การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ดอนปู่ตา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ และผลการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์จากการเรียนรู้ผ่านดอนปู่ตา เป็นงานวิจัยและพัฒนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การตั้งหัวข้อและประเด็นหลักในการศึกษาให้นักศึกษาออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้เกิดทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้ 10 ขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร แบบทดสอบ และการจัดกิจกรรมสนทนากลุ่มย่อย ใช้การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัยแบบพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ดอนปู่ตาเป็นฐาน โดยการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะการสร้างปัญญา นำไปสู่การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้วิจัยได้ออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลดอนปู่ตา ตั้งหัวข้อและประเด็นหลักในการศึกษา แล้วให้นักศึกษาออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูล และเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้ 10 ขั้นตอน คือ 1) ทักษะการสังเกต 2) ทักษะการบันทึก 3) ทักษะการนำเสนอ 4) ทักษะการฟัง 5) ทักษะการถาม 6) ทักษะการตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม 7) ทักษะการค้นหาคำตอบจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ 8) ทักษะการทาวิจัยสร้างความรู้ 9) ทักษะการเชื่อมโยงบูรณาการ 10) ทักษะการเขียนเรียบเรียง ซึ่งสามารถพัฒนาทักษะ การแสวงหาความรู้ของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี 2) ผลการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์จากการเรียนรู้ผ่านดอนปู่ตา โดยใช้แบบฝึกทักษะการแสวงหาความรู้ และ แบบประเมินผลการพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้จากการลงพื้นที่ศึกษาดอนปู่ตาของนักศึกษา พบว่า ผลจากการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์จากการเรียนรู้ผ่านดอนปู่ตา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.41 ผู้เรียนมีความพึงพอใจในกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.95 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.17
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
จงจิตร เลิศวัฒนาพร. (2551). การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมโครงงานภาษาอังกฤษประกอบการประเมินตามสภาพจริง.ปริญญานิพนธ์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จริยา สุจารีกุล. (2550). Science as inquiry วิทยาศาสตร์คือกระบวนการสืบเสาะหาความรู้. เสาะหาความรู้. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
พจนา ทรัพย์สมาน. (2549). การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและดันพบความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2551). การสอนวิทยาศาสตร์โดยเน้นทักษะกระบวนการ. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 8(2): 28-38.
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
http://www.teachthought.com/learning/9-characteristics-of-21st-century-learning/ สืบค้นวันที่ 10 เมษายน 2560)