ใช้เวลาศึกษา 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับความรู้เรื่องการยศาสตร์ในการทำงานร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืด เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการปวดหลัง ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม แบบบันทึกผลความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและความอ่อนตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเปรียบเทียบ t-test, Paired t-test, Mann-Whitney U test และ Wilcoxon Signed-Rank test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%CI ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของอาการปวดหลังและความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมน้อยกว่ากลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และความอ่อนตัวมากกว่ากลุ่มควบคุม รวมถึงกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของอาการปวดหลังและความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมน้อยกว่าก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และความอ่อนตัวมากกว่าก่อนการทดลอง โดยสรุปได้ว่าการใช้โปรแกรมฯร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดมีผลทำให้ลดอาการปวดหลัง เพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรม เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและเพิ่มความอ่อนตัวได้

References

จตุรงค์ ทองดารา, ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข และสุกัญญา เจริญวัฒนะ. (2558). ผลของการบริหารร่างกายโดย

ใช้ยางยืดเพื่อพัฒนาความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม.วารสารบทคัดย่อกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(6), 101-113.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2549). ยางยืดพิชิตโรค. กรุงเทพฯ: แกรนสปอร์ต.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). ยางยืดพิชิตชีวิต. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

ฉัตรทิพย์ เพ็ชรชลาลัย และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืด

ต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุไทย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 52-61.

ทิพรัตน์ ล้อมแพน และหทัยรัตน์ ราชนาวี. (2562). ความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อภายหลังการออก

กำลังกายด้วยยางยืดในผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(2), 148-167.

ทิวาพร โชติจําลอง และรชานนท งวนใจรัก. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก

การยศาสตร์ในการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาล. วารสารวิชาการ สคร., 25(3), 5-14.

นภมณ ยารวง และโสภาพรรณ อินต๊ะเผือก. (2559). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการยืด

เหยียดกล้ามเนื้อต่ออาการปวดหลังส่วนล่างในเกษตรกรชาวนา. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(3), 73-81.

น้ำเงิน จันทรมณี, สสิธร เทพตระการพร และผกามาศ พิริยะประสาธน์. (2557). ปัญหาการปวดเมื่อย

กล้ามเนื้อจากการทำงานของกลุ่มอาชีพการทอผ้าด้วยมือในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 7(24), 29-40.

เบญญาภา ศรีปัญญา, บรรณสิทธิ สิทธิบรรณกุล และเพชรรัตน์ แก้วดวงดี. (2562). ปัจจัยเสี่ยงที่มี

ความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงานในกลุ่มอาชีพทอผ้าย้อมครามในตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 11, 24-26 กรกฎาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

ปิยาภรณ์ เพ็ญประไพ, วีระพร ศุทธากรณ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล (2560). ผลของการจัดกระทำด้าน

การยศาสตร์ต่อความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและอาการปวดหลังของคนทำงานแกะสลักไม้. พยาบาลสาร, 44(3), 77-89.

พัชรินทร์ ใจจุ้ม และทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร. (2561). ประสิทธิผลของการจัดโปรแกรมการยืดเหยียด

กล้ามเนื้อร่วมกับการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์เพื่อลดอาการปวดเมื่อยหลังและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังของคนงานทอผ้าด้วยมือ ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(3), 29-39.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). คู่มือแบบทดสอบ

และเกณฑ์มาตรฐานสรรถภาพทางกาย สำหรับประชาชนไทย อายุ 60-80. กรุงเทพฯ: สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

Chantaramanee, N., Taptagaporn, S., & Piriyaprasarth, P. (2015). The assessment of

occupational ergonomic risks of handloom weaving in northern Thailand. Thammasat International Journal of Science and Technology, 20(4), 29-37.

Cos, JM. (2011). Low back pain: Mechanism, diagnosis, treatment. 7th ed. Philadephia:

Lippincott Williams & Wilkins.

Da Silva, TMJC., da Silva, NN., de Souza Rocha, SH., de Oliveira, DM., Monte-Silva, KK.,

da Silva Tenório, A., & de Araújo, MdGR. (2014). Back school program for back pain: education or physical exercise?. ConScientiae Saúde, 13(4), 506-515.

Dreisinger, TE. (2014). Exercise in the management of chronic back pain. The Ochser

Journal, 14(1), 101-107.

Dupeyron, A., Ribinik, P., Gélis, A., Genty, M., Claus, D., Hérisson, C., & Coudeyreef, E.

(2011). Education in the management of low back pain. Literature review and recall of key recommendations for practice. Annals of Physical and Rehabilitation Medicine, 54(5), 319-335.

Durlov, S., Chakrabarty, S., Chatterjee, A., Das, T., Dev, S., Gangopadhyay, S., Haldar, P.,

Maity, SG., Sarkar, K., & Sahu, S. (2014). Prevalence of low back pain among handloom weavers in West Bengal, India. International Journal of Occupational and Environmental Health, 20(4), 333-339.

Grooten, WJA., Mulder, M., & Wiktorin, C. (2007). The effect of ergonomic intervention

on neck/shoulder and low back pain. Work journal, 28(4), 313-323.

Hossain, A., Kamrujjaman, M., & Malleque, A. (2018). Associated factors and Pattern of

Musculoskeletal Pain among Male Handloom Weavers Residing in Belkuchi, Shirajgonj: A Cross sectional Study. International Journal of Scientific & Engineering Research, 9(10), 1447-1451.

Jakobsen, MD., Sundstrup, E., Brandt, M., Kristensen, A. Z., Jay, K., Stelter, R., Lavendt, E.,

Aagaard, P., & Andersen, LL. (2014). Effect of workplace-versus home-based physical exercise on pain in healthcare workers: study protocol for a single blinded cluster randomized controlled trial. BMC Musculoskeletal Disorders, 15(1), 1-9.

Ma, VY., Chan, L., & Carruthers, KJ. (2014). Incidence, prevalence, costs, and impact on

disability of common conditions requiring rehabilitation in the United States: stroke, spinal cord injury, traumatic brain injury, multiple sclerosis, osteoarthritis, rheumatoid arthritis, limb loss, and back pain. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation, 95(5), 986-995.

Mohammadi Zeidi, I., Heydarnia, A., Niknami, S., Safari Variani, A., & Varmazyar, S. (2010).

The effects of an educational intervention on knowledge, attitude and ergonomic behaviors. JQUMS, 14(1), 33-40.

Naz, H., Kwatra, S., & Ojha, P. (2015). Prevalence of musculoskeletal disorders among

handloom weavers of Uttarakhand: an ergonomic study. Journal of Applied and Natural Science, 7(1), 102-105.

Rahman, M., Khan, M., Hossain, I., Bari, S., & Aktaruzzaman, M. (2017). Musculoskeletal

problems among handloom workers. Texila International Journal of Public Health, 5(3), 1-15.

Sanjaroensuttikul, N. (2007). The Oswestry low back pain disability questionnaire

(version 1.0) Thai version. JOURNAL-MEDICAL ASSOCIATION OF THAILAND, 90(7), 1417.

Shariat, A., Cleland, JA., Danaee, M., Kargarfard, M., Sangelaji, B., & Tamrin, SBM. (2018).

Effects of stretching exercise training and ergonomic modifications on musculoskeletal discomforts of office workers: a randomized controlled trial. Brazilian Journal of Physical Therapy, 22(2), 144-153.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

How to Cite

ศรีปัญญา เ., & สิทธิบรรณกุล บ. (2020). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์การทำงานร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง ความสามารถในการทำกิจกรรม และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังในคนทำอาชีพทอผ้าย้อมคราม . วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(1), 27–40. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/jlams/article/view/67