พฤติกรรมนักท่องเที่ยว และความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงศิลปะบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พงศ์กฤต นันทนากรณ์ การจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อธิป จันทร์สุริย์ การจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่ใช้ในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวท่องเที่ยวเชิงศิลปะ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงศิลปะบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงศิลปะ 4) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์กับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงศิลปะบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยว จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ t-test และ One-way ANOVA

ผลการศึกษาพบว่า 1) นักท่องเที่ยวมีลักษณะการเดินทางกับกลุ่มเพื่อน เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม/มีชื่อเสียง มีการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวจากอินเตอร์เน็ต มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อคนต่อวัน ต่ำกว่า 1,000 บาท 2) ด้านความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงศิลปะบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก และ 3 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 3) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมนักท่องเที่ยว พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 0.01 และ 0.001 4) ผลการเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์กับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว พบว่า แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 0.01 และ 0.001 ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศิลปะบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรีต่อไป

References

กนกเกล้า แกล้วกล้า วารัชต์ มัธยมบุรุษ ละเอียด ศิลาน้อย และสันติธร ภูริภักดี. (2560). ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนครชัยบุรินทร์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(1), 23-39.

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิติจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กันตภณ แก้วสง่า และนิศาชล จำนงศรี. (2558). การจัดการความรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุรนารี, 9 (2), 79-103.

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จังหวัดราชบุรี. (2561) แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี 2561-2564, 15 กันยายน 2562. http://www.ratchaburi.go.th/plan.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560) แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ.

จุฑาภรณ์ ฮาร์ล และศศิธร ง้วนพันธ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, 4 (3), 415-426.

ชนิดา พุ่มศร. (2561). การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(2), 1-14.

ชุมพล พืชพันธ์ไพศาล. (2558). การศึกษาเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สัมผัสภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์อาหาร วัฒนธรรมมุสลิม ชุมชนเมืองเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

นันตพร ศรีวิไล ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช และจาตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 92-106.

พีรวัส สุวรรณประภา ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล และวรนาถ แสงมณี. (2558). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 416-422.

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2551). เอกสารการสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มุทริกา พฤกษาพงษ์. (2554). เที่ยวอย่างเข้าใจไปกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, สืบค้น 15 กันยายน 2562. จาก https://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?.

ศลิษา ธีรานนท์ และ ประกาศิต โสภณจรัสกุล. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: ทางเลือก-ทางรอดของการท่องเที่ยวไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 8 (2), 206-215.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, และคณะ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2558). องค์ความรู้ว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : คู่มือและแนวทาง ปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนิษา กลิ่นขจร และทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทยเพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองร้อยเกาะ. วารสาร Veridian E-Journal, 11(3), 3228-3244.

Cronbach, L. Y. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika. 16, 297-334.

Richards, G. (2010). Creative Tourism and Local Development. In Wurzburger, R. (Ed.). Creative Tourism A Global Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe. New Mexico. USA.

Tourism Malaysia Media Release. (2010). The 1st Malaysia Art Tourism Festival. Retrieved July 18, 2020, from http://www.tourism.gov.my/corporate/mediacentre.asp?page =news_desk&subpage=archive&news_id=445.

Yamane, T. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28

How to Cite

นันทนากรณ์ พ., & จันทร์สุริย์ อ. (2021). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว และความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงศิลปะบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรี. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8(1), 102–112. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/jlams/article/view/215