ผู้เขียนแจ้งถอนบทความ - ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง 3. ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยแรงจูงใจกับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง 4. ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง 5. ศึกษาว่าปัจจัยแรงจูงใจอย่างน้อย 1 ปัจจัย หรือปัจจัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างน้อย 1 ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง 6. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนองและเสนอแนะกลยุทธ์ในปรับปรุงการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนองจังหวัดระนอง
การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณศึกษากลุ่มตัวอย่างจากพนักงานส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนอง จำนวน 313 คน ตามสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการสัมภาษณ์แบบเจาะจงจากผู้บริหาร จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบการวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนองอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ เงินเดือน มีผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุและอายุการทำงานที่แตกต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยแรงจูงใจและปัจจัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านความต้องการยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความก้าวหน้าในการทำงาน (5) ปัจจัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านหลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม และหลักความรับผิดชอบ (6) ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระนองยังพบปัญหาและอุปสรรค คือ บุคลากรและงบประมาณมีจำกัด บุคลากรขาดแรงจูงใจ ขาดการบูรณาการการทำงานในพื้นที่ ระบบสารสนเทศขาดความทันสมัย ถ้าจะให้ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นจะต้องนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน พัฒนาความรู้และประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน และบูรณาการการทำงานจากทุกภาคส่วน
Article Details
References
ชัชรินทร์ ทองหม่อมราม และบุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการเมืองการปกครอง 11,1 (มกราคม-เมษายน) : 118-139
ฐิติรัตน์ มานิพารักษ์ .(2564). ประสิทธิภาพการบริหารบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น 5,1 (มกราคม-เมษายน) : 1-8
ณัฏฐกิตติ์ อินต๊ะเสนา และเกรียงกมล ศรีมา (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานพระพุทธศาสนา 17 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ทวีวัฒน์ อินทรประเสริฐ. (2559). “การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
ธัญญารัตน์ เรียนกะศิลป์. (2556). “ผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี” วารสารการจัดการสมัยใหม่ 11,1 (มกราคม – มิถุนายน) : 73-83
นันท์นภัส แลวงศ์นิล. (2563). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานของเทศบาลในจังหวัดแพร่” วารสารการจัดการสมัยใหม่ 18,2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) : 70-80.
นิภาวรรณ รอดโรคา. (2556). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่วนกลาง” วารสารการจัดการสมัย 11,1 (มกราคม – มิถุนายน) : 48 – 60
เบญจวรรณ สุขนิยม. (2561). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการนำงานวิจัยข้าวโพดหวาน”
วิไล ชัยสมภาร. (2558). “ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลในจังหวัดลำพูน” วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2555). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน. สืบค้นคืนวันที่ 4 มีนาคม 2565 จาก https://www.ocsc.go.th/e-learning
อธิการ แสนสุวรรณศรี ละมัย ร่มเย็น และสัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง. (2563). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของโครงการชลประทานสกลนคร” วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
อานันตาพร อุปถัมภ์ และไชยา ยิ้มวิไล. (2560). “ผลสัมฤทธิ์ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาของ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ”วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ 27,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) : 199-205
Alderfer, C. (1972). Existence, relatedness and growth Human needs in organizational settings. New York : Free Press
Herzberg, F. (1959) The Motivation to Work. New York : John Wiley & Sons
Maslow, A. H. (1954). Motivation and personality. New York : Harpers
Octaviannand, R., Pandjaitan, N. K., & Kuswanto, S. (2017). Effect of Job Satisfaction and Motivation towards Employee’s Performance in XYZ Shipping Company. Retrieved 5 May 2023, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1138941.pdf