กรอบแนวคิดในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมทางการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา ในศตวรรษที่ 21 โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่การศึกษาแถบลุ่มแม่น้้าโขง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดของนวัตกรรมทางการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา
ในศตวรรษที่ 21 โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่การศึกษาแถบลุ่มแม่น้ำโขง และ เพื่อประเมินกรอบแนวคิดใน
การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมทางการเรียนรู้ฯ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใน
โรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 128 คน จาก 5 โรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาแถบลุ่มแม่น้ำโขง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2560 เพื่อศึกษาบริบทการเรียนรู้ และผู้เชี่ยวชาญในการประเมินกรอบแนวคิดในการออกแบบ จำนวน 5 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้
วิธีการศึกษาหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจ ที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพการ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปตีความและวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า การสังเคราะห์กรอบแนวคิดของนวัตกรรมทางการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา ในศตวรรษที่
21 โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่การศึกษาแถบลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี ประกอบ 5 พื้นฐาน
ได้แก่ 1) พื้นฐานด้านบริบท 2) พื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ 3) พื้นฐานด้านศาสตร์การสอน 4) พื้นฐานด้านเทคโนโลยี และ
5) พื้นฐานด้านการคิดแก้ปัญหา และกรอบแนวคิดในการออกแบบ ประกอบด้วย 4 พื้นฐาน คือ 1) การกระตุ้นโครงสร้างทาง
ปัญญา 2) การสนับสนุนการปรับสมดุลโครงสร้างทางปัญญา 3) การส่งเสริมการขยายโครงสร้างทางปัญญา และ 4) การ
ช่วยเหลือการปรับสมดุลทางปัญญา และผลการประเมินกรอบแนวคิดในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมทางการเรียนรู้ของ
ผู้เชี่ยวชาญพบว่าอยู่ในระดับมาก (= 4.34 ; SD = 0.74)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
ณัฐกร สงคราม. (2560). การจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา.วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 33(2), 20 - 28.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น
ปรมะ แขวงเมือง และสุมาลี ชัยเจริญ (2559). ผลการสังเคราะห์กรอบแนวคิดของโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ส่งเสริม
การประมวลสารสนเทศ โดยการบูรณาการระหว่างศาสตร์การสอน และประสาทวิทยาศาสตร์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(3), 188-201.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ดี. เอ็ม จี.
วิภาพรรณ พินลา. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยทักษิณ, 15(2), 7-16.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [สสวท.]. (2561). ผลการประเมิน PISA2015 วิทยาศาสตร์ การอ่านคณิตศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : เซเว่นพริ้นติ้ง.
สมร จันทร์หอม จาฏุพัทจ์ ศรีสุข สมจิตต์ มีสัตย์ธรรม และ ชลากร เจริญนาม. (2559). ภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559 จากเว็บไซต์ http://maysongsuda.blogspot.com/2016/10/blog-post_3.html
สุมาลี ชัยเจริญ อิศรา ก้านจักร จารุณี ซามาตย์ และ ปรมะ แขวงเมือง. (2559). การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรมและค่านิยมไทยส้าหรับการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหาร
ลาดกระบัง, 15(2), 110-117.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2559). การออกแบบการสอนหลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครังที่ 2. ขอนแก่น: แอนนาออฟเซต.
Anagün, S. S. (2018). Teachers' Perceptions about the Relationship between 21st Century Skills and Managing Constructivist Learning Environments. International Journal of Instruction, 11(4), 825-840.
Chaijaroen, S., & Samat, C. (2018, August). Design and development of learning innovation enhancing learning potential using brain-based learning. In International Conference on Innovative Technologies and Learning (pp. 189-195). Springer, Cham.
Chaijaroen, S., Kanjug, I., Samat, C., & Wonganu, P. (2020, November). Outcomes of Problem-Solving Using Constructivist Learning Environment to Enhance Learners’ Problem Solving. In International Conference on Innovative Technologies and Learning (pp. 591-597). Springer, Cham.
Collins, A., Brown, J. S., & Holum, A. (1991). Cognitive apprenticeship: Making thinking visible. American educator, 15(3), 6-11.
Good, T. L., & Brophy, J. E. (1990). Educational psychology: A realistic approach. Longman/Addison Wesley Longman.
Hannafin, M., Land, S., & Oliver, K. (1999). Open learning environments: Foundations, methods, and models. Instructional-design theories and models: A new paradigm of instructional theory, 2, 115-140.
Jonassen, D. H. (1997). Instructional design models for well-structured and III-structured problem-solving learning outcomes. Educational technology research and development, 45(1), 65-94.
Klausmeier, H. J. (1985). Developing and institutionalizing a self-improvement capability: Structures and strategies of secondary schools (No. 85). University Press of America.
MacLeod, J., Yang, H. H., Zhu, S., & Li, Y. (2018) . Understanding students’ preferences toward the smart classroom learning environment: Development and validation of an instrument. Computers & Education, 122, 80-91.
Mayer, R., & Mayer, R. E. (Eds.). (2005). The Cambridge handbook of multimedia learning. Cambridge university press.