ศึกษาข้อผิดพลาดการสร้างประโยคจาก “คำเหมือน-คำคล้าย” ในคากริยาภาษาจีนที่เลือกจากคาศัพท์ HSK ระดับ 3-4 : กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อผิดพลาด การใช้คำเหมือน-คำคล้ายกริยาภาษาจีนของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยนครพนม และนำข้อผิดพลาดมาพัฒนาการเรียนการสอนคำเหมือน-คำคล้ายกริยาภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยนครพนม จานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ให้นักศึกษาเลือกเติมคำในช่องว่างให้สมบูรณ์ ตอนที่ 2 ให้นักศึกษาเลือกประโยคที่แปลจากภาษาไทยเป็นภาษาจีนได้ถูกต้อง
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการเลือกใช้คำกริยาที่มีความหมายใกล้เคียงกันของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาภาษาจีน มหาวิทยาลัยนครพนม มี 2 ข้อดังนี้ 1) ด้านการโครงสร้างไวยากรณ์ นักศึกษาไม่เข้าใจในโครงสร้างไวยากรณ์ ทาให้เกิดข้อผิดพลาด เช่น โครงสร้างที่ใช้กับคำกริยา ประเภทของกรรมที่ใช้กับคากริยา ประเภทของคาที่ใช้คู่กับคากริยา 2) ด้านความหมาย คาศัพท์แต่ละคาจะเน้นความหมายที่แตกต่างกัน ส่งผลให้นักศึกษาไม่สามารถแยกความหมายที่แตกต่างกันได้อย่างชัดเจน จึงเป็นสาเหตุทาให้นักศึกษาเลือกใช้คาผิดประเภทและไม่เหมาะกับรูปประโยค ซึ่งสาเหตุของข้อผิดพลาดนี้เกิดจากการได้รับอิทธิพลมาจากภาษาแม่และรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่เหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
นิตยา กาญจนะวรรณ. (2548). การวิเคราะห์โครงสร้างภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
เบญญาทิพย์ ศุภะกะลิน. (2561). ข้อผิดพลาดการใช้คำกริยาวิเศษณ์พ้องความหมายในภาษาจีน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 35(1) มกราคม – เมษายน 2561.
เสี่ยว อานต้า. (2004). ไวยากรณ์จีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ทฤษฎี
ประพิณ มโนมัยวิบูลย์. (2545). ไวยากรณ์จีนกลาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด.(2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เหยิน จิ่งเหวิน. (2558). สุดยอดคัมภีร์ไวยากรณ์จีน ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สุษดี มณีกาญจนสิงห์. (2543). ข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาจีนของนิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 และ 4 และ
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. คณะอักษรศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Liu Wei. (2015). Analysis of Chinese Mode Adverbs Errors in Thai Universities. Tianjin Normal University.