ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อการจัดการคดีสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

อริยะ วิมุกติบุตร

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อการจัดการคดีสิ่งแวดล้อม และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการคดีสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


การวิจัยในครั้งนี้ทำการศึกษาแบบผสมผสานทั้งการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology)โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกรายบุคคล เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการคดีสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ราย และจากการทำแบบสอบถามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีทรัพยากรธรรมชาติ จำนวน 45 ราย


ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ ด้านความล่าช้าในการจัดการคดีสิ่งแวดล้อม ด้านความเชี่ยวชาญในการสืบสวนสอบสวนคดีสิ่งแวดล้อม และด้านความเหมาะสมในการจัดการคดีสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับ “มาก” โดยเจ้าหน้าที่มีความรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมเฉลี่ยร้อยละ 93.8 และประเด็นที่ต่ำสุดเพียงร้อยละ 74 คือประเด็น น้ำที่ปล่อยจากบ้านเรือนเมื่อซึมลงดินจะทำให้ดินเสีย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการคดีคือ “งบประมาณ” เนื่องจากงบประมาณที่ล่าช้าส่งผลให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการจัดการคดีสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ได้ และ “ความเป็นคดีสิ่งแวดล้อม” ที่มีความล่าช้าด้วยตัวของมันเอง ซึ่งคดีใช้เวลานานกว่าความเสียหายจะเกิดกขึ้น การเกิดขึ้นของผลกระทบ การพิสูจน์ความผิด ล้วนแต่ใช้เวลานาน จึงส่งผลให้การจัดการคดีสิ่งแวดล้อมมีความล่าช้าไปด้วย และ ปัจจัยด้าน “ความรู้ของเจ้าหน้าที่” ไม่มีผลต่อการจัดการคดี

Article Details

How to Cite
วิมุกติบุตร อ. . (2023). ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อการจัดการคดีสิ่งแวดล้อม. Political Science and Public Administration Journal of Kasetsart University (PSPAJKU), 1(1), 67–87. Retrieved from https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJKU/article/view/502
Section
Articles

References

Good, M.L. (2006). Integrating the individual and the organization. Wiley

Packer, Herber. (1964). Two Models Of The Criminal Process. https://scholarship.law.upenn.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=6428&context=penn_law_review

Quinney, Richard. (1970). The Social Reality of Crime. Brown and Company.

Report of the course. (1990). Resource material series, No. 37, Fuchu: UNAFEI

Report of the course. (1994). Resource material series, No. 45, Fuchu: UNAFEI

Siegel, Larry J. (2007). Criminology. Thomson.

กฎกระทรวง. (2560). แบ่งส่วนราชการกรมสอบสวนดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2560, ราชกิจจานุเบกษา, 134 (ตอนที่ 85 ก).

กรมสอบสวนคดีพิเศษ. (2556). ภารกิจและหน้าที่. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566. https://www.dsi.go.th/th/Detail/Mission-and-Duty .

กรมสอบสวนคดีพิเศษ. (2559). ประวัติกรมสอบสวนคดีพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566. https://www.dsi.go.th/th/Detail/History-of-DSI.

กฤษฎา ขวัญเกิด. (2560). ความคิดเห็นของราษฎรตอศักยภาพของพื้นที่และความพร้อมของชุมชนในตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2543). พื้นฐานรัฐศาสตร์กับการเมืองในศตวรรษที่ 21. นครปฐม : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมเกษตรแห่งชาติ.

จิรประภา อัครบวร และคณะ. (2552). การจัดการความรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

เจตน์ สถาวรศีลพร. (ม.ป.ป.). การบังคับใช้กฎหมายให้เกิดความยุติธรรมในสังคม : ข้อพิจารณาบางประการว่ากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย ความยุติธรรม กับสังคม. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2566. https://admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/Academic/Academic_111212_152818.pdf.

ชัชพล สุนทรวงศ์. (2548). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชาภัทร กาญจนกังวาฬกุล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ทัศนีย์ สีนาแซง. (2562). ความคิดเห็นของนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนิสา ตันติเจริญ. (2557). อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม (ข้ามชาติ) ทางแก้ที่ไม่ใช่แค่บังคับใช้กฎหมาย. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566. http://www.oknation.net/blog/littlelee/2014/09/24/entry-1/comment.

ประกาศ กคพ (ฉบับที่ 8). (2565). กำหนดรายละเอียดของลักษณะการกระทำความผิดที่เป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547. ราชกิจจานุเบกษา, 139 (ตอนพิเศษ 130 ง).

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ : การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพ. โอเดียนสโตร์.

พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา, 121 (8 ก), 1-19.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535. (2535). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 37 : หน้า 1 – 4.

ภรต กสิวุฒิ. (2560). การประเมินมูลค่าการจัดการพื้นที่ต้นน้ำลุ่มน้ำย่อยคลองท่าดี เพื่อการใช้ประโยชน์น้ำในเขตพื้นที่เมืองนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มณฑา ประพันธ์เนติวุฒ, ประกอบ ประพันธ์เนติวุฒิ และสอาด หอมมณี. (2562). อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 15 (3), 25-32.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2556. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น จำกัด.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. 2545. ระเบียบวิธีวิจัยทางการบริหาร. กรุงเทพ. ม.ป.พ.

สมศักดิ์ วรรักษ์กุล. (2550). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

สุภาภรณ์ ศิริโสภณา. (2549). ความรู้พื้นฐานทางสิ่งแวดล้อม. ม.ป.ท. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566. http://thesis.swu.ac.th/swuebook/h234690.pdf

เสรี วรพงษ์. สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. 1 (1), 170-185.

อัณณพ ชูบำรุง และอุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2555). อาชญากรรมและอาชญาวิทยา. กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัณณพ ชูบำรุง และอุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2561). อาชญากรรมและอาชญาวิทยา. พิมพ์ครั้งที่2 .

กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัณณพ ชูบำรุง. (2532). อาชญาวิทยาและอาชญากรรม. ม.ป.ท.

อุทัยวรรณ ของสิริวัฒนกุล. 2563. ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และความคิดเห็นของประชาชนในกลุ่ม Generation Y เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สลากดิจิทัลของธนาคารออมสิน. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อุไรวรรณ แย้มแสงสังข์. 2555. การจัดการองค์ความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพ. ไอกรุ๊ป เพรส.