ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบแผนคำของบลงทุน สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประเด็นการพัฒนาในแต่ละกระบวนการของการจัดทำแผนคำขอลงทุนปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ เปรียบเทียบประสิทธิผลการพัฒนาระบบแผนคำขอลงทุนของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ พ.ศ.2566 ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2565 กลุ่มศึกษา คือ หน่วยงานในสังกัดของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์ โรงพยาบาลจังหวัดสุรินทร์ โรงพยาบาลชุมชน และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 34 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานการจัดทำแผนคำของบลงทุนปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนผลการดำเนินงานในภาพรวมและจำแนกรายหน่วยงาน โดยค่าทีแบบจับคู่ (paired t-test) ผลการศึกษา พบว่า การบันทึกโดยใช้รูปแบบไฟล์แผนคำของบลงทุนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 บันทึกครบถ้วน ถูกต้อง จำนวน 21 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 61.8 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 บันทึกครบถ้วน ถูกต้อง ตามแบบฟอร์มเพิ่มขึ้นเป็น 34 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 100 ความผิดพลาดการบันทึกแผนคำของบลงทุนของหน่วยงาน พบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการบันทึกโดยไม่ระบุเหตุผล/ไม่สอดคล้อง/ไม่ชัดเจน มากที่สุด จำนวน 24 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 70.6 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พบว่า ความผิดพลาดในการบันทึกแผนคำของบลงทุน ลดลง ทุกประเด็น ทุกหน่วยงานมีการพัฒนาผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น โดยเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการดำเนินงานในภาพรวม เปรียบเที่ยบ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (x ̅ = 3.6 ±SD 1.9) และ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (x ̅ = 6.4 ±SD 1.0) พบว่า มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p - value <0.001 ผลการศึกษาจากการสนทนากลุ่ม มีข้อเสนอแนะให้จัดการความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร และจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการจัดทำแผนคำขอฯในภาพรวมที่ตรงกับความต้องการจำเป็นของพื้นที่ และยังตอบสนองต่อนโยบายในระดับจังหวัด เขตและประเทศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). นโยบายและทิศทางการบริหารงานสาธารณสุข. แหล่งข้อมูลhttps://www.moph.go.th/document/kwt5REGKzcRq4QGwYTLj5U7LrCGhekte.pdf. (25 พ.ค.2565)
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561).ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับย่อ) แหล่งข้อมูลhttps://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf. (25 พ.ค.2565)
สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2565). รายงานการวิเคราะห์งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แหล่งข้อมูล https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/download/article/article_20210813153648.pdf. (26 พ.ค.2565)
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข พ.ศ.2560-2579. แหล่งข้อมูล https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/09/Ebookmoph20.pdf. (25 พ.ค.2565)
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2565). คู่มือการใช้งานระบบบริหารกองทุนส่วนงานเขตสุขภาพ. แหล่งข้อมูลhttps://drive.google.com/drive/u/0/folders/1ZCm4RKUUnbfW_H-b8KK9epZa0u1UQVfL. (25 พ.ค.2565)
สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. (2565). รายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2565 ในระบบ GFMIS. 2565 (8 มิถุนายน 2565.)