แนวทางการบริหารจัดการขยะของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการขยะของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนมโดยกลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารสถานศึกษาที่เคยได้รับรางวัลด้านการจัดการขยะระดับประเทศ จำนวน 6 คน (2) ครูผู้รับผิดชอบโครงการที่เคยได้รับรางวัลด้านการจัดการขยะระดับประเทศ จำนวน 6 คน รวม 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านการสร้างระบบเครือข่ายจัดการขยะ มีการจัดทาข้อตกลงความร่วมมือในการดาเนินงานด้านการจัดการขยะ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภายนอก การนิเทศ กำกับ ติดตามการดาเนินงานของเครือข่าย และกลุ่มแกนนำ (2) ด้านการดาเนินกิจกรรมจัดการขยะในสถานศึกษาได้จัดทาแผนผังเส้นทางขยะ ส่งเสริมกิจกรรมด้านการจัดการขยะ ทั้ง 4 ประเภทตามความเหมาะสมกับบริบทโรงเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). การจัดการขยะในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). การจัดการขยะด้วย 3Rs. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 จาก www.mict.go.th
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). ระบบโรงเรียนอีโคสคูล. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 จาก http://datacenter.deqp.go.th/service-portal/eco-school- system.
กิตติมา เนตรพุกกณะ และคณะ. (2563). การพัฒนากระบวนการจัดการขยะของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา อำเภอเกาะพะงั้น จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์. ครุศาสมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษร์ธานี. จังหวัดสุราษร์ธานี.
จาตุรนต์ กาศมณี และคณะ. (2557). การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2(3): 245-254.
จารุวัฒน์ ติงหงะ. (2560). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ รป.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. จังหวัดภูเก็ต.
ธนากร จูงวงษ์สุข. (2559). แนวทางการบริหารโครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต3. การศึกษาอิสระ คม. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. จังหวัดเชียงราย.
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร และ วชิรวัชร งามละม่อม. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 5(1): 172.
วิมลชญาน์ สถิตสุนทรพันธ์และคณะ. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในสถานศึกษา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 7(3): 163-164.
วีระศักดิ์ มุกดา. (2556). แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะภายในโรงเรียนวัดจันทรสโมสร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ
สำนักงานจังหวัดนครพนม. (2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 จาก http://www2.nakhonphanom.go.th/content/cate/7/?page=2.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟิก: กรุงเทพฯ.