สภาพ ปัญหาและแนวทางพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

Main Article Content

วราภรณ์ อิ่มใจ
ไพฑูรย์ พวงยอด

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูยุคดิจิทัล สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามสถานภาพและขนาดโรงเรียน 2) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ผู้บริหารสถานศึกษาและครู 469 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามคำถามปลายเปิด ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.80 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง 0.33 - 0.70 สถิติที่ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที แบบ Independent Samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
           ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูยุคดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูยุคดิจิทัลตามสถานภาพพบว่า ไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดโรงเรียนพบว่า แตกต่างกัน 2) ปัญหาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูยุคดิจิทัล ครูมีความรู้ไม่ครอบคลุม มีอุปกรณ์เทคโนโลยีไม่เพียงพอ มีความสามัคคีในการทำงานน้อย มีการสอนที่ไม่หลากหลาย ใช้คำพูดไม่เหมาะสม แนวทางการพัฒนา ครูหมั่นศึกษาและพัฒนาตนเอง ร่วมกิจกรรมฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพิ่มงบประมาณให้เพียงพอ และจัดหางบประมาณสนับสนุน ครูมีความสามัคคีในการทำงาน มีการประชุมร่วมกัน ผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุนจัดอบรมพัฒนากิจกรรมการสอนให้ครูเกิดการศึกษาด้วยตนเอง และสร้างองค์ความรู้การพูดสื่อสารระหว่างครูกับผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์ซินดิเค จำกัด.

กฤติพงศ์ โภคาพานิช. (2563). สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการพัฒนาครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ.อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

โณทัย อุดมบุญญานุภาพ. (2554). คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรครูในศตวรรษที่21 )ออนไลน์). สืบค้นจาก. 27 มิถุนายน 2564.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2556). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาเชียงใหม่..

บุษบา คำนนท์. (2559). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ในทัศนะของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2555). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ ฯ : เฮ้าท์ออฟเคอร์มีสท์.

พิณสุดา สิริรังธศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). สัตตลักษณ์ของครูผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

พอตา บุตรสุทธิวงศ์. (2550). ครูดีที่ชาติต้องการ วารสารวิทยาจารย์. 106 (3). หน้า 38 – 41.

ยนต์ ชุมจิต. (2534) ความเป็นครุตามหลักสูตรวิทยาลัยครู สาขาวิชาการศึกษา พ.ศ. 2530. กรุงเทพฯ: โอ เอส ปริ้นติ้งเฮ้าส์.

ลายุ วรเจริญ. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครูให้มีลักษณะในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศึกษามหาบัณฑิต พิษณุโลก :มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิจารณ์พานิช. (2557). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

ศุภมาส วิสัชนาม. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต จันทบุรี : มหาวิทยาลัยร าไพพรรณณี.

แสงแข ทิพย์อักษร และ ปิ่นณิชา อุตตมะเวทิน. (2564). “คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในกลุ่มโรงเรียน อ าเภอศรีสวัสดิ์ 2,” วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. (7)1 : 665 ; มกราคม - มิถุนายน.

สุคนธ์สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. )2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

อ่องจิต เมธยะประภาส. )2557). คุณลักษณะของครูและนักเรียนในศตวรรษที่ 21. GotoKnow.2558. <https://www.gotoknow.org/posts/589309> 27 มิถุนายน 2564.

อำรุง จันทวานิช. )2554). โรงเรียนสมบูรณ์แบบ. วารสารวิชาการ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 หน้า 20 – 23 Department of Education, Training and Employment, Queensland Government.(2557). Quality of a Good Teacher. (ออนไลน์). สืบค้นจาก <http://education.qld.gov.au/. > 27 มิถุนายนน 2564.

Bass Bernard M. (2008). Stag dills Handbook of Leadership: A Survey of Theory and Research. New York : The Free Press..

Bayar. (2014). Financial Development and Economic Growth in Emerging Asian Countries. Yilmaz.

Office of the Education Council. (2013). Framework and Direction of Education Country (2012-2015) support education policy government. Bangkok: Limited partnership Charoenphon graphics.