การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีความจริงเสริม การท่องเที่ยววิถีชุมชนคนภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีความจริงเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนคนภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาการหาคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีความจริงเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนคนภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1. สื่อประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีความจริงเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนคนภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. แบบประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีความจริงเสริม การท่องเที่ยววิถีชุมชนคนภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ คณะองค์การบริหารส่วนตำบลหนองห้าง พร้อมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปี 2565
ผลการวิจัยพบว่า 1.) สื่อประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีความจริงเสริม การท่องเที่ยววิถีชุมชนคนภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวของตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2.) การหาคุณภาพของสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม การท่องเที่ยววิถีชุมชนคนภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่า (= 4.60 , S.D. = 0.13 ) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการออกแบบ โดยค่า ( = 4.65, S.D. = 0.26 ) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านเนื้อหาโดยค่า ( = 4.63 , S.D.. = 0.22 ) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (AR) โดยค่า (= 4.60, S.D. = 0.06 ) อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการใช้งานในภาพรวม โดยค่า (= 4.50, S.D. = 0.00) อยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่าการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม การท่องเที่ยววิถีชุมชนคนภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
ดาวนภา สุวรรณดี และนภพร สมยา. (2564). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายลายไข่มดแดง บ้านสมสนุก ตําบลพรมสวรรค์ อําเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (น. 236-254). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ราตรี บุญเรืองนาม ศุภนิดา คําสวาสดิ์ และเจษฎ์บดินทร์ จิตต์โศภิตานนท์. (2564). สื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานี ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (น. 668-673) มหาสารคาม. : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2560). พลังแห่งการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.
อภินันท์ โปษยานนท์. (2558). วธ.พัฒนาหมู่บ้านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ อบรมแกนนำสู่กระบวนการคิดสร้างรายได้.(ออนไลน์)
สืบค้นจาก http://www.banmuang.co.th/news/education/10489.
Tourismatbuu. (2559). Tourism of world. สืบค้นจาก https://tourismatbuu.wordpress.com