แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาศักยภาพอุทยานเชิงประวัติศาสตร์ พระนครคีรี (เขาวัง) อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้แต่ง

  • เขวิกา สุขเอี่ยม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุดสันต์ สุทธิพิศาล การจัดการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

พระนครคีรี, ประวัติศาสตร์, ประสิทธิภาพ, การอนุรักษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจาการท่องเที่ยวภายในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) และพัฒนาศักยภาพ เพื่อนำไปสู่การส่งเสริม พัฒนา และการปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชน โดยระเบียบวิธีการดำเนินวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเริ่มจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่จริงและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการอนุรักษ์อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี คือ การจัดรูปแบบของงานให้มีความโดดเด่น ไม่ซ้ำซากจำเจ ซึ่งการจัดรูปแบบงานที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของพระราชวัง ไม่ใช่เป็นแค่เพียงงานวัดที่เห็นได้ทั่วไปจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ แต่ต้องส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมเดิมพร้อมกับการให้ชาวบ้านในชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจในการดำเนินงานก็เป็นเรื่องที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวทิ้งขยะให้ถูกต้องและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้วัสดุจากธรรมชาติเพื่อลดปัญหาขยะมูลฝอย และการพัฒนาศักยภาพของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ควรมุ่งเน้นให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงความสะอาดของโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอ

References

แขขวัญ สุนทรศารทูล. (2555). การพัฒนาศักยภาพในการเข้าถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น: กรณีศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาองค์ความรู้และรูปแบบพิธีกรรมของประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จังหวัดเพชรบูรณ์. ราชภัฎเพชรบูรณ์สาร, 2-9.

จรินทร์ ฟักประไพ. (2558). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนและกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบนฐานนิเวศวัฒนธรรมเชิงการท่องเที่ยว เขตพื้นที่บ้านหนองเขื่อนช้าง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 151-168.

ณิชกานต์ บัวอินทร์และคณะ. (2559). การพัฒนาศักยภาพชุมชนด้วยแผนแม่บทชุมชนบ้านชายวัด ตำบลเสวียด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 193 -212.

นิศา ชัชกุล. (2554). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พินิจ จริตงามและคณะ. (2553). การศึกษาการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตลาดบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 59-73.

เยาวลักษณ์ เหล่าฤทธิ์และคณะ. (2558). เที่ยววัด : แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 165-176.

รัชฎาพร เลิศโพคานนท์และ วิเชียร เลิศโพคานนท์. (2557). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบ้านเหมืองกุง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 22-38.

วณาลี ศักดิ์สุริยผดุง. (2554-2555). ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการอนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, 148-161.

ศิรินันท์ พงษ์นิรันดรและคณะ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ, 235-259.

หทัยรัตน์ บุณโยปัษฏัมภ์และ เบ็ญจรัศม์ มาประณีต. (2557). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยพวนของคณะกรรมการบริหารศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่งคลอง จังหวัดนครนายก. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 (หน้า 714-719). กรุงเทพมหานคร: สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย: https://tiewpakklang.com/7243

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรมร่วมกับสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ. (3 4 2561). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี. เข้าถึงได้จาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จังหวัเพชรบุรี: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/phranakhonkhiri/index.php/th/event.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28

How to Cite

สุขเอี่ยม เ., & สุทธิพิศาล ส. (2021). แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาศักยภาพอุทยานเชิงประวัติศาสตร์ พระนครคีรี (เขาวัง) อย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8(1), 83–93. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/jlams/article/view/211