ศักยภาพการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุกรณีศึกษา จังหวัดนครพนม

Main Article Content

จิราภรณ์ พรหมเทพ
ดุษฎี ช่วยสุข
ศรุกา วิสิฐนรภัทร

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของจังหวัดนครพนมในการรองรับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กำหนดผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัยออกเป็น 3 กลุ่ม คือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดนครพนม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 15 คน และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
        ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพของจังหวัดนครพนมในการรองรับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ 1) ด้านสิ่งดึงดูดใจที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายบรรยากาศของเมืองเงียบสงบและปลอดโปร่ง มีคุณภาพทางอากาศที่สะอาดไม่มีมลพิษทางอากาศ 2) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุศักยภาพที่ควรพัฒนา ได้แก่ เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ เพิ่มโรงพยาบาลทางเลือกในการให้บริการ เพิ่มการคมนาคมขนส่งระหว่างพื้นที่ยังไม่สะดวกสบายสำหรับผู้สูงอายุแนวทางการพัฒนาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวสำหรับผู้อายุ ได้แก่การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุการเพิ่มสถานบริการด้านสุขภาพที่เป็นทางเลือกในการรักษาพยาบาลปรับปรุงและพัฒนาที่พักส าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ และการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการให้บริการนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลธิชา รุ่งสาตรา และคณะ. (2564). รูปแบบของการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีในประเทศไทย : กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 15(1). 52-65.

ฐิติพร ศรีอาภรณ์และณรงค์พันธ์ฉุนรัมย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น. วารสารบัณฑิตวิจัย, 6(1), 177-184.

นฤมล รัตนไพจิตร และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 9(3), 692-704.

ปานเสก อาทรธุระสุข และคณะ. (2562). รูปแบบของการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 8(3), 71.

ประชาชาติธุรกิจ. (27กันยายน 2561). เปิดผลวิจัยดัน “ภาคเหนือ” สู่เมืองพำนักระยะยาว เชียงใหม่ฮอตแห่ลองสเตย์กว่า 4 หมื่นราย. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-225999

พงศ์เสวก อเนกจำนงค์พร. (2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ราณีอิสิชัยกุล. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. นนทบุรี: สุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิรินทร์ญา ณ ล าปาง. (2561). แรงจูงใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวสูงอายุชาวต่างชาติที่พำนักระยะยาวในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ลัดณา ศรีอัมพรเอกกุล และ ธีระวัฒน์จันทึก. (2561). การท่องเที่ยวคุณภาพเพื่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(1), 12-28.

อรชร มณีสงฆ์และพัชรา ตันติประภา. (2561). ความพึงพอใจต่อบรรยากาศการตลาดกับความตั้งใจในการมาซ้ำของผู้มาเยือนแหล่งท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 14(1). 12-28.

อุษณีย์ผาสุข และดวงดาว โยชิดะ (2563). ปัจัยผลักดันและดึงดูดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวญี่ปุ่นในการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทย. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University. 14(1), 114-124.

Alarcon, P., Gonzalez, E. M., & Perez, J. R. (2010). Residential tourism in the south of Spain: An approach towards consumption. Tourism & Management Studies, 6(1),36–48

Benson, M., & O’Reilly, K. (2009). Migration and the search for a better way of life: A critical exploration of lifestyle migration. Sociological Review, 57(4), 608–625.

Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination of the Future. Tourism Management, 21(1), 97-116 Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0261517799000953

Chamcham, C. & Soparat, O. (2012). Long-Stay of the Japanese in Chiangmai: Analysis of Determining Factors in Pre-and Post-Period of Coming. Japanese Studies Journal, 29 (1), 16-34.

Cohen, S. A., Duncan, T., & Thulemark, M. (2015). Lifestyle mobilities: The crossroads of travel, leisure and migration. Mobilities, 10(1), 155–172

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text, 2nd ed., Australia: Hodder Education.

Jiaying L., Huan H., Zhenxing M. (2021). Middle-aged and older adults’ preferences for long-stay tourism in rural China. Journal of Destination Marketing & Management, 19. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2212571X20301748

JTB Tourism Research & Consulting Co. (2019). Long Stay. Retrieved from https://www.tourism.jp/tourism-database/glossary/longstay/)

O’Reilly, C. C. (2006). From drifter to gap year tourist: Mainstreaming backpacker travel. Annals of Tourism Research, 33(4), 998–1017.

Wong, K. M., & Musa, G. (2015). International second home retirement motives in Malaysia: Comparing Britishand Japanese retirees. Asia Pacific Journal of Tourism Research, 20(9), 1041–1062.