แนวทางการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ กลุ่มอาชีพสตรีแก้วถัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ชุมชนและผู้ประกอบการ
  • รุ่งทิวา ชูทอง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ธีระศักดิ์ เปี่ยมสุภัคพงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • ชาญวิทย์ อิสลาม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

สื่อสังคมออนไลน์, การสื่อสารการตลาด, ผลิตภัณฑ์, กลุ่มอาชีพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภค และเพื่อกำหนดแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพสตรีแก้วถัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊กในการซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพสตรีแก้วถัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม  จำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าผู้บริโภคทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (อายุ 37-52 ปี) กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (อายุ 17-36 ปี) และกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (อายุ 53-71 ปี) มีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ย 4.10, 4.04, 3.96 ตามลำดับ และส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อสื่อสังคมออนไลน์ด้านการออกแบบสื่อ ด้านเนื้อหาทางการตลาด และด้านการเข้าใช้งาน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.12, 4.03, 3.87 ตามลำดับ โดยด้านการออกแบบสื่อมีความพึงพอใจสูงสุดในเรื่องความสวยงามของเพจ ด้านเนื้อหาทางการตลาดมีความพึงพอใจสูงสุดในเรื่องภาพและสีของผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ ส่วนด้านการเข้าใช้งานมีความพึงพอใจสูงสุดในเรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้จัดการเพจและผู้ใช้งาน ผลการวิจัยนี้สามารถช่วยให้กลุ่มอาชีพทราบกลุ่มเป้าหมายหลักในสื่อสังคมออนไลน์ และปรับวิธีการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ที่สร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคนำมาซึ่งการเพิ่มยอดขายมากขึ้น

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). Gen Y/Gen Me กลุ่มผู้กุมชะตาโลก. สืบค้น 3 กรกฎาคม 2563. จาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1251

ณัฐพร เมืองตาม. (2020). รายงาน Media Consumption Behavior ที่เปลี่ยนไปของทุก Gen ในยุค COVID-19. สืบค้น 10 มิถุนายน 2563 จาก https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/media-consumption-behavior-all-generation-in-covid-19/

เดลินิวส์. (2555). แก้วถักภูมิปัญญาไทยโดนใจตลาด งานค้นคนสเปเชียล ตามรอยภูมิปัญญาช่างไทย. สืบค้น 10 มิถุนายน 2563. จาก https:// www.dailynews.co.th/article/135647

ธนาคารกรุงเทพฯ. (2020). 2020 ปีทองของอีคอมเมิร์ช. สืบค้น 1 สิงหาคม 2563. จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/consumer-behavioronline-shopping-in-2020

บางกอกบางกอก. (2021). social media marketing คืออะไร มีอะไรบ้าง. สืบค้น 10 มิถุนายน 2564. จาก https://www.bangkokbangkok.net/social-media-marketing.html

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปวันรัตน์ ตรีพจนา, ฉัตรชัย อินทสังข์, และปิยมาภรณ์ เทียมจิตร. (2563). อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความพึงพอใจของลูกค้าตลาดนัดเซฟวัน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ. 7(1), 1-12.

พงศ์ภรณ์ วรจิตตานุรักษ์. (2563). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความคิดเห็นที่มีต่อสื่อวิดีโอประเภทการรีวิวที่พัก และการเลือกตัดสินใจ เข้าพักในโรงแรม กรณีศึกษา เฟซบุ๊กแฟนเพจ “Get Out อย่างนี้ต้องลาออก”. (ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ภัสสราณัฐ รวยธนาสมบัติ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความตั้งใจซื้อสินค้า ผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในแต่ละเจเนอเรชั่น. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วชิรวิชญ์ อัครวีระกิตต์. ( 2561). เนื้อหาการสื่อสารการตลาดออนไลน์และปัจจัยการเลือกซื้อกระเป๋าเดินทาง: กรณีศึกษา แซมโซไนท์ ประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

วรินทร์ทิพย์ กำลังแพทย์. (2559). การตลาดออนไลน์กับผู้บริโภคยุค X YZ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนครสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1(2), 1-16.

วิภาดา อำไพ, จิรพล จิยะจันทร์, และตรีเนตร ตันตระกูล. (2562). อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์กับการสร้างกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการดำเนินธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านการค้าและการบริการ. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 114-127. สืบค้น 15 สิงหาคม 2564. จาก https://www.177541-Article%20Text-505418-1-20190320(1).pdf

วิภาพรรณ จินดาโชติ. (2558). ปัจจัยและพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการซื้อ-ขายสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา: ธุรกิจอาหารเสริมและ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม. (การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สาระดีดี.คอม. (2563). พฤติกรรมการบริโภค Gen B, Gen X, Gen Yและ Gen M. สืบค้น 4 สิงหาคม 2563. จาก http://sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=227: consumer-%20behavior-g

อนงค์ลักษณ์ ถวัลย์ภิยโย. (2558). แนวทางปฏิบัติด้านการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ กรณีศึกษาศูนย์ติดตั้งเบาะหนังแท้รถยนต์แห่งหนึ่ง. (การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อของกลุ่มเจ็นเนอเรชั่น เอ็กซ์ และเจ็นเนอเรชั่น วาย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6(1), 59-65.

Creative talk. (2019). ทำการตลาดบน Facebook ยังได้ผลอยู่ไหม?. สืบค้น 4 สิงหาคม 2564. จาก https://creativetalklive.com/does-facebook-marketing-still-work/

Dollarhide, Maya E. (2021). Social Media Definition. Retrieved from: https//www.investopedia.com/terms/s/social-media.asp

eMarketing Institute. (2018). Social Media Marketing: Social Media Marketing Fundamentals. Retrieved from: https//www.emarketinginstitute.org

Krungsri Guru. (2021). 6 สิ่งต้องรู้เมื่อบุกตลาด Gen Z. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/6-techneques-to-approach-gen-z

Krungthai compass. (2019). Consumer 2020: ออนไลน์ไลฟ์สไตล์. สืบค้นจาก https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_437Consumer2020_30_09_62.pdf

Nattapon Muangtum. (2021). รายงานสถิติ Thailand Digital Stat 2021 จาก We Are Social. สืบค้นจาก https://www.everydaymarketing.co/knowledge/thailand-digital-stat-2021-we-are-social/

SEOPressor. (2021). The 6 Types of Social Media. Retrieved from: https://seopressor.com/social-media-marketing/types-of-social-media/

Tiger. (2020). การตลาดดิจิตอล – ประเภทกับช่องทาง Digital Marketing. สืบค้น 15 สิงหาคม 2564. จาก https://thaiwinner.com/digital-marketing/

TopTen. (2020). เจาะ Insight ผู้บริโภค 5 Gen สำหรับต่อยอดกลยุทธ์ Hyper-personalization Marketing. สืบค้น 15 สิงหาคม 2564. จาก https://positioningmag.com/1259780

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28

How to Cite

วรพงศ์พัชร์ ณ., ชูทอง ร., เปี่ยมสุภัคพงศ์ ธ., อิสลาม ช., & ผกามาศ พ. (2021). แนวทางการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ กลุ่มอาชีพสตรีแก้วถัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8(1), 53–67. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/jlams/article/view/207