การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • ภัทรสิริ กุนเดชา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนรวม ต้นทุนต่อหน่วย และจุดคุ้มทุนรายหลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณของแต่ละหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและจำนวนนักศึกษาเต็มเวลามาทำการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ค่า ร้อยละ และค่าเฉลี่ย เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนรวม ต้นทุนต่อหน่วย จุดคุ้มทุนและความคุ้มค่าในการดำเนินงานของหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มีต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อปีมากที่สุด รองลงมาคือหลักสูตรบัญชีบัณฑิต นิเทศศาสตรบัณฑิต เศรษฐศาสตรบัณฑิต และศิลปศาสตรบัณฑิต ตามลำดับ โดยทุกหลักสูตรมีต้นทุนทางตรงเฉลี่ยต่อปีน้อยกว่าต้นทุนทางอ้อม ในส่วนของต้นทุนการผลิตบัณฑิตต่อหน่วยพบว่าหลักสูตรที่มีต้นทุนต่อหน่วยการผลิตบัณฑิตมากที่สุดคือศิลปศาสตรบัณฑิต (67,291.28 บาท/คน) รองลงมาคือเศรษฐศาสตรบัณฑิต (58,260.17 บาท/คน) นิเทศศาสตรบัณฑิต (41,186.35 บาท/คน) บริหารธุรกิจบัณฑิต (35,074.48 บาท/คน) และบัญชีบัณฑิต (29,409.26 บาท/คน) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าทุกหลักสูตรมีความคุ้มค่าในการดำเนินงานเนื่องจากมีจำนวนนักศึกษาสูงกว่าจุดคุ้มทุนในปัจจุบันยกเว้นหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นสารสนเทศสำคัญในการบริหารจัดการงบประมาณหลักสูตรและแผนการรับนักศึกษาให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตบัณฑิตได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนเป็นแนวทางในการประเมินความคุ้มค่าของหลักสูตรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

References

กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี. (2560). รายงานต้นทุนต่อหน่วยและความคุ้มค่าของหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีการศึกษา 2559. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

กองบริการการศึกษา. (2562). สถิตินักศึกษาที่ลงทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562, จาก https://reg.psru.ac.th/PSRU_W1/Form_PS_S1_Register.html.

กัญญาณัฏฐ์ สาธกธรณ์ธันย์. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและความคุ้มค่าคุ้มทุนของการจัดการศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(1), 39-54.

กัญญาณัฏฐ์ สาธกธรณ์ธันย์. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและความคุ้มค่าคุ้มทุนของการจัดการศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(1), 39-54.

โกสินทร์ ชำนาญพล, พัชรินทร์ พลเยี่ยม, สมถวิล นราสันต์, กฤตยา พันธ์งาม, นรากร งาคชสาร, มังคลารัตน์ สำเนากลาง, วิลาวัลย์ แสนคำ, ชัยวัฒน์ธนา รัตนศิริกรณ์, และอรวรีย์ ประทุมศรี. (2562). การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยและความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีการศึกษา 2561. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2564, จาก https://www.plannrru.org/wp-content/uploads/2020/08/cost2561.pdf.

โครงการจัดตั้งกองคลัง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2563). รายงานต้นทุนผลผลิต ประจำปีงบประมาณ 2563. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ธนรุจ โรจน์มานะวงศ์. 2558. การวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี กรณีศึกษา นิสิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

นภชา สิงห์วีรธรรม, รุ่งฤทัย มวลประสิทธิ์พร, กฤษดา แสวงดี, ปริญญา จิตอร่าม, และวรนุช ทัศบุตร. (2561). ศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตและจุดคุ้มทุนนักศึกษาในวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(5), 936-947.

บงกช อนังคพันธ์. (2552). การประยุกต์ใช้ต้นทุนกิจกรรมในการคำนวณต้นทุนการผลิตนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(3), 33-47.

ปราณี บำเพ็ญดี. (2554). การวิเคราะห์และจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ปุญญาดา จงละเอียด, พระครูวิรัตธรรมโชติ, พระมหาศักดิ์ดา สิริเมธี, และทิพย์วรรณ จันทรา. (2563). ต้นทุนการผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(8), 246-262.

ผกามาศ มูลวันดี. (2560). การศึกษาการใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมในการคำนวณต้นทุนการผลิตนักเรียนของวิทยาลัยอาชีพในเขตภาคเหนือ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(1), มกราคม-มิถุนายน, 137-155.

มุทิตา ซิงห์. (2556). ต้นทุนต่อหัวนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2564, จาก https://ietc.mju.ac.th/openFile.aspx?id=OTU1NjM.

รัตนา ปานภู่ทอง. (2563). การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตบัณฑิตของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. วารสารวิชาการที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย, 9(2), 175-183.

ลำไย มากเจริญ. (2551). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2551). การประยุกต์ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมกับสถาบันการศึกษา. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิไล สนิทงาม. 2555. การเสนอต้นแบบตัวผลักดันต้นทุนสำหรับต้นทุนของกิจกรรมสนับสนุนวิชาการ โดยใช้ระบบต้นทุนกิจกรรมในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สุรชัย เอมอักษร, จักรกฤษณ์ มะโหฬาร, จินตนา โสมโสด, สุกัญญา วงษ์ละคร, นฤพล อ่อนวิมล, พิธาน แสนภักดี, พงศ์วิทย์ วุฒิวิริยะ, สมใจ บุญสรรค์, และสิริณัฐ วัฒน์ศรี. (2562). ต้นทุนต่อหน่วยและจุดคุ้มทุน สำหรับการผลิตบัณฑิตแต่ละหลักสูตรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(1), 61-80.

สุวนันท์ เมินนนทรี, (2556). ต้นทุนการผลิตบัณฑิตของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์, 11(1), มกราคม-มิถุนายน, 115-130.

อารีณัฏฐ์ สีแก้ว. 2557. ต้นทุนต่อหัวในการผลิตบัณฑิตแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพฯ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28

How to Cite

กุนเดชา ภ. (2021). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8(2), 33–47. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/jlams/article/view/222