การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ระบบย่อยอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ระบบย่อยอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อหาคุณภาพของสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ระบบย่อยอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) สื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ระบบย่อยอาหารสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และ 2) แบบประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ระบบย่อยอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามัคคีบัวขาว ได้มาโดยวิธีการเจาะจง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ระบบย่อยอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่ามีองค์ประกอบ คือ สื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่องระบบย่อยอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และแบบประเมินคุณภาพสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่องระบบย่อยอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) การหาคุณภาพสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่องระบบย่อยอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผลการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่องระบบย่อยอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระดับการประเมินในระดับมากที่สุด (=4.70, S.D. = 0.22 )
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
จิราภรณ์ ปกรณ์. (2561). AR (Augmented Reality) เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง. สืบค้นจาก https://www.scimath.org/article-technology/item/7755-ar-augmented-reality.
ณัฐพงษ์ ประเสริฐสังข์, อลิสา ทรงศรีวิทยา และรัตนา รุ่งศิริสกุล. (2565). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม รายวิชา ปฏิบัติการเคมี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Journal of Information and Learning (JIL). 32(2): 25-32.
ทวีพร เอกมณีโรจน์ และจิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์. (2564). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเรื่องการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 "Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (น.156-168) กรุงทพฯ :มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
นรรัตน์ ฝันเชียร์. (2562). การเรียนการสอนในยุค 4.0 ต้องเป็นอย่างไร. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2564). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พนิดา ตันศิริ. (2553). โลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented Reality). วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 30(2), 169-175.
วิมาน ใจดี, ชัชชญา อถมพรมราช และมนัสนิต ใจดี (2564). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม รายวิชาคณิตศาสตร์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 9(2), 1-10.
อัศวนนทปกรณ์ ธเนศวีรภัทร และรัชชานนท์ ดิษเจริญ. (2564). การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาผสมผสานความเป็นจริงเสริม เรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 4(12), 178-192.