การสังเคราะห์กรอบแนวคิดของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับบอร์ดไมโครบิต เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับบอร์ดไมโครบิต เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเอกสาร และกรอบแนวคิดในการออกแบบ จำนวน 5 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจ ที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายและสรุปตีความ
ผลการวิจัยพบว่า การสังเคราะห์กรอบแนวคิดของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับบอร์ด ไมโครบิต เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ ประกอบด้วย 5 พื้นฐาน ได้แก่ 1) พื้นฐานด้านบริบท 2) พื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ 3) พื้นฐานด้านศาสตร์การสอน 4) พื้นฐานด้านเทคโนโลยี และ 5) พื้นฐานการคิดเชิงคำนวณ และกรอบแนวคิดในการออกแบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แหล่งเรียนรู้ 3) ศูนย์เครื่องมือทางปัญญา 4) ศูนย์แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ 5) ศูนย์ฐานการช่วยเหลือ 6) ศูนย์ให้คำปรึกษา และ 7) ศูนย์ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ และจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่า การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบ มีความสอดคล้องระหว่างหลักการทฤษฎี และกรอบแนวคิดการออกแบบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
ธีระเดช เจียรสุขสกุล. (2561). Coding และการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนแห่งโลกอนาคต (Coding and the development of student competency in the future world). ใน การบรรยายเชิงวิชาการ “AI เทคโนโลยีเพื่ออนาคตแห่งการเรียนรู้ (Artificial Intelligence technology for the future of learning)”. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี.
นิติพงศ์ ไกรยวงศ์. (2564). ผลของสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบไร้ขอบเขตที่เน้นการเรียนรู้แบบมีความหมายเพื่อส่งเสริมการถ่ายโยงความรู้และการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
เบญจวรรณ หันจางสิทธิ์. (2561). การออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
ปิยะพร พุ่มจันทร์. (2562). ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การสร้างแอนิเมชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
ศรีสุดา จันทร (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences, 4(2). 19-30.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2559). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. [ม.ป.ท.]: เพ็ญพรินติ้ง.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (2562). หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งสู่สังคมดิจิทัลในอนาคต, กรุงเทพฯ:
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการ คำนวณ Coding เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
Brown, J. S., Collins, A., & Duguid, P. (1989). Situated cognition and the culture of learning. Educational researcher, 18(1), 32-42.
Fosnot, C.T. (1996). Constructivism: Theory, perspectives, and practice. New York: Teacher College, Columbia
University.
Hannafin, M. L. Susan & Oliver, K. (1999). Open Leaning Environments : Foundations, Methods , and Models. Instructional Designing Theories And Models : A New Paradigm of Instructional Theory Volume II., Charles M. Reigeluth (Ed.)., Lawrence Erlbaum Associates., Mahlway, N.J.
Hill, J., & Hannafin, M.J. (1997). Cognitive strategies and learning from the World-Wide Web. EDUCATIONAL TECHNOLOGY RESEARCH AND DEVELOPMENT. 45. 37-64.
Jonassen, D. (1999). Learning with Technology: A Constructivist Perspective. Toronto: Prentice-Hall.
Mayer, R. E., & Chandler, P. (2001). When learning is just a click away: Does simple user interaction foster deeper understanding of multimedia messages. Journal of Educational Psychology, 93(2), 390-397.
Vygotsky, (1925). Etudes on the pre-history of cultural-historical psychology. European Studies in the History of Science and Ideas, 8, 251-281.