ความนิยมของผู้เรียนภาษาจีนที่มีต่อผลงานวรรณกรรมจีนแปลไทย ความนิยมของผู้เรียนภาษาจีนที่มีต่อผลงานวรรณกรรมจีนแปลไทย

Main Article Content

ปรียากร บุญธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สำรวจความนิยมผู้อ่านชาวไทยที่มีต่อนักประพันธ์ชาวจีน 2. สำรวจความนิยมของผู้อ่านชาวไทยที่มีต่อวรรณกรรมจีนแปลไทย และ 3. สำรวจสาเหตุที่ผู้อ่านชาวไทยนิยมอ่านวรรณกรรมจีนแปลไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรภาษาจีนระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่หรือสำเร็จการศึกษาแล้ว จำนวน 43 คน จากแบบสอบถามสามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1. ความนิยมของผู้อ่านชาวไทยที่มีต่อนักประพันธ์ชาวจีน พบว่า นักประพันธ์ชาวจีนที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับ 1 คือ หลู่ซวิน(鲁迅)อันดับ 2 คือ โม่เหยียน(莫言)และ อันดับ 3 คือ ปาจิน(巴金)2. วรรณกรรมจีนแปลไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านชาวไทยพบว่า อันดับ 1 คือ เรื่องจริงของอาคิว《阿Q正传》ผลงานของหลู่ซวิ่น(鲁迅)อันดับ 2 คือ ตำนานรักทุ่งสีเพลิง《红高粱》ผลงานของโม่เหยียน(莫言)และอันดับ 3 คือ บ้าน《家》ผลงานของปาจิน(巴金)และ 3. สาเหตุที่ผู้อ่านชาวไทยเลือกอ่านวรรณกรรมจีนแปลไทยพบว่าอันดับที่ 1 ชื่อเสียงของผู้แต่ง และอันดับ 2 เนื้อหาสาระมีประโยชน์มีการอ้างอิงประวัติศาสตร์และเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวจีน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หลู่ซวิ่น. (1975). เรื่องจริงของอาคิว. อภิวัติ(นามสมมุติ) ผู้แปล. สำนักพิมพ์ชมรมสถาบัน. กรุงเทพฯ

ปาจิน. (1983). บ้าน. อนิวรรตน์ (นามสมมุติ) ผู้แปล.สำนักพิมพ์เมฆฝน.กรุงเทพฯ

มั่วหยียน. (2014). ตำนานรักทุ่งสีเพลิง. ประเทืองพร วิรัชโภคี ผู้แปล.สำนักพิมพ์นานมี.กรุงเทพฯ

เฉินซือเหอ. (2007). แบบเรียนประวัติวรรณกรรมจีนสมัยใหม่และร่วมสมัยเล่ม 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (1980). นวนิยายกับสังคมไทย พ.ศ.2475-2500. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพรินทร์ ศรีสุนทร. (2012). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมแนวสัจนิยมจีนและวรรณกรรมเพื่อชีวิตของไทย. วารสารจีน

ศึกษา. 5(5): 49-86.

ไพรินทร์ ศรีสุนทร. (2015). การตอบรับวรรณกรรมจีนสมัยใหม่ของผู้อ่านไทย. วารสารจีนศึกษา. 8(1): 1-23.

สุพัตรา ห.เพียรเจริญ. (2015). การศึกษาเรื่องความแพร่หลายภาษาถิ่นของจีนในประเทศไทยและการ ใช้ประโยชน์จากภาษาถิ่นของจีนในการแปลวรรณกรรมภาษาจีนเป็นภาษาไทย. วารสารจีนศึกษา, 8(1): 153-170.

เอมอร โชคสุพัฒน์. (2010). การศึกษาการแพร่กระจายวรรณคดีจีนสมัยปัจจุบันในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

หนังสือพิมพ์มติชน. (2555). มารู้จักโม่เหยียน (Mo Yan) นักเขียนรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม จากแดนมังกรสืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566, จาก http://www.matichon.co.th