การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเรื่อง วัฏจักรของหิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ลลิตา พละหงส์
ประภัสสร ศรีละคร
พิทักษ์ พลคชา

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง วัฏจักรของหิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อหาคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง วัฏจักรของหิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1.สื่อความเป็นจริงเสริม เรื่องวัฏจักรของหิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2. แบบประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง วัฏจักรของหิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 2 คน และครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จำนวน 1 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
           ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสื่อการเรียนรู้การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง วัฏจักรของหิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่ามีองค์ประกอบได้แก่ สื่อความเป็นจริงเสริม เรื่องวัฏจักรของหิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อหาจำนวน 1 หน่วย ได้แก่ หน่วยกระบวนการเกิดหินและวัฏจักรของหิน ซึ่งในแต่ละหน้าก็จะมีเนื้อหา ภาพประกอบ รวมไปถึงภาพเคลื่อนไหวจากเทคโนโลยีเสมือนจริง 2) การศึกษาหาคุณภาพของสื่อความเป็นจริงเสริม เรื่องวัฏจักรของหิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.147


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร พละสนธิ. (2559). การพัฒนารูปแบบคลาวด์เลิร์นนิงแบบสตรีมด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือกรุงเทพฯ.

คณิศร จี้กระโทก, นิคม วงศา และสุรจิตร์ พระเมือง (2564). สื่อการเรียนรู้ระบบสุริยะ เรื่อง ดาวเคราะห์โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(2), 65-75.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา.

ณภทร ช่วงหาราษฎร์ และเนติรัฐ วีระนาคินทร. (2562) . การพัฒนาสื่อความจริงเสริม โดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนครโบราณจัมปาศรี จังหวัดมหาสารคาม. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3), 489-502.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ . (พิมพ์ครั้งที่ 9) . กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ลดาวรรณ สระทองหมาย. (2556). เทคโนโลยีเสมือนจริง. สืบคนเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565, จากhttp://ladawan24nong.blogspot.com/2013/08/virtual-classroom.html.

วีรภัทร จันทรจตุรภัทร. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยเทคนิค ความจริงเสมือน เรื่อง แสงและเงา. ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สุกัญญา ศรีสมบูรณ์ และสุรีวรรณ รักน้อย (2562). สื่อความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จังหวัดมุกดาหาร. ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สุภาภรณ์ เผ่นโผน. (2561). การแก้ปัญหานักศึกษาไม่สนใจเรียนวิชาหลักการบัญชีเบื้องต้น 1 ของนักศึกษาห้อง ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)1/13. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.