การศึกษาศักยภาพของพื้นในการยกระดับผลิตภัณฑ์พรีเมียมจากสับปะรด GI จังหวัดนครพนม

Main Article Content

เสาวคนธ์ เหมวงษ์
พรทิพย์ พุทธโส
วนิดา ถาปันแก้ว
นายิกา สมร
ชนิดา ยุบลไสย์
ศุภวิทย์ อุทัยวัฒน์
สาลินี สร้อยสังวาล
กัญลยา มิขะมา

บทคัดย่อ

           การปลูกสับปะรดในจังหวัดนครพนม พบว่า เกษตรกรประสบปัญหากระบวนการผลิตสับปะรด ราคาผันผวน และการได้รับตราสินค้า GI ของเกษตรกรถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านการตลาดน้อย ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์พรีเมียมจากสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สับปะรดท่าอุเทน โดยใช้วิธีการจัดทำประชุมกลุ่มเกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษา ได้แก่ ตำบลนาขมิ้น อำเภอโพนสวรรค์ และตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน ผลของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สมาชิกกลุ่มทั้ง 2 ตำบล มีสมาชิกรวม 57 คน ตอบแบบสอบถาม 45 คน (ร้อยละ 78.95) ปริมาณของผลผลิตในปีการเพาะปลูก 2566 ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ในขณะที่พื้นที่ปลูกมีจำนวนมาก แต่ข้อมูลผลผลิตสับปะรดที่เก็บเกี่ยวได้มีปริมาณไม่สอดคล้องกับพื้นที่เพาะปลูก โดยพบปัญหาเกิดโรคผลแกนในพื้นที่ทุกราย นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เพียง ร้อยละ 22 จากเกษตรกรทั้งหมด ส่งผลต่อจำนวนผู้ที่สามารถยื่นของใช้ตราสัญลักษณ์ GI ลดลง ดังนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์พรีเมียม ควรจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) ผลสับปะรดสดพรีเมียม เกษตรกรที่มีความชำนาญ และประสบการณ์การปลูกสับปะรด แต่ไม่มีเวลาในการแปรรูป และ 2) ผลิตภัณฑ์แปรรูปพรีเมียม ต้องอาศัยกลุ่มที่มีทักษะ ความชำนาญ มีเวลา อุปกรณ์และเครื่องมือที่เพียงพอ  สามารถแปรรูปเป็นวัตถุดิบตั้งต้นให้กับบริษัทหรือโรงงานบางประเภทสำหรับทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้สับปะรด ซึ่งสำหรับสับปะรดจังหวัดนครพนมหากต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าพรีเมียมจึงจำเป็นต้องมีการศึกษา และวางแผนอย่างดี รวมทั้งหาเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนา โดยเฉพาะผู้ผลิตที่มีศักยภาพ ดังนั้นจึงควรเป็นคนละกลุ่มกับผู้ผลิต เพื่อให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ และเพียงพอต่อความต้องการ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินดารัฐ วีระวุฒิ. (2541). สับปะรด และสรีรวิทยาการเจริญเติบโตของสับปะรด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

แสงสุดา กบค้างพลู, เจนจิรา ชุมภูคำ และรัฐพล ฉัตรบรรยงค์. (2561). ผลของแคลเซียมออกไซด์ต่อการเจริญเติบโตของต้นสับปะรดพันธุ์ภูเก็ต. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 7(6), 592-599.

ทวีศักดิ์ แสงอุดม. (2558). วิจัยและพัฒนาสับปะรด. รายงานชุดโครงการวิจัย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพมหานคร, 44 หน้า.

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2566). สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. สืบค้นจาก: https://www.ipthailand.go.th/.

จารุพันธุ์ ทองแถม. (2526). สับปะรดและอุตสาหกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.ม., 158 หน้า.

ณัฐดนย์ รุ่งเรืองกิจไกร. (2560). การประยุกต์ใช้เส้นใยจากใบสับปะรดสำหรับสิ่งทอเทคนิค. การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 11.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). สินค้าเกษตรสับปะรดโรงงาน. สืบค้นจาก: https://mis-app.oae.go.th/.

สำนักงานสถิติจังหวัดนครพนม. (2566). ผลผลิตสับปะรดที่เก็บเกี่ยวได้ของจังหวัดนครพนม ระหว่างปี 2562-2566. สืบค้นจาก: https://nkphanom.nso.go.th/.

ส่วนงานพัฒนาระบบฐานข้อมูล กลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานการผลิต สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตราฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร. (2566). GAP DOA online ผลการดำเนินงานแยกตามจังหวัด. สืบค้นจาก: https://gap.doa.go.th/.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2546). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับสับปะรด. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 131 ตอนพิเศษ 243, 17 หน้า.

เกลียวพันธ์ สุวรรณรักษ์. (2551). ข้อมูลการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลสับปะรด. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการเกษตร.

วราพร สารทไทย, สามารถ ช่างทอง, กฤติกา ทองดี, จักรเมธ มั่นมาก และเจตนา สารียัง. (2567). วิชา 102203 หลักการอารักขาพืช. สืบค้นจาก: //efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/http://conf.agi.nu.ac.th/webnewasp/ereading/102202/18.สับปะรด.pdf.

พิมม์ญภัทร สุพรรณพงศ์, ชุติรัตน์ เจริญสุข, ประภัสสร มีน้อย, ณัฐวดี สว่างงาม และ เจนคณิต สุขสัมฤทธิ์. (2562). ชุดโครงการการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสับปะรดผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรดจังหวัดราชบุรี. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), 140 หน้า.

ดวงสุดา เตโชติรส, จุฑา พีรพัชระ และ วรลักษณ์ ปัญญาธิติพงศ์. (2552). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารจากสับปะรดสำหรับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 117 หน้า.