การจัดกิจกรรมสำนวนชวนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ และการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 2) พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จ านวน 42 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยสุ่มเป็นห้องเรียนด้วยวิธีการจับสลาก (Lottery) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดสร้างสรรค์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 และ 2) แบบประเมินทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล สถิติที่ใช้ ได้แก่ t-test for one sample ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน พบว่า หลังจัดกิจกรรมสำนวนชวนรู้ของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 12.71 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.46 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนการประเมินความคิดสร้างสรรค์ พบว่า คะแนนทดสอบหลังการจัดกิจกรรม สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของนักเรียน พบว่า หลังการจัดกิจกรรมของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 21.00 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 87.50 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนการประเมินของผู้เรียน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เเนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สกศ.
กองสถิติเศรษฐกิจสานักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสารวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561 สานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นจาก from http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2561/ict61-สรุปผลที่สำคัญ_Q1.pdf
ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ : การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(2): 188-204.
ทิศนา แขมมณี.. (2551). ศาสตรการสอน:องคความรูเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรูที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สานักพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
วรรณรี ตันติเวชอภิกุล. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสาหรับครอบครัวเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ศิริญญา ดวงคาจันทร์. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรักติวิสต์โดยใช้เทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
สุมาลี เชื้อชัย. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลแก่นิสิตในรายวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศสาหรับครูประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(2), 65-79.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika,16(3): 297-334.
Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York : McGraw-Hill Book Co.Yager, R. (1991). The Constructivist Learning Model: The Science Teacher, 58(6): 52-57.