อาณาบริเวณทางสังคม วัฒนธรรม และจินตกรรมของชุมกะเทยไทย กรณีศึกษา กรุงเบอร์ลิน และนครรัฐฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี

Main Article Content

วัชรวุฒิ ซื่อสัตย์
พัชรินทร์ สิรสุนทร
ฐานิดา บุญวรรโณ

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของอาณาบริเวณทางสังคม วัฒนธรรม และจินตกรรมของชุมกะเทยไทยในกรุงเบอร์ลิน และนครรัฐฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี โดยใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นปัจเจกกะเทยที่เคยประกอบอาชีพคาบาเรต์โชว์จากคณะทิฟฟานี่ โชว์ คณะไซม่อน คาบาเรต์ และคณะอัลคาซาส์ คาบาเรต์ จำนวน 12 ราย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการสร้างทฤษฎีจากฐานราก และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และแบบบันทึกประจำวัน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสร้างเป็นมโนทัศน์ใหม่ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม
             ผลการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ประการ ได้แก่ ประการแรก การเข้ามาชุมกันของกะเทยไทยในประเทศเยอรมนี เกิดขึ้นในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2532 โดยการอพยพอยู่ภายใต้แนวคิด “อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น” กะเทยอพยพสถาปนาอาณาบริเวณขึ้นทับซ้อนกัน 4 ระดับ คือ กายภาพ สังคม วัฒนธรรม และจินตกรรม ประการที่สอง ร้านกาแฟ และสวนสาธารณะมีฐานะเป็นอาณาบริเวณทางสังคม ทำหน้าที่เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนข่าวสาร นันทนการ และพบปะสังสรรค์ในหมู่สมาชิกกะเทย ประการที่สาม ห้องครัวประจำวัดไทย ถูกใช้เป็นอาณาบริเวณทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นเวทีแสดงตัวตนและศักยภาพของกะเทยด้านการประกอบอาหาร และเป็นช่องทางในการสะสมบุญ และประการสุดท้าย กะเทยสถาปนาอาณาบริเวณทางจินตกรรมของตนเองผ่านเรื่องเล่าในรูปแบบมุขปาฐะ เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุวัฒนธรรมประจำถิ่น ถ่ายทอดและส่งต่อเรื่องเล่าระหว่างสมาชิกเพื่อเชื่อมโยงตัวตนของปัจเจกกะเทยเข้ากับบุคคลสำคัญประจำถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตยา อาชวนิจกุล. (2554). เพศวิถีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย. ใน สุรีย์พร พันพึ่ง และมาลี สันภูวรรณ์ (บรรณาธิการ), ประชากรและสังคม 2554: จุดเปลี่ยนประชากร จุดเปลี่ยนสังคมไทย. (น. 43-66). นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

กัมปนาท เบ็ญจนาวี. (2560). กระบวนการผลิตสร้างกะเทยคาบาเร่ต์ในเมืองพัทยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยบูรพา).

เกษฎา ผาทอง และวรวลัญช์ โรจนพล. (2562). กระบวนทัศน์การแสวงหาความรู้สู่การวิจัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 15(1): 63-78.

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ : คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์ ฉบับปรับปรุงใหม่ เพิ่มเนื้อหา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2555). การศึกษาเกย์ในสังคมไทย: 5 ทศวรรษของการสร้างความรู้. วารสารเพศวิถีศึกษา. 2(2555): 141-180.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2556). เพศหลากหลายในสังคมไทยกับการเมืองของอัตลักษณ์. วารสารสังคมศาสตร์. 25(2): 137-168.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2557). วิพากษ์ “ความเป็นหญิง” ของหญิงในร่างชาย. รัฐศาสตร์สาร. 35(1): 80-114.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). บทน า: เพศ สื่อใหม่ และลัทธิเสรีนิยมใหม่. ใน นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (บรรณาธิการ). เมื่อร่างกลายเป็นเพศ: อำนาจเสรีนิยมใหม่ของเพศวิถีในสังคมไทย. (น. 24-46). กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

บุษกร สุริยสาร. (2557). อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.

เปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา. (2546). การช่วงชิงอัตลักษณ์ “กะเทย” ในงานคาบาเรต์โชว์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

เปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา. (2547). พลวัตภายใน ‘ลีลาชีวิตเรื่องเพศแบบกะเทย’. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 21(2):

-113.

เปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา. (2549). กะเทยเย้ยเวที. กรุงเทพฯ : มติชน.

พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2558). ความรู้ อ านาจ และสุขภาพ : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

เรืองฟ้า บุราคร. (2550). การสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ “กะเทย” ในพื้นที่คาบาเร่ต์โชว์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วัชรวุฒิ ซื่อสัตย์, และพัชรินทร์ สิรสุนทร. (2559). “ชุมกะเทย” ไซม่อน คาบาเรต์และการสถาปนาความสัมพันธ์เชิงอ านาจใน

เครือข่ายทางสังคมใหม่. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 12(1): 125-150.

วัชรวุฒิ ซื่อสัตย์, และวัชรพล พุทธรักษา. (2558). ระบบแม่ [กะเทย]: ศิลป์และศาสตร์การครองอ านาจน าในสังคมกะเทยไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 15(2): 101-118.

