การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ กรณีศึกษา: สำนักงานเทศบาลตำบลท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปิยะนุช เรืองโพน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กมลรัตน์ แสงพรมชาลี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะ , เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, การนำนโยบายไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติสำนักงานเทศบาลตำบลท่าแร่  2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติสำนักงานเทศบาลตำบลท่าแร่ 3) แนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติสำนักงานเทศบาลตำบลท่าแร่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย นายกเทศมนตรีตำบลท่าแร่ 1 คน ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม 1 คน นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ 1 คน เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน 5 คนและผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 16 คน รวมทั้งสิ้น 25 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และนำเสนอผลการวิจัยในแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การบริหารนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติประกอบด้วย โครงสร้างองค์กร บุคลากร งบประมาณ สถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ โดยมีปัญหาและอุปสรรคในการบริหารนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ ได้แก่ ปัญหาด้านการย้ายถิ่นฐาน งบประมาณ การจ่ายเบี้ยยังชีพ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกับผู้นำชุมชน และการรับฟังความคิดเห็นของผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงได้พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ โดยการพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนผู้รับสิทธิ์ ระบบให้ความรู้ของนโยบาย ระบบการตรวจสอบทรัพย์สิน ระบบติดตามประเมินผล และระบบช่องทางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้สูงอายุ

References

กนกลดา แก้วตีนแท่น และ วิษณุ สุมิตสวรรค์. (2564). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุในการรับเบี้ยยังชีพผ่านระบบจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์กับการรับเบี้ยยังชีพโดยเงินสดกรณีศึกษา เทศบาลตําบลท่าพระ อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(5), 395-407. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/250061

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์จังหวัด สำนักงานจังหวัดสกลนคร. (2567). แผนงานโครงการสำคัญของจังหวัดสกลนคร จังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570). สืบค้นมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://web.sakonnakhon.go.th/article/1275

ณปภัช สัจนวกุล, ณัฐนี สัจนวกุล, นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์, ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น, ณัฐณิชา ลอยฟ้า, ประทีป นัยนา, สุรีย์พร พันพึ่ง, และ ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2565). เอกสารสรุปโครงการวิจัยการสูงวัยในถิ่นที่อยู่ ข้อเสนอตัวแบบนโยบายจากบทเรียนต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/07/Research-Brief-Ageing_in_Place_Research_Brief.pdf

ณัฐพล ตั้งสุนทรธรรม. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หัก จังหวัดราชบุรี (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย. https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=8553&context=chulaetd

ทาริตา แตงเส็ง และ กัมปนาท วงษ์วัฒนา. (2564). แนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(2), 63-73. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/250886

เทศบาลตำบลท่าแร่. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) เทศบาลตำบลท่าแร่. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2567, จาก https://www.tharaesakon.go.th/link%20marge/Pan%202563/pan%202565/pan%202565.html

ปิยะนุช เงินคล้าย. (2562). นโยบายสาธารณะ Public Policy (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรทิพย์ ทัพวัฒน์. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาล ในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 1(3), 37-53. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/178145

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566. (2566, 11 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 140, ตอนพิเศษ 192, หน้า 4.

วรเดช จันทรศร. (2565). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค

วรพชร จันทร์ขันตี. (2567). ปัญหาการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 7(2), 125-178. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3369

วรเวศม์ สุวรรณระดา. (2565). โครงการการทบทวน สังเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุไทย. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2566, จาก https://thaitgri.org/?p=40114

วรัญญา ใจดี. (2564). ประสิทธิภาพการจัดการนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2550). กลไกการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://elibrary.tsri.or.th/fullP/RDG4930207/RDG4930207_s01.pdf

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับ สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2564). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). การประเมินผลกระทบและความยั่งยืนของการบริโภคของผู้สูงอายุภายใต้ระบบบำนาญของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=14368&filename=PageSocial

สุธิดา แก้วมณี. (2565). การศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

สุภางค์ จันทวนิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bando, R., Galiani, S., & Gertler, P. (2022). Another brick on the wall: On the effects of non-contributory pensions on material and subjective well-being. Journal of Economic Behavior & Organization, 195, 16-26. https://doi.org/10.1016/j.jebo.2021.12.029

Dye, T. R. (2017). Understanding Public policy (15th ed.). Florida: Pearson.

Ha, T. (2024). The efficacy and efficiency of public transfer program on the poverty of the older population in South Korea. International Journal of Social Welfare, 33(1), 61-74. https://doi.org/10.1111/ijsw.12582

Hinrichs, K. (2021). Recent pension reforms in Europe: More challenges, new directions. An overview. Social Policy & Administration, 55(3), 409-422. https://doi.org/10.1111/spol.12712

Kühner, S., & Chou, K. L. (2019). Poverty alleviation, coverage and fiscal sustainability: Investigating the effect of a new social pension in Hong Kong. International Journal of Social Welfare, 28(1), 89-99. https://doi.org/10.1111/ijsw.12321

Malakar, I., & Chalise, H. N. (2019). Perception of elderly towards social security allowance in Nepal. South Asian Journal of Social Studies and Economics, 2(4), 1-9. https://journalsajsse.com/index.php/SAJSSE/article/view/588

Narayana, M. R. (2019). Old age pension scheme in India: Distributional impacts. South Asia Research, 39(2), 143-165. https://doi.org/10.1177/0262728019842016

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

เรืองโพน ป., & แสงพรมชาลี ก. . (2024). การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ กรณีศึกษา: สำนักงานเทศบาลตำบลท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 11(2), 140–157. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/jlams/article/view/1065