ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการให้ข้อมูลความปลอดภัยบนเที่ยวบินต่อความเชื่อมั่นของผู้โดยสารในการให้บริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ณ สนามบินสุวรรณภูมิ
คำสำคัญ:
รูปแบบการให้ข้อมูลความปลอดภัยบนเที่ยวบิน, ความเชื่อมั่นในการบริการ, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์วิจัยเพื่อ 1) สำรวจข้อมูลส่วนบุคคลของผู้โดยสาร ณ สนามบินสุวรรณภูมิ 2) สำรวจรูปแบบการให้บริการข้อมูลความปลอดภัยของสายการบิน 3) สำรวจความเชื่อมั่นในการรับบริการ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล รูปแบบการให้ข้อมูลความปลอดภัยในเที่ยวบิน และความเชื่อมั่นในการบริการ โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้โดยสาร 401 คน ณ สนามบินสุวรรณภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-24 ปี เดินทางโดยเครื่องบิน 1-3 ครั้งต่อปี และใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ การสำรวจรูปแบบการให้ข้อมูลความปลอดภัยบนเที่ยวบินพบว่าผู้โดยสารเห็นด้วยมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.23 และ S.D. = 0.614 ด้านที่ได้คะแนนสูงสุด คือ การสาธิตอุปกรณ์ความปลอดภัยโดยพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ค่าเฉลี่ย 4.34 และ S.D. = 0.715 ความเชื่อมั่นในการรับบริการอยู่ในระดับสูงสุดที่ค่าเฉลี่ย 4.36 และ S.D. = 0.531 ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การใช้อำนาจที่ค่าเฉลี่ย 4.46 และ S.D. = 0.592 ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล กับรูปแบบการให้ข้อมูลความปลอดภัยในเที่ยวบิน และความเชื่อมั่นในการรับบริการ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางต่อความเชื่อมั่นในการรับบริการที่ร้อยละ 65.8 ข้อเสนอแนะ คือ ควรจัดทำวิดีโอสาธิตที่ทันสมัย เน้นการสาธิตอุปกรณ์ความปลอดภัยโดยพนักงานต้อนรับ รวมถึงส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บริการที่ดี และได้รับความไว้วางใจจากผู้โดยสาร
References
ฐานิสร พันธุ์ครุฑ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นกับความคุ้มค่าในการเข้ารับบริการจากกระบวนการยุติธรรมของประชาชน (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ณุสิรินทร์ หลิ่มวิรัตน์. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรด้านการบริการ กรณีศึกษา พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(1), 31-42. https://ejournals.dusit.ac.th/toc-detail.php
ธัชชัย มงคลจันทรกุล. (2564). การตัดสินใจและพฤติกรรมการเลือกใช้บริการรีสอร์ทในเขตจังหวัดตรัง (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.
เนธิศดา ทอนสูงเนิน. (2562). ความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยทางการบินที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชียของผู้ใช้บริการชาวไทย. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 Safety Culture in Aviation and Tourism (น. 382–397), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปรีชยา เกิดผลเสริฐ, นันทิยา ดวงภุมเมศ, สิรินทร พิบูลภานุวัธน์, และ ธีรพงษ์ บุญรักษา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของผู้โดยสารกับการเลือกเปิดรับการสาธิต การใช้อุปกรณ์นิรภัยบนเครื่องบิน กรณีศึกษาสายการบินไทยสมายล์. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 983-1002. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/213907
พวงแก้ว ประเสริฐพันธุ์. (2561). มาตรฐานความปลอดภัยและข้อควรปฏิบัติของผู้โดยสารในการเดินทางทางอากาศภายในประเทศไทย. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 15(2), 1-8. https://www.chonburi.spu.ac.th/journal/?page=23
พัชรี อนุสิทธิ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานดอนเมือง (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.
พิมพ์วิไล พรหมงาม และ พนิดา ชื่นชม. (2018). การรับรู้ความสำคัญของการปรับลดมาตรฐานด้านความปลอดภัย โดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในประเทศไทยของนักศึกษาปริญญาตรีด้านการบิน กรณีศึกษา: นักศึกษาสถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 Safety Culture in Aviation and Tourism (น. 464–477), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2564). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการบิน. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2566, จาก https://elchm.ssru.ac.th/natenapa_lu/pluginfile.php/70/mod_forum/intro/ความรู้เบื้องต้นอุตสาหกรรมการบิน.pdf?time=1658075303947
สมิต สัชฌุกร. (2554). การต้อนรับและการบริการที่เป็นเลิศ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สายธาร.
Ayutthaya, S. S. N. (2013). Impact of perceived service on brand image and repurchase intentions of Thai passengers towards low cost carriers. AU Journal of Management, 11(2), 46-56. https://aujm.au.edu/index.php/aujm/article/view/41
Chen, L., Li, Y. Q., & Liu, C. H. (2019). How airline service quality determines the quantity of repurchase intention-Mediate and moderate effects of brand quality and perceived value. Journal of Air Transport Management, 75, 185-197. https://doi.org/10.1016/j.jairtraman.2018.11.002
Health and Safety Executive. (2008). Successful health and safety management. Retrieved 18 March 2013, from http://www.mtpinnacle.com/pdfs/HR-OHS.pdf
Heinrich, H. W. (1959). Industrial Accident Prevention: A Scientific Approach (4th ed.). New York: McGraw-Hill.
International Civil Aviation Organization. (2013). Safety Management Manual (SMM). Retrieved 25 November 2023, from https://www.icao.int/SAM/Documents/2017-SSP-GUY/Doc%209859%20SMM%20Third%20edition%20en.pdf
International Civil Aviation Organization. (2014). Cabin Crew Safety Training Manual. Retrieved 25 November 2023, from https://store.icao.int/en/cabin-crew-safety-training-manual-doc-10002
International Civil Aviation Organization. (2020). The Cabin Crew Safety Training Manual (2nd ed). Retrieved 25 November 2023, from https://store.icao.int/en/cabin-crew-safety-training-manual-doc-10002-corrigendum-no-2-dated-6-8-21
Morgan, R. M., & Hunt, S. D. (1994). The commitment-trust theory of relationship marketing. Journal of marketing, 58(3), 20-38. https://doi.org/10.1177/002224299405800302
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of services Quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50. https://doi.org/10.1177/002224298504900403
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.
Ringle, C. M., Sarstedt, M., & Zimmermann, L. (2011). Customer satisfaction with commercial airlines: The role of perceived safety and purpose of travel. Journal of Marketing Theory and Practice, 19(4), 459-472. https://doi.org/10.2753/MTP1069-6679190407
SBS World News. (2018). การเดินทางโดยเครื่องบินปลอดภัยแค่ไหน. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2566, จาก http://www.sbs.com.au/language/thai/th/article/how-safe-is-flying-heres-what-the-statistics-say/5e1hjrt72
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.