นโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • วรเมธ ยอดบุ่น คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชลินญา สุกุล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จารุวรรณ อุระแสง สำนักงานเทศบาลตำบลพังโคน จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

นโยบายการบริหารจัดการ, การจัดการขยะมูลฝอย, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลตำบลพังโคน 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลตำบลพังโคน และ 3) เสนอแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลพังโคน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง และกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 21 คน ประกอบด้วย บุคลากรของเทศบาลตำบลพังโคน จำนวน 5 คน และประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลพังโคน จำนวน 16 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลมีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย คือ มีการนำนโยบายการจัดการขยะมาใช้บริหารจัดการ โดยมีการแปลงนโยบายออกมาในรูปแบบของโครงการและกิจกรรมในการขับเคลื่อน 2) ด้านปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ คน เงิน อุปกรณ์ และการจัดการ 3) แนวทางในการบริหารจัดการเทศบาลควรมีการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะให้กับประชาชนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น โดยการนำเทศบัญญัติ มาเป็นข้อปฏิบัติร่วมกันระหว่างเทศบาล และประชาชนเพื่อเป็นการบริหารจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564). สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details.

ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร, นงลักษ์ จิ๋วจู, ทิพย์วรรณ ศิบุยนันท์, ประพัสสร บัวเผื่อน, และ กันยา มั่นคง. (2561). แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขุนราม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 5” สหวิทยาการกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยฐานรากสู่สากลในศตวรรษที่ 21 (น. 623-628), มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

นภา จันทร์ตรี, ทิพวรรณ พละสุขสมบัติ, ราตรี พิงกุศล, เรืองอุไร วรรณโก, เบญจพร ประจง, และ ธนวัฒน์ กันภัย. (2563). แนวทางการจัดการขยะอย่างยั่งยืนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(3), 25-31. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/248188

นันทวุฒิ จำปางาม และ พรทิพย์ พุทธโส. (2564). การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(2), 75-89. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/248487

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์ และ กาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ: การจัดการข้อมูล การตีความ และการหาความหมาย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มาลัย เอี่ยมจำเริญ. (2557). การบริหารจัดการขยะมูลฝอย และปัญหาในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(15), 21-27. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56999

ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน กรมควบคุมมลพิษ. (2565). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศปี 2565. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566, จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report_country.php?year=2565

สันชัย พรมสิทธิ์. (2562). การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 67-81. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/202730

สำนักงานเทศบาลตำบลพังโคน. (2565). การจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลพังโคน. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2567, จาก https://tessabanphangkhon.go.th/wp-content//uploads/2022/05/ประกาศ-กำหนดการประชุมรับฟังความคิดเห็น.pdf

สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. (2552). คู่มือแนวทางและข้อกำหนดเบื้องต้นการลดและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ฮีซ์. https://www.pcd.go.th/publication/4999/

สุภางค์ จันทวานิช. (2552.) การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Glawe, U., Visvanathan, C., & Alamgir, M. (2005). Solid waste management in least developed Asian countries–a comparative analysis. In International Conference on Integrated Solid Waste Management in Southeast Asian Cities (p. 5-7). Cambodia.

Lindblom, C. E., & Edward J. W. (1993). The Policy-Making Process (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

ยอดบุ่น ว., สุกุล ช. ., & อุระแสง จ. (2024). นโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 11(2), 126–139. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/jlams/article/view/1050