สภาพ และความต้องการจำเป็นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

Main Article Content

วิมลรัตน์ แก้ววงศ์
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม (2)ประเมินความต้องการจำเป็นของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการกองการศึกษา นักวิชาการศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ตัวแทนชุมชน จำนวน 329 คน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางของ Krejcie และ Morgan ได้มาโดยการสุ่มแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม จำนวน 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.0 มีค่าอ านาจจ าแนกรายข้อ ระหว่าง 0.30 - 0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.94 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80 - 1.0 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.31 - 0.84 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง
             ผลการศึกษา (1) สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยรวมอยู่ในระดับมากสภาพที่พึงประสงค์ของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจ าเป็นในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากทุกภาคส่วนและด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ อุปสิทธิ์. (2553). การมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตาบลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดสกลนคร.(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร)

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). การดาเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสาหรับสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

_______. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565). กลุ่มงานยุทศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น. กรุงเทพ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

จันทรา ยิ้มเข็ม. (2557). แนวทางการดาเนินงานตามมาตรฐานการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ,มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม)

จุฑามาศ พันสวรรค์. (2562). การพัฒนารูปแบบการมส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่)

ประเสริฐ บุญมี. (2554). ปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอ ชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. (การค้นคว้าอิสระ รป.ม.: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์)

ภพกฤต สุทธิบากสกุล. (2560). การพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตาบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม).

มลิวรรณ์ ภิรมย์รักษ์. (2561). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

วุฒิชัย แก่นโมก. (2553). ปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเลกขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ,มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์)

สามารถ จันหา. (2555). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี)

สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2554). หลักการ ทฤษฎีและกระบวนการบริหารการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 1.ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 608-609.