สมชาย ปรีชาศิลปกุล. (2556). บุคคลเพศหลากหลายในระบบกฎหมาย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ.

สมศักดิ์ แก้วค า. (2547). การศึกษาความต้องการและแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับนักเต้นคาบาเร่ต์ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศจากชายเป็นหญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุไลพร ชลวิไล. (2550). เพศไม่นิ่ง: ตัวตน เพศภาวะ เพศวิถี ในมิติสุขภาพ. นครปฐม : ภาคีความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ.

สุไลพร ชลวิไล. (2551). กะเทย. ใน พิมพวัลย์ บุญมงคล, สุไลพร ชลวิไล, มลฤดี ลาพิมล และรณภูมิ สามัคคีคารมย์ (บรรณาธิการ).ภาษาเพศในสังคมไทย: อ านาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ. (น. 151-164). นครปฐม : ภาคีความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ.

Charmaz, K. (2006) . Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE Publications.

Charmaz, K. (2008a). Grounded Theory as an Emergent Method. In S. N. Hesse-Biber & P. Leavy (Eds.), Handbook of Emergent Methods. (pp. 155-172). New York: The Guilford Press.

Charmaz, K. (2008b). Grounded Theory: Objectivist and Constructivist Methods. In J. A. Holstein & J. F. Gubrium (Eds.), Handbook of Constructionist Research. (pp. 397-412). New York: The Guilford Press.

Charmaz, K. (2013). Grounded Theory for Qualitative Research: A Practical Guide. London: SAGE Publications.

Charmaz, K. (2016). The Power of Constructivist Grounded Theory for Critical Inquiry. Qualitative Inquiry. 23(1):

-45.

DeLanda, M. (2006) . A New Philosophy of Society: Assemblage Theory and Social Complexity. London, UK:

Continuum.

DeLanda, M. (2016). Assemblage Theory. Edinburgh: Edinburgh University Press.

Guoxiang, R. (2015). ทรรศนะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อการแสดงโชว์สาวประเภทสองในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Jackson, A. P. (1999). Tolerant but Unaccepting: The Myth of Thai ‘Gay Paradise’. In P. A. Jackson & M. N. Cook (Eds.), Gender and Sexualities in Modern Thailand. (pp. 226-242). Bangkok: O.S. Printing House.

Jackson, A. P. (2011). Capitalism, LGBT Activism, and Queer Autonomy in Thailand. In P. A. Jackson (Ed.), Queer Bangkok: Twenty First Century Markets, Media, and Rights. (pp. 195-204). Sai Wan: Hong Kong University. Press.

Jackson, A. P. (2016) . First Queer Voices from Thailand: Uncle Go’s Advice Columns for Gays, Lesbians and Kathoeys. Sai Wan: Hong Kong University Press.

Jackson, P. A. & Sullivan, G. (Eds.). (2000). Lady Boy, Tom Boy, Rent Boys: Male and Female Homosexualities in Contemporary Thailand. Chiang Mai: Silkworm Books.

Jackson, P. A. (2006). Entries for “Bangkok” and “Thailand”. In D. A. Gerstner (Ed.), Routledge International Encyclopedia of Queer Culture. (pp. 68-69, 556-560). New York: Routledge.

Jackson, P. A. (2009). Capitalism and Global Queering: National Markets, Parallels among Sexual Cultures, and Multiple Queer Modernities. GLQ: A Journal of Lesbian and Gay Studies. 15(3): 357-395.

Jackson, P. A. (2017). Between Autonomy and Subjection: Negotiating the Neoliberal Paradoxes of 21st Century Thai Queer Cultures. ใน นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (บรรณาธิการ). เมื่อร่างกลายเป็นเพศ : อ านาจเสรีนิยมใหม่ของเพศวิถี ในสังคมไทย. (น. 10-23). กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

Jackson, P. A. , & Duangwises, N. (2017) . Review of Studies of Gender and Sexual Diversity in Thailand in Thai and International Academic Publications. In C. Vaddhanaphuti, Abstract Book: 13th International Conference on Thai Studies, Globalized Thailand? Connectivity, Conflicts and Conundrums of Thai.

Studies. Chiang Mai, Thailand, 15-18 July 2017. ( p. 355) . Regional Center for Social Science and Sustainable Development (RCSD). Chiang Mai.

Pelz, W. A. (2016). A People's History of Modern Europe. London: Pluto Press.

Soyinka, W. (1991). Beyond the Berlin Wall. Transition. (51): 6-25.

Taylor, F. (2008). The Berlin Wall: A World Divided, 1961-1989. New York: Harper Perennial.

Totman, R. (2003). The Third Sex: Kathoey-Thailand’s Lady Boys. London, UK: Souvenir Press.

Wolf, B. (2007). The Vietnamese Diaspora in Germany: Structure and Potentials for Cooperation with a Focus on Berlin and Hesse. Eschborn: Economic Development and Employment Division.

Jackson, A. P. (1989) . Male Homosexuality in Thailand: An Interpretation of Contemporary Thai Sources. Elmhurst, New York: Global Academic.

Jackson, A. P. (1995). Dear Uncle Go: Male Homosexuality in Thailand. Bangkok: Bua Luang Books